กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการโดยญาติ ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางปู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการโดยญาติ ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางปู

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลบางปู

1. นายเจะสตอปาเจะมะ2.นายนายมะยูนุ เวาะเซ็ง 3.นายนิโอะเลาะนะ 4.นางแมะเนาะ มะแอ 5.นางแมะซง เจ๊ะฮะ

มัสยิดอัตตะอาวุน ตำบลบางปูอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในชุมชนถือเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการอย่างยั่งยืนโดยมีญาติหรือผู้ดูแลและคนในชุมชนมีส่วนร่วมเนื่องจากความพิการส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทำให้ผู้พิการไม่สามารถดำรงชีวิตได้เทียบเท่าคนปกติไม่สามารถเข้าถึงระบบบริการทางการแพทย์ทำให้ขาดการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างต่อเนื่องและเหมาะสม มีผลต่อคุณภาพชีวิตที่ลดลงรวมไปถึงการเป็นภาระต่อญาติหรือผู้ดูแล
ปัจจุบัน เทศบาลตำบลบางปูร่วมกับชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบางปูและทีมสหวิชาชีพ ได้ดำเนินโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในเขตเทศบาล ซึ่งได้ดำเนินการในด้านการลงพื้นที่ในเขตการดูแลของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปูทำให้ทราบถึงปัญหาของผู้พิการในการเข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ และขาดการรับทราบข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้พิการทำให้ผู้พิการขาดโอกาสรับการฟื้นฟูสภาพร่างกายให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันและช่วยเหลือตนเองได้ดีอีกทั้งยังพบว่าผู้พิการบางรายมีศักยภาพในการประกอบอาชีพ การให้ข้อมูลข่าวสาร มีความรู้ในสิทธิที่ผู้พิการพึงได้รับและยังสามารถให้คำแนะนำในการฟื้นฟูสภาพร่างกายได้ดี
ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบางปูร่วมกับ กลุ่มจิตอาสาตำบลบางปูจึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการโดยญาติ เพื่อการพัฒนาระบบฟื้นฟูบริการทางการแพทย์ ให้ผู้พิการเข้าถึงบริการของรัฐอย่างทั่วถึงเน้นการส่งเสริมให้คนพิการมีการรวมกลุ่มชมรมผู้พิการ ช่วยเหลือกันเองในกลุ่มและมีความรู้ในสิทธิและสวัสดิการในด้านต่างๆ ที่พึงได้ในคนพิการ ได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป ตระหนักรู้เกี่ยวกับศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ศักยภาพและการดำรงชีวิตอิสระ เพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนพิการให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อความมีศักยภาพในการปฏิบัติงานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการอย่างต่อเนื่อง ทั้งผู้พิการรายเดิมที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและผู้พิการที่ยังไม่เคยได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในเขตการดูแลของเทศบาลตำบลบางปูเพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้พิการในชุมชน ในเขตเทศบาลตำบลบางปูอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทุกพื้นที่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้พิการในชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบางปู ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยญาติหรือผู้ดูแลผู้พิการอย่างต่อเนื่อง

1.  ประเมินผลจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมอบรม 2.  ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรมมีระดับความพึงพอใจในระดับดี 3.  จัดตั้งชมรมคนพิการระดับตำบลบางปู  และมีแกนนำผู้พิการ จากระดับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ  รวมไปจนถึงส่วนท้องถิ่นในการประสานงานและร่วมกันในการดูแลผู้พิการ

0.00
2 เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้พิการ และลดภาระของญาติและผู้ดูแล

 

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ญาติหรือผู้ดูแลผู้พิการมีส่วนร่วมและเป็นเครือข่ายในการติดต่อข่าวสาร ข้อมูลระหว่างเทศบาลและชุมชนในการฟื้นฟูผู้พิการ

 

0.00
4 นำทรัพยากรต่างๆ ที่มีในชุมชนไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรมนุษย์ วัตถุดิบและเทคโนโลยีในชุมชนเพื่อการพัฒนาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 260
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 28/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. อบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการแก่ญาติหรือผู้ดูแลผู้พิการและแกนนำผู้พิการ จำนวน 2 รุ่นๆ ละ 130 คน

ชื่อกิจกรรม
1. อบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการแก่ญาติหรือผู้ดูแลผู้พิการและแกนนำผู้พิการ จำนวน 2 รุ่นๆ ละ 130 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการแก่ญาติหรือผู้ดูแลผู้พิการและแกนนำผู้พิการ
       จำนวน  2  รุ่นๆ ละ  130  คน     -  ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมประชุม  260  คน × 100  บาท× 1  วัน
                                                                                             เป็นเงิน  26,000 บาท -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  260  คน × 25  บาท × 2  มื้อ
         เป็นเงิน  13,000  บาท -  ค่าวัสดุอุปกรณ์ประกอบอบรม                  เป็นเงิน    4,800  บาท                      -  ค่าวิทยากร  ชั่วโมงละ  600  บาท × 5 ชั่วโมง × 2  วัน                                                                                          เป็นเงิน    6,000 บาท                                                       รวมเป็นเงิน  49,800  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
28 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
49800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ญาติหรือผู้ดูแลผู้พิการมีความรู้มีทักษะสามารถให้การดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการได้อย่างถูกต้องและมีศักยภาพ
2.ผู้พิการสามารถช่วยเหลือตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพหลังรับการฟื้นฟูสมรรถภาพหรือ เป็นภาระแก่ครอบครัวให้น้อยที่สุด
3.ญาติหรือผู้ดูแลผู้พิการนำทรัพยากรต่างๆที่มีในชุมชนไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบและ เทคโนโลยีฯในชุมชนเพื่อการพัฒนาและฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม
4.สร้างความเข้มแข็งของชมรมผู้พิการ ระบบประสานงานเครือข่าย และแกนนำ ผู้พิการในการช่วยเหลือพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตคนพิการ
5.ผู้พิการสามารถให้ความช่วยเหลือดูแลคนพิการกันเองในกลุ่มและรู้ถึงสิทธิที่พึงได้รับในคนพิการเพื่อให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุขและมีส่วนช่วยเหลือสังคมทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมอีกทางหนึ่ง


>