กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า รหัส กปท. L5182

อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการพัฒนาระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า ปี 2565
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box
กลุ่มประชาชน
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า
กลุ่มคน
1. นายบุญ แก้วทิพนิล โทร.09-9358-9765
2. นางเหมวดี หลีปุ่ม
3. นางทิชากร หมัดเหล็ม
4. นางวรรณา สังข์เวช
5. นางเยาวรัสชฎารัตน์
3.
หลักการและเหตุผล

ปี 2565 ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ และอีก 9 ปีข้างหน้า ในปี 2574 จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super-Aged Society)มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินกว่า 28% ของประชากรทั้งประเทศ จากสถานการณ์ดังกล่าวจะทำให้มีผู้สูงอายุ “กลุ่มผู้ป่วยติดเตียง” ประมาณ 3% หรือ 4 แสนคน จากผู้สูงอายุที่มีอยู่ประมาณ 13 ล้าน (ข้อมูลมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)) ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทั้งทางด้าน ร่างกาย จิตใจสังคม จิตวิญญาณ
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้าตระหนักและให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมรับมือและวางแนวทางเพื่อรองรับที่ประเทศไทยและประชากรในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้าเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ โดยมีนโยบายด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทุกกลุ่ม ซึ่งนโยบายสำคัญคือ การทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรง ชะลอการเกิดโรคและความเจ็บป่วยจนต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิง และวางระบบการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีดูแลตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี การจัดการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวจึงเป็นเรื่องสำคัญ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบบริการด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่จัดระบบการดูแลที่มีประสิทธิภาพ ยั่งยืนและจัดเตรียมระบบดูแลในบ้าน สถานพักฟื้น และโรงพยาบาลที่เป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชนและครอบครัว ซึ่งการเตรียมระบบดูแลในบ้าน จำเป็นต้องมีสำรวจและค้นหาและประเมินสุขภาพของผู้สูงอายุเพื่อจำแนกประเภทผู้สูงอายุ พร้อมทั้งเตรียมองค์ความรู้ให้กับผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver)ซึ่งในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้ามีประชากรทั้งหมด8,803 คนผู้สูงอายุจำนวน 1,385 คนคิดเป็น 17.74 % ของประชากรทั้งหมด มีอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นกลางจำนวน2 คนทำให้บุคลากรในการออกให้การพยาบาลไม่ทั่วถึง และในปี งบประมาณ 2565ได้มีการเพิ่มกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงานโดยให้ครอบคลุมทุกกลุ่มอายุและทุกสิทธิทำให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver) มีจำนวนไม่เพียงพอในการดำเนินงานองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้าจึงได้จัดให้มีการจัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver)ตามหลักสูตรกรมอนามัย ๗๐ ชั่วโมงเพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์ จึงต้องมีการจัดการระบบข้อมูลทางด้านสุขภาพของผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้าจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า ขึ้น

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง (Caregiver) มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ
    ตัวชี้วัด : จำนวนอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง (Caregiver) มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น
    ขนาดปัญหา 2.00 เป้าหมาย 12.00
  • 2. เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุและผู้ที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)
    ตัวชี้วัด : จำนวนผู้สูงอายุและผู้ที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)ลดลง
    ขนาดปัญหา 34.00 เป้าหมาย 27.00
  • 3. เพิ่มร้อยละของผู้มีภาวะพึ่งพิงได้รับการจัดการวางแผนการดูแล (Care plan)
    ตัวชี้วัด : เพิ่มร้อยละของผู้มีภาวะพึ่งพิงได้รับการจัดการวางแผนการดูแล (Care plan)เพิ่มขึ้น
    ขนาดปัญหา 75.00 เป้าหมาย 98.00
  • 4. เพื่อเพิ่มร้อยละของผู้มีภาวะพึ่งพิงได้เข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ
    ตัวชี้วัด : เพิ่มร้อยละของผู้มีภาวะพึ่งพิงได้เข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น
    ขนาดปัญหา 75.00 เป้าหมาย 98.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. จัดประชุมทีมสหวิชาชีพและทีมหมอครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้มีภาวะพึ่งพิงระยะยาว
    รายละเอียด

    จัดประชุมทีมสหวิชาชีพและหมอครอบครัว ในประเด็นดังนี้ ( 2 ครั้ง ) จำนวน 10 คน

    • ระบบการดำเนินงานดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในการจัดการสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
    • การวางแผนการทำงาน แผนปฏิบัติการการดูแลระยะยาว
    • จัดระบบการให้บริการเยี่ยมบ้านในผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล
    • ประสานบุคลากรทีมสหวิชาชีพ เครือข่ายการเยี่ยมบ้าน
    • ทบทวนมาตรฐาน/ทักษะการออกเยี่ยมบ้าน
    • จัดเตรียมข้อมูลผู้ที่ต้องได้รับการดูแล รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลจากการคัดกรอง และจัดทีมหมอครอบครัวร่วมกับรพ.สต.นาหว้าและ รพ.สต.ควนขี้แรดและโรงพยาบาลจะนะดำเนินการประเมินผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงตามแบบประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL Index) และแบ่งกลุ่มผู้มีภาวะพึ่งพิง ออกเป็น 4 กลุ่มตามความต้องการการบริการด้านสาธารณสุข
    • สรุปประเมินผลการดำเนินงานร่วมกับ อบต.นาหว้า รพ.สต.นาหว้าและ รพ.สต.ควนขี้แรดและโรงพยาบาลจะนะ เพื่อพัฒนาระบบการดำเนินการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้มีภาวะพึ่งพิง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและต่อเนื่องในพื้นที่ต่อไป

    มีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้

    ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 ชุดๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 500 บาท

    งบประมาณ 500.00 บาท
  • 2. พัฒนาศักยภาพเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ช่วยเหลือดูและผู้สูงอายุ เพื่อจัดบริการด้านสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง
    รายละเอียด

    จัดอบรมผู้ดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงระยะยาว จำนวน 12 คน

    โดยแบ่งการฝึกอบรมเป็นภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติในห้องเรียนและชุมชนและในสถานบริการ จำนวน 8 วัน ทฤษฎี 30 ชั่วโมง ปฏิบัติในห้องเรียน 20 ชั่วโมง รวม 50 ชั่วโมง, ฝึกปฏิบัติในสถานพยาบาล 12 ชั่วโมง และฝึกปฏิบัติในชุมชน 10 ชั่วโมง

    • การเตรียมความพร้อมก่อนการจัดอบรม
    • จัดทำคู่มือ สำหรับ Caregiver
    • จัดทำแบบสอบถาม สำหรับ Caregiver
    • คัดเลือก Caregiver เข้าอบรม
    • เตรียมแบบสรุปผลการติดตาม/การดำเนินงาน/ปัญหาอุปสรรคการทำงานของ Care giver
    • กิจกรรมการอบรม ประเมินความรู้และทักษะของCaregiver ก่อน - หลังการอบรมประเมินเกี่ยวกับการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงจัดทำทะเบียน/ทำเนียบ Care giver และ สนับสนุนการดำเนินงานของ Caregiver ผู้เข้าอบรม 12 คน วิทยากร 1 คน คณะทำงาน 2 คน รวม 15 คน มีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้

    • ค่าอาหารกลางวันผู้เข้ารับการอบรม ,วิทยากร และคณะทำงาน จำนวน 15 คนๆ ละ 50 บาท/มื้อ จำนวน 8 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม, วิทยากรและคณะทำงาน 15 คนๆละ 25 บาทต่อมื้อ จำนวน 16 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
    • ค่าเอกสารประกอบการอบรม 12 เล่ม x 100 บาทเป็นเงิน 1,200 บาท
    • ค่าป้ายไวนิล ขนาด 2 x 2.5 เมตร รวม 5 ตร.ม.ๆละ 150 บาทเป็นเงิน 750 บาท
    • ค่าตอบแทนวิทยากร (ภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติในห้องเรียน) จำนวน 50 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท (อบรมรวม 3 กองทุนมี นาหว้า ป่าชิง จะโหนง เฉลี่ย กองทุนละ 200 บาท) รวมเป็นเงิน 10,000 บาท
    • ค่าตอบแทนวิทยากร (ภาคปฏิบัติใน รพ.สต.และชุมชน) จำนวน 22 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 13,200 บาท
    • ค่าประกาศนียบัตรพร้อมกรอบ จำนวน 12 ชุดๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 1,440 บาท
    • ค่ากระเป๋าใส่เอกสาร จำนวน 12 ใบๆ ละ 250 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท
    • ค่าพาหนะเดินทางสำหรับผู้เข้าอบรม 12 คนๆ ละ 150 บาทต่อวัน จำนวน 10 วัน เป็นเงิน 18,000 บาท
    • ค่าห้องประชุมตลอดการอบรมตามหลักสูตรกองทุนละ 1,000 บาท
    งบประมาณ 60,590.00 บาท
  • 3. ประชุมคณะทำงานสรุปผลการดำเนินงาน
    รายละเอียด

    ประชุมผู้เกี่ยวข้องสรุปผลการดำเนินงาน

    ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท

    งบประมาณ 500.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 25 กรกฎาคม 2565 ถึง 27 กันยายน 2565

8.
สถานที่ดำเนินการ

ตำบลนาหว้า

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 61,590.00 บาท

หมายเหตุ : *** ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ ***

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

มีพัฒนาระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ส่งผลให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้มีภาวะพึ่งพิงของตำบลได้รับการดูแลระยะยาว การมีส่วนร่วมของขุมชนในการร่วมกันดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า รหัส กปท. L5182

อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565
เรียน ประธานกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า รหัส กปท. L5182

อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 61,590.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................