กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(โควิด 2019) เด็กนักเรียนในตำบลมะนังยง

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(โควิด 2019) เด็กนักเรียนในตำบลมะนังยง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

อบต.มะนังยง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ.2565 ให้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2565 โดยนายกรัฐมนตรีได้ออกข้อกำหนดออกตามความ ในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 40) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2564 กำหนดประเภทของผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และสอดคล้องรับกับนโยบายการเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาล และออกคำสั่งเพื่อกำหนดแนวปฏิบัติให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบ ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่นำไปดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคโดยเคร่งครัด และตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 081.4/ว 5902 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2564 เรื่องมาตรการดำเนินการเปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัด อปท.ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นั้น โดย ศพด.ได้ดำเนินการตรวจ ATK ทุกสัปดาห์ เป็นจำนวน 10 สัปดาห์ และตามหนังสือศาลากลางจังหวัดปัตตานี ปน 0023.3/ว 527 ลงวันที่ 28 เมษายน 2565 ข้อ 3 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดหาอุปกรณ์การตรวจหาเชื้อ ATK ให้แก่ ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนในสังกัดให้เพียงพอ และพิจารณาสนับสนุนให้สถานศึกษาสังกัดอื่นที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และถือปฏิบัติตามกฏหมายระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ให้จัดหาอุปกรณ์การตรวจหาเชื้อ ATK สำหรับใช้โดยประชากรทั่วไป (Home Use) โดยให้ประสานงานจัดหากับหน่วยสาธารณสุขในพื้นที่ ดังนั้น เพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนในเขตตำบลมะนังยงมี ATK เพื่อใช้ตรวจนักเรียนที่ประสงค์มาเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 345 คน ได้แก่ นักเรียนจากโรงเรียนบ้านดาลอ 109 คน นักเรียนจากโรงเรียนบ้านชะเอาะ จำนวน 164 คน ศพด. บ้านชะเอาะ จำนวน 38 คน ศพด. มัสยิดบ้านดาลอ จำนวน 34 คน นอกจากนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยงจะสนับสนุน ATK

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 ที่เกิดในนักเรียนนักเรียนในตำบลมะนังยงด้วย atk

นักเรียนใน ศพด.มัสยิดบ้านดาลอ จำนวน 34 คน นักเรียนใน ศพด. บ้านชะเอาะ จำนวน 38 คน นักเรียนในโรงเรียนบ้านชะเอาะ จำนวน 164 คน นักเรียนในโรงเรียนบ้านดาลด จำนวน 109 คน รวมทั้งสิ้น 345 คน คิดเป็นร้อยละ 50 จึงมีนักเรียนเท่ากับ 173 คน

0.00 50.00
2 เพื่อให้ครูสามารถตรวจเอทีเคให้นักเรียนได้อย่างถูกต้อง

มีครูที่สามารถตรวจเอทีเคนักเรียนได้อย่างน้อยร้อยละ 20 ของโรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

0.00 20.00
3 เพื่อให้ครูสามารถรับมือปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

มีแผนการรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และแนวทางการจัดการเรียนการสอนในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้อย่างเหมาะสม

0.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 72
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 273
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และวิธีการตรวจด้วย atk

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และวิธีการตรวจด้วย atk
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท =3,600 บาท ค่าป้ายไวนิล1.2*3 เมตร เมตรละ 250 บาท =900 บาท ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท 30 คน =1,500 บาท ค่าอาหารว่าง 35 บาท 30 คน 2 มื้อ =2,100 บาท ค่าวัสดุประกอบการอบรม 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 สิงหาคม 2565 ถึง 7 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจนักเรียนด้วย atk ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.ครูสามารถจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสำหรับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดซื้อ atk ให้กับนักเรียนระยะที่ 2 และ 3 พร้อมการประเมิน

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อ atk ให้กับนักเรียนระยะที่ 2 และ 3 พร้อมการประเมิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดซื้อเอทีเคจำนวน 173 ชิ้น และส่งมอบให้แก่โรงเรียนบ้านชะเอาะ จำนวน 82 ชิ้น โรงเรียนบ้านดาลอ 55 ชิ้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านชะเอาะ จำนวน 19 ชิ้น และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดบ้านดาลอจำนวน 17 ชิ้น การประเมินผลในแต่ละรอบโดยให้มี นร. ติดเชื้อน้อยกว่า 1% ของนักเรียนทั้งหมด

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 กรกฎาคม 2565 ถึง 17 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับ ATK ร้อยละ 50 จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11245.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,245.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับ ATK ร้อยละ 50 จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด
2. ครูสามารถตรวจคัดกรองนักเรียนด้วยอุปกรณ์ ATK ได้
3. ครูสามารถจัดการเรียนการสอนและรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้


>