กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเขาเจียก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อสม.ฉลาดรู้ คุ้มครองผู้บริโภค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเขาเจียก

รพ.สต.บ้านหัวถนน

1.นายวรเวทย์ สุวรรณ์ จพ.สาธารณสุขชำนาญงาน 089-7328419
2.นางขนิษฐา สุวรรณ์ จพ.สาธารณสุขชำนาญงาน 081-8968858
3.นางสุคนธ์ ชูเอียด พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
4.นางสรินญา สามนตราช ประธาน อสม. ต.เขาเจียก
5.นายจิตร ทองสุวรรณ รองประธาน อสม.ต.เขาเจียก

ตำบลเขาเจียก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวน อสม.มีความรู้เรื่องการคุมครองผู้บริโภค

 

50.00

ร้านขายของชำในหมู่บ้านเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าประเภทต่าง ๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ที่มีความสำคัญมาก มีการจำหน่ายสินค้าที่มีความหลากหลาย และง่ายต่อการเข้าถึงของผู้บริโภคโดยเฉพาะสินค้าประเภท อาหาร เครื่องสำอาง ยา และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพ ซึ่งจำเป็นต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ได้รับมาตรฐานคุณภาพตามประเภทสินค้า เพื่อให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค การเฝ้าระวัง และตรวจสอบผลิตภัณฑ์จำหน่าย ในร้านชำที่จำหน่ายในร้านชำ อย่างต่อเนื่อง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจึงเป็นกำลังหลักในการตรวจสอบและเฝ้าระวังการจำหน่ายสินค้า และผลิตภัณฑ์ต่างในร้านชำ
จากข้อมูลของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน ตำบลเขาเจียก มีร้านชำในเขตรับผิดชอบทั้งหมด 20 ร้าน ในปี 2565 เพื่อการเฝ้าระวังการจำหน่ายอาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ของ อสม. ในร้านชำเป็นไปอย่างต่อเนื่อง แต่ อสม.ยังขาดความรู้ และทักษะในการให้ความรู้และแนะนำร้านชำ จำเป็นต้องมีการอบรม เพื่อเพิ่มทักษะให้กับ อสม.ในตำบลเขาเจียก ให้มีความรู้และศักยภาพในการแนะนำเรื่องการจำหน่ายอาหาร ยา และผลิตสุขภาพที่ถูกต้องแก่ผู้ประกอบการร้านชำได้ และผู้ประกอบการร้านชำจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการจำหน่าย อาหารที่ปลอดภัย ไม่มีวันหมดอายุ ยาที่ห้ามจำหน่ายในร้านขายของชำ และผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเครื่องสำอางที่ห้ามจำหน่าย เพื่อนำไปปรับปรุงร้านขายของชำให้เป็นไปตามเกณฑ์ร้านชำคุณภาพของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง เป็นผลให้ประชาชน มีความปลอดภัยในการซื้อผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ อสม. มีความรู้และทักษะในในการเฝ้าระวังการจำหน่ายยา อาหารและผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพในร้านขายของชำ

อสม. ทุกคน มีความรู้และทักษะในในการเฝ้าระวังการจำหน่ายยา อาหารและผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพในร้านขายของชำ

50.00 86.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่ อสม.

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ แก่ อสม. เรื่องการเฝ้าระวังการจำหน่ายยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายของชำ
  2. อสม.เฝ้าระวังและแนะนำผู้ประกอบการร้านชำในเขตรับผิดชอบเรื่องการจำหน่ายยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายของชำอย่างต่อเนื่อง
  3. ร่วมลงตรวจประเมินร้านชำ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านหัวถนน
  4. ร่วมสรุปผลการตรวจประเมินร้านชำคุณภาพร่วมกับเจ้าหน้าที่ งบประมาณสำหรับจัดอบรมให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติ เรื่องการเฝ้าระวังการจำหน่ายยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายของชำ แก่ อสม. จำนวน 86 คน ค่าใช้จ่ายดังนี้ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับ อสม. ที่เข้าร่วมอบรม จำนวน 86 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน4,300 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน สำหรับ อสม. ที่เข้าร่วมอบรม จำนวน 86 คน ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน5,160 บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
8 สิงหาคม 2565 ถึง 8 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.ทุกคนมีความรู้และทักษะในการเฝ้าระวังการจำหน่ายยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายของชำ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11260.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,260.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ร้านขายของชำจำหน่ายยา อาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้องได้มาตรฐาน


>