กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคนบางปู รู้เท่าทัน เข้าใจการดูแลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางปู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคนบางปู รู้เท่าทัน เข้าใจการดูแลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางปู

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู อำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานี งบประมาณ

ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบางปู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก ประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว ความนิยมวัฒนธรรมตะวันตกก็มีมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิต (Life style) มีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย ความเครียด การสูบบุหรี่ ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขเป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วมและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม จึงจะสามารถป้องกันโรคได้
จากการลงพื้นที่คัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ขึ้นไปใน ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ตั้งแต่เดือน ตุลาคม - ธันวาคม 2564 พบว่า มีผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีมากกว่าร้อยละ 30 ซึ่งในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวพบว่า มีพฤติกรรมเสี่ยงหลายอย่าง เช่น ไม่ออกกำลังกาย กินคาร์โบไฮเดรตและไขมันเยอะเกิน สูบบุหรี่จัด ภาวะเครียด ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆ ที่อาจมีความเกี่ยวเนื่องกันได้ ก็คือ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งพบว่าคนที่มีบิดา มารดา มีภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน ก็มัก จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะป่วยด้วยโรคเหล่านี้มากกว่าคนปกติทั่วไป อีกทั้ง ในกลุ่มประชากรทีมีภาวะเสี่ยงสูง กลุ่มแฝง ถ้าไม่ได้รับการดูแล/รักษาอย่างต่อเนื่อง หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม อาจพัฒนาไปสู่การป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน ได้ในอนาคต เนื่องจากคนที่มีภาวะความดันโลหิตสูง หรือเบาหวานระยะแรกๆ ส่วนใหญ่ มักไม่ค่อยรู้ตัว ดังนั้นโอกาสจะเกิดโรคแทรกซ้อนก็มีมากตามไปด้วย โดยทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อหัวใจ ไต ตา และสมอง และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ดังนั้นจึงเปรียบภาวะความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ว่าเป็น “ภัยเงียบ” หรือ “ฆาตกรเงียบ” นั่นเอง
ดังนั้น ทีมสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู ร่วมกับชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน ตำบลบางปู ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ “คนบางปู รู้เท่าทันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี 2565” ขึ้น เพื่อให้ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงสูง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสามารถดูแลสุขภาพตนเอง เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน ส่วนในรายที่สงสัยป่วยใหม่ได้รับการส่งต่อ เพื่อการรักษาอย่างต่อเนื่องและช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ทีมเครือข่ายสุขภาพในชุมชนมีความรู้ในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง สามารถให้คำแนะนำในการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

2.กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานร้อยละ 90

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

3.กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 60

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 405
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 27/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน -ค่าวัสดุสำนักงานเป็นเงิน 2,500 บาท -ค่าอาหารกลางวันอสม.และผู้ดำเนินการ 40 บาทx75 คน เป็นเงิน 3,000 บาท -ค่าอาหารว่าง อสม.และผู้ดำเนินการ 75 คนx25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,750 บาท -ป้ายไวนิล 1 ม. * 3 ม. เป็นเงิน450 บาท รวมเป็นเงิน9,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 90 2.กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานร้อยละ 90 3.กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 60 4.อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ <ร้อยละ 10 5.อัตราผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ <ร้อยละ 20 6.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมความดันได้ >ร้อยละ 50 7.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ >ร้อยละ 50 8.อสม.เข้าร่วมอบรมฟื้นฟูความรู้การคัดกรองและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๘๐ และตอบคำถามหลังการอบรมถูกต้องร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9700.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2.1 อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยแบ่งเป็น 3 รุ่น รุ่นละ 70 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2.1 อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยแบ่งเป็น 3 รุ่น รุ่นละ 70 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2.1 อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยแบ่งเป็น 3 รุ่นรุ่นละ 70 คน -ค่าวัสดุสำนักงาน 210 คน x 25 บาทเป็นเงิน 5,250 บาท -ค่าอาหารกลางวัน กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานและผู้ดำเนินงาน 40 บาท x 210 คน
เป็นเงิน 8,400 บาท -ค่าอาหารว่าง กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานและผู้ดำเนินงาน ๒5 บาทx 210 คน x 2 มื้อ
เป็นเงิน 10,500 บาท รวมเป็นเงิน 24,150.-บาท กิจกรรมที่ 2.2 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 วัน -ค่าอาหารว่าง กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มเบาหวานและผู้ดำเนินงาน๒5 บาทx 210คน x1มื้อ x3 วัน
เป็นเงิน 15,750 บาท รวมเป็นเงิน 15,750.-บาท รวมเงินกิจกรรมที่ 2 38,330.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 90 2.กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานร้อยละ 90 3.กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 60 4.อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ <ร้อยละ 10 5.อัตราผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ <ร้อยละ 20 6.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมความดันได้ >ร้อยละ 50 7.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ >ร้อยละ 50 8.อสม.เข้าร่วมอบรมฟื้นฟูความรู้การคัดกรองและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๘๐ และตอบคำถามหลังการอบรมถูกต้องร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
38330.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 3 อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่สามารถควบคุมได้และไม่มีภาวะแทรกซ้อน แบ่งเป็น 2 รุ่น รุ่นละ 60 คน -ค่าอาหารกลางวัน กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน (กลุ่มเหลือง,แดง)และผู้ดำเนินงาน 40 บาท x 120 คน  เป็นเงิน 4,800 บาท -ค่าอาหารว่าง กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานและผู้ดำเนินงาน ๒5 บาทx120 คนx 2มื้อ    เป็นเงิน 6,0๐0 บาท รวมเป็นเงิน 10,800.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 90 2.กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานร้อยละ 90 3.กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 60 4.อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ <ร้อยละ 10 5.อัตราผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ <ร้อยละ 20 6.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมความดันได้ >ร้อยละ 50 7.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ >ร้อยละ 50 8.อสม.เข้าร่วมอบรมฟื้นฟูความรู้การคัดกรองและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๘๐ และตอบคำถามหลังการอบรมถูกต้องร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 58,830.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ
2. กลุ่มป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถควบคุมโรคได้ ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน
3. มีเครือข่าย/แกนนำด้านสุขภาพในชุมชน


>