กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลตลิ่งชัน ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการตำบลตลิ่งชัน

ตำบลตลิ่งชัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง (Caregiver) มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ

 

2.00
2 จำนวนผู้สูงอายุและผู้ที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

 

62.00
3 ร้อยละของผู้มีภาวะพึ่งพิงได้รับการจัดการวางแผนการดูแล (Care plan)

 

82.00
4 ร้อยละของผู้มีภาวะพึ่งพิงได้เข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ

 

82.00

ปี 2565 ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ และอีก 9 ปีข้างหน้า ในปี 2574 จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super-Aged Society)มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินกว่า 28% ของประชากรทั้งประเทศ จากสถานการณ์ดังกล่าวจะทำให้มีผู้สูงอายุ “กลุ่มผู้ป่วยติดเตียง” ประมาณ 3% หรือ 4 แสนคน จากผู้สูงอายุที่มีอยู่ประมาณ 13 ล้าน (ข้อมูลมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)) ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทั้งทางด้าน ร่างกาย จิตใจสังคม จิตวิญญาณ
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงองค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน ตระหนักและให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมรับมือและวางแนวทางเพื่อรองรับที่ประเทศไทยและประชากรในพื้นที่ตำบลตลิ่งชัน เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ โดยมีนโยบายด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทุกกลุ่ม ซึ่งนโยบายสำคัญคือ การทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรง ชะลอการเกิดโรคและความเจ็บป่วยจนต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิง และวางระบบการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีดูแลตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี การจัดการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวจึงเป็นเรื่องสำคัญ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง อบต.ตลิ่งชันและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบบริการด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่จัดระบบการดูแลที่มีประสิทธิภาพ ยั่งยืนและจัดเตรียมระบบดูแลในบ้าน สถานพักฟื้น และโรงพยาบาลที่เป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชนและครอบครัว ซึ่งการเตรียมระบบดูแลในบ้าน จำเป็นต้องมีสำรวจและค้นหาและประเมินสุขภาพของผู้สูงอายุเพื่อจำแนกประเภทผู้สูงอายุ พร้อมทั้งเตรียมองค์ความรู้ให้กับผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care giver)ซึ่งในตำบลตลิ่งชันมีประชากรทั้งหมด 10,838 คนผู้สูงอายุจำนวน 1,171 คนคิดเป็น 10.80 % ของประชากรทั้งหมด มีอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นกลางจำนวน2 คนทำให้บุคลากรในการออกให้การพยาบาลไม่ทั่วถึง และในปี งบประมาณ 2565ได้มีการเพิ่มกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงานโดยให้ครอบคลุมทุกกลุ่มอายุและทุกสิทธิทำให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care giver) มีจำนวนไม่เพียงพอในการดำเนินงานอบต.ตลิ่งชัน จึงได้จัดให้มีการจัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver)ตามหลักสูตรกรมอนามัย ๗๐ ชั่วโมงเพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์ จึงต้องมีการจัดการระบบข้อมูลทางด้านสุขภาพของผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตตำบลตลิ่งชัน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุตำบลตลิ่งชัน ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มจำนวนอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง (Caregiver) มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ

จำนวนอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง (Caregiver) มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น

2.00 18.00
2 ลดจำนวนผู้สูงอายุและผู้ที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

จำนวนผู้สูงอายุและผู้ที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)ลดลง

62.00 58.00
3 เพิ่มร้อยละของผู้มีภาวะพึ่งพิงได้รับการจัดการวางแผนการดูแล (Care plan)

ร้อยละของผู้มีภาวะพึ่งพิงได้รับการจัดการวางแผนการดูแล (Care plan)เพิ่มขึ้น

82.00 98.00
4 เพิ่มร้อยละของผู้มีภาวะพึ่งพิงได้เข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ

ร้อยละของผู้มีภาวะพึ่งพิงได้เข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น

82.00 98.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 1,171
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 106
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 273
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะทำงาน 10
ผู้ดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง 18
ผู้มีภาวะพึ่งพิง 62

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/07/2022

กำหนดเสร็จ 22/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมทีมสหวิชาชีพและหมอครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้มีภาวะพึ่งพิง ระยะยาว

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมทีมสหวิชาชีพและหมอครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้มีภาวะพึ่งพิง ระยะยาว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมทีมสหวิชาชีพและหมอครอบครัว ในประเด็นดังนี้ ( 2 ครั้ง ) จำนวน 10 คน

  • ระบบการดำเนินงานดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในการจัดการสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
  • การวางแผนการทำงาน แผนปฏิบัติการการดูแลระยะยาว
  • จัดระบบการให้บริการเยี่ยมบ้านในผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล
  • ประสานบุคลากรทีมสหวิชาชีพ เครือข่ายการเยี่ยมบ้าน
  • ทบทวนมาตรฐาน/ทักษะการออกเยี่ยมบ้าน
  • จัดเตรียมข้อมูลผู้ที่ต้องได้รับการดูแล รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลจากการคัดกรอง และจัดทีมหมอ ครอบครัวร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตลิ่งชันและโรงพยาบาลจะนะ ดำเนินการประเมินผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงตามแบบประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL Index) และแบ่งกลุ่มผู้มีภาวะพึ่งพิง ออกเป็น 4 กลุ่มตามความต้องการการบริการด้านสาธารณสุข
  • สรุปประเมินผลการดำเนินงานร่วมกับ อบต.ตลิ่งชัน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตลิ่งชันและโรงพยาบาลจะนะ เพื่อพัฒนาระบบการดำเนินการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้มีภาวะพึ่งพิง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและต่อเนื่องในพื้นที่ต่อไป

มีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คน ๆละ 25 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กรกฎาคม 2565 ถึง 21 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • จำนวนผู้เข้าร่วมประุม
  • ผลการประชุมในแต่ละครั้ง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมผู้ดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง (Caregiver) หลักสูตร 70 ชั่วโมง ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมผู้ดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง (Caregiver) หลักสูตร 70 ชั่วโมง ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรม Care giverจำนวน 18 คน โดยแบ่งการฝึกอบรมเป็นภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติในห้องเรียนและชุมชนและในสถานบริการ จำนวน 10 วัน ทฤษฎี 30 ชั่วโมง ปฏิบัติในห้องเรียน 20 ชั่วโมง รวม 50 ชั่วโมง, ฝึกปฏิบัติในสถานพยาบาล 12 ชั่วโมง และฝึกปฏิบัติในชุมชน 10 ชั่วโมง

  • การเตรียมความพร้อมก่อนการจัดอบรม
  • จัดทำคู่มือ สำหรับ Care giver
  • จัดทำแบบสอบถาม สำหรับ Care giver
  • คัดเลือก Care giver เข้าอบรม
  • เตรียมแบบสรุปผลการติดตาม/การดำเนินงาน/ปัญหาอุปสรรคการทำงานของ Care giver
  • กิจกรรมการอบรม ประเมินความรู้และทักษะของ Care giver ก่อน - หลังการอบรมประเมินเกี่ยวกับการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงจัดทำทะเบียน/ทำเนียบ Care giver และ สนับสนุนการดำเนินงานของ Care giver
  • ผู้เข้าอบรม 18 คน วิทยากร 1 คน คณะทำงาน 2 คน รวม 21 คน

มีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • ค่าอาหารกลางวันผู้เข้ารับการอบรม ,วิทยากร และคณะทำงาน จำนวน 21 คน ๆ ละ 50 บาท/มื้อ จำนวน 8 มื้อ เป็นเงิน 8,400 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม, วิทยากรและคณะทำงาน 21 คนๆละ 25 บาทต่อมื้อ จำนวน 16 มื้อ เป็นเงิน 8,400 บาท
  • ค่าเอกสารประกอบการอบรม 18 เล่ม x 100 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าป้ายไวนิล ขนาด 2 x 2.5 เมตร รวม 5 ต.ร.ม. ๆละ 150 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร (ภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติในห้องเรียน) จำนวน 50 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท (อบรมรวม 2 กองทุนมี ทต.นาทับ และตลิ่งชัน เฉลี่ยกองทุนละ 300 บาท) รวมเป็นเงิน 15,000 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร (ภาคปฏิบัติใน รพ.สต.และชุมชน รวม 22 ชม.) รับผิดชอบจำนวน 22 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 13,200บาท
  • ค่าประกาศนียบัตรพร้อมกรอบ จำนวน 18 ชุด ๆ ละ120 บาท เป็นเงิน 2,160 บาท
  • ค่ากระเป๋าใส่เอกสาร จำนวน 18 ใบ ๆ ละ 250 บาทเป็นเงิน 4,500 บาท
  • ค่าพาหนะเดินทาง 18 คน ๆละ 150 บาทต่อวัน จำนวน 10 วัน เป็นเงิน 27,000 บาท
  • ค่าห้องประชุมตลอดการอบรมตามหลักสูตรกองทุนละ 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
8 สิงหาคม 2565 ถึง 19 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้เข้าอบรมเข้าอบรมตามหลักสูตรไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของเวลาการอบรมตามหลักสูตร
  • ผู้เข้าอบรมผ่านการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 85
  • ผู้เข้าอบรม มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุร้อยละ 90
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
83260.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมผู้เกี่ยวข้องสรุปผลการดำเนินงาน

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
13 กันยายน 2565 ถึง 13 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 84,260.00 บาท

หมายเหตุ :
*** ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ ***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

มีพัฒนาระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ส่งผลให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้มีภาวะพึ่งพิงของตำบลได้รับการดูแลระยะยาว การมีส่วนร่วมของขุมชนในการร่วมกันดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ


>