กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดพุง ลดโรค (คลินิก DPAC)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวน อสม. ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุง จำนวน 39 คน

 

34.21

ภาวะโภชนาการเกินแลโรคอ้วนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งต้องเร่งแก้ไขเนื่องจากเป็นปัญหาหนึ่งซึ่งนำไปสู่ผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจและปัญหาทางจิตสังคมอย่างชัดเจน จากการสำรวจข้อมูลพบว่าอาสาสมัครสาธารณสุขมีอุบัติการณ์การเกิดภาวะอ้วน ลงพุงมีแนวโน้มสูงขึ้นโรคที่เป็นผลกระทบจากภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วน ต่อสุขภาพในผู้ใหญ่ได้แก่ข้อเข่าเสื่อม ภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง มะเร็งลำไส้โรคซึมเศร้า เป็นต้น คนที่อ้วนลงพุงจะมีการสะสมของไขมันในช่องท้องมากเกินไป โดยมีรอบเอว เพศชายเกิน 36 นิ้ว หรือ 90 เซนติเมตร เพศหญิงเกิน 32 นิ้ว หรือ 80 เซนติเมตร ซึ่งไขมันเหล่านี้จะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ มีผลให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่ดี เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน ปัจจุบันประชาชนในวัยทำงานส่วนใหญ่จะนั่งโต๊ะทำงานมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกาย และไม่ค่อยสนในเรื่องอาหารเพราะมีการประชุม มีอาหารว่างมีงานเลี้ยงตอนเย็นกินไปคุยกันเรื่องงานรวมทั้งบริโภคอาหารหวานมันและเค็มเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากขนมขบเคี้ยวดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มประเภทกาแฟ และน้ำผลไม้ที่เติมน้ำตาลแทนการดื่มน้ำเปล่าซื้ออาหารสำเร็จรูปประเภทถุงมีวางจำหน่าย หาซื้อง่ายราคาถูกการโฆษณาอาหารที่ให้พลังงานสูงอาหารที่บริการการด่วนและบริการถึงบ้านการลดน้ำหนักของประชาชนบางกลุ่มยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการรับประทานอาหารโดยเฉพาะอาหารเช้าซึ่งบางคนงดอาหารเช้าแต่ดื่มกาแฟแทน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง อาหารมื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญและจำเป็นมากต้องรับประทานทุกวัน เพื่อกระจายพลังงานอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการ
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต จึงจัดทำโครงการลดพุง ลดโรค คลินิก DPAC ในกล่มอสม.ต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดพุง ลดโรคขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันภาวะโภชนาการเกินหรือโรคอ้วนลงพุง ส่งเสริมพฤติกรรมด้านโภชนาการ เข้าใจหลัก 3 อ(อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) นำไปปรับใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้สมาชิก อสม.มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพเรื่องโรคอ้วน ลงพุงและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

1.อสม.มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพเรื่องโรคอ้วนลงพุง และโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ 2.เพื่อให้อสม.ลดน้ำหนักได้
3.เพื่อให้อสม.ลดรอบเอว

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้และคำปรึกษาแก่กลุ่มเป้าหมายอาสาสมัครสาธารณสุขเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเสี่ยง 1 วัน กิจกรรมอบรมในรูปแบบรรยาย/สาธิต เรื่องการดูแลสุขภาพ โรคอ้วน และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 1. จัดอบรมให้ความรู้ โดยการบรรยาย/สาธิ

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้และคำปรึกษาแก่กลุ่มเป้าหมายอาสาสมัครสาธารณสุขเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเสี่ยง 1 วัน กิจกรรมอบรมในรูปแบบรรยาย/สาธิต เรื่องการดูแลสุขภาพ โรคอ้วน และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 1. จัดอบรมให้ความรู้ โดยการบรรยาย/สาธิ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้และคำปรึกษาแก่กลุ่มเป้าหมายอาสาสมัครสาธารณสุขเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเสี่ยง 1 วัน กิจกรรมอบรมในรูปแบบรรยาย/สาธิต เรื่องการดูแลสุขภาพ โรคอ้วน และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 1. จัดอบรมให้ความรู้ โดยการบรรยาย/สาธิตเรื่องการดูแลสุขภาพ โรคอ้วน และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2. แบ่งกลุ่มจำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มละ 15  คน 3.ฐานความรู้ จำนวน 3 ฐาน 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากร และผู้จัด  จำนวน  45 คน x 2 มื้อ x 25 บาท  เป็นเงิน 2,250 บาท 2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากร และผู้จัด  จำนวน 45 คน x 1 มื้อ x60 บาท  เป็นเงิน 2,700 บาท 3. ค่าสมนาคุณวิทยากร  จำนวน  6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท     เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิตอสม .ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง BM I เกิน เข้ารับการอบรมความรู้ฯครบตามเป้าหมาย39 คน ผลลัพธ์ 1.อสม.มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพเรื่องโรคอ้วนลงพุง และโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ 2.อสม.ลดน้ำหนักได้ร้อยละ 20 3.อสม.ลดรอบเอว ได้ ร้อยละ20 4. ลดอัตราป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูง-เบาหวาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6750.00

กิจกรรมที่ 2 พัฒนาคลินิกไร้พุงตามเกณฑ์มาตรฐาน 7 องค์ประกอบ

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาคลินิกไร้พุงตามเกณฑ์มาตรฐาน 7 องค์ประกอบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พัฒนาคลินิกไร้พุงตามเกณฑ์มาตรฐาน 7 องค์ประกอบ
1. ค่าป้ายการดำเนินงานในคลินิก DPAC จำนวน 3 ป้าย x 1,000 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 2.  ชุดโมเดลผัก 1 ชุด x 5,000 บาท   เป็นเงิน 5,000 บาท 3. ชุดโมเดลผลไม้  1 ชุดx 5,000 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท 4 วัสดุอุปกรณ์ในการอบรม - กระดาษ A 4 จำนวน 2 รีม x 120 บาท เป็นเงิน 240 บาท - กระดาษสี A4  จำนวน 1 รีม x  120บาท เป็นเงิน 120 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต  ดำเนินการจัดหาอุปกรณ์ให้เพียงพอ ในการดำเนินงานคลินิก DPAC                ผลลัพธ์  คลินิก DPAC ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 7 องค์ประกอบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13360.00

กิจกรรมที่ 3 - ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเป็นประจำทุกเดือน 1.ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว คำนวณ ค่าดัชนีมวลกาย2. แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การปฏิบัติตัวเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม3. ชี้แนะแนวทางการปรับเปลี่ยนที่ถูกต้องเฉพาะราย

ชื่อกิจกรรม
- ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเป็นประจำทุกเดือน 1.ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว คำนวณ ค่าดัชนีมวลกาย2. แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การปฏิบัติตัวเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม3. ชี้แนะแนวทางการปรับเปลี่ยนที่ถูกต้องเฉพาะราย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเป็นประจำทุกเดือน
        1.ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว คำนวณ ค่าดัชนีมวลกาย
        2. แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การปฏิบัติตัวเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
        3. ชี้แนะแนวทางการปรับเปลี่ยนที่ถูกต้องเฉพาะราย
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต  ผู้เข้าร่วมโครงการไดรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ประจำทุกเดือน ผลลัพธ์ 1.อสม.ลดน้ำหนักได้  ร้อยละ 20            2.อสม.ลดรอบเอว ได้ ร้อยละ20            3. ลดอัตราป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูง-เบาหวาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,110.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนได้รับบริการจากคลินิก DPAC ที่มีมาตรฐาน
ลดอัตราป่วยในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง และลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง


>