กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาข้าวเสีย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ เล่นเปตองวันละนิด ชีวิตสดใส

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาข้าวเสีย

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลนาข้าวเสีย

ตำบลนาข้าวเสีย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

42.00
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

40.00
3 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

30.00
4 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

 

100.00
5 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

1.07
6 ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน

 

36.75
7 ร้อยละของเวลาในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)

 

37.50

สุขภาพที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนา การมีสุขภาพที่ดีมิได้หมายถึงเพียงการมีหลักประกันในการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพเท่านั้น ต้องขึ้นอยู่กับประชาชนรู้จักดูแลสุขภาพของตนเอง เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะโรคบางโรคสามารถป้องกันโรคได้ด้วยการออกกำลังกาย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือด โรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น ดีกว่ารอให้เกิดการเจ็บป่วยแล้วรักษา จะทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรและงบประมาณ ในการดูแลรักษาจำนวนมาก การที่คนเรามีสุขภาพที่แข็งแรงเป็นภูมิคุ้มกันโรคที่ดี ดังนั้นประชาชนควรมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอให้ตนเองมีสุขภาพที่แข็งแรง กีฬาเปตองเป็นกีฬาที่มีประโยชน์ทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ การเล่นเปตองจัดว่าเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับประชาชนทุกช่วงวัย เนื่องจากเป็นการออกกำลังกายที่ไม่ต้องใช้กำลังมาก เป็นการฝึกด้านสมาธิและการเล่นกีฬาเป็นทีม ก่อให้เกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะแล้วยังสามารถลดความเครียดจากภารกิจต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลนาข้าวเสีย จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคของประชาชนทุกกลุ่มด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และยังทำให้เกิดความรัก ความสามัคคีทำให้ชุมชนตำบลนาข้าวเสีย เกิดความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น จึงได้จัดทำโครงการเล่นเปตองวันละนิด ชีวิตสดใสขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

42.00 80.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

40.00 80.00
3 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

30.00 80.00
4 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

1.07 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 2,000
กลุ่มวัยทำงาน 2,000
กลุ่มผู้สูงอายุ 2,000
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2022

กำหนดเสร็จ 30/06/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กีฬาเปตอง

ชื่อกิจกรรม
กีฬาเปตอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินงาน 1.เสนอแผนงาน/โครงการเพื่ออนุมัติ 2.ประชาสัมพันธ์และเปิดรับสมาชิกในการเข้าร่วมกิจกรรม 3.ประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อปรึกษาหารือแนวทางการจัดกิจกรรมและค่าใช้จ่าย 4.จัดเตรียมบุคลากร อุปกรณ์ สถานที่ วันและเวลา ตลอดจนรับลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ 5.ดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการ -ดำเนินการออกกำลังกายต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 วัน/สัปดาห์ จัดให้มีผู้นำออกกำลังกายด้วยกีฬาเปตอง
เวลา 18.00 - 19.00 น. (วันจันทร์-วันพุธ-วันศุกร์) 6.บันทึกจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้งที่มีกิจกรรม 7.ประเมินผล ก่อน-หลัง ดำเนินโครงการ โดยการประเมินสุขภาพด้านร่างกาย งบประมาณ งบประมาณจากกองทุกหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลนาข้าวเสีย จำนวนเงิน 100000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) รายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1.ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.5 x 3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน500 บาท 2.ค่าตอบแทนวิทยากร(เหมาจ่ายเดือนละ 2500 บาท) จำนวน 12 เดือน เป็นเงิน 30000 บาท 3.ซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในโครงการฯ เช่น ลูกเปตอง ผ้าขนหนู ฯลฯ เป็นเงิน 69500 บาท รวมเป็นเงิน 100000 บาท ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเป็นเงิน 100000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
100000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนได้ใช้เวลาว่างออกกำลังกายด้วยการเล่นกีฬาเปตองเพื่อให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
2.เกิดเครือข่ายสุขภาพในชุมชน
3.ประชาชนทุกกลุ่มวัยที่ออกกำลังกายมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันโรค


>