กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการดูเเลสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มอายุในพื้นที่บริการ รพ.สต.บ้านวังตง ปี 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการดูเเลสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มอายุในพื้นที่บริการ รพ.สต.บ้านวังตง ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

อสม.ในเขต รพ.สต บ้านวังตง

1.นายคล่อง ชื่นอารมณ์
2.นางอรสา ละเขียด
3.นางมาซีเตาะ ชอบงาม
4.นางเเสนอร หมีนหา
5.นางมุกดา ย่าเหล

พื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านวังตง (หมู่ที่ ๔,๕,๘,๙) ตำบลนาทอนอำเภอทุ่งหว้าจังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การดำเนินงานด้านสาธารณสุขในชุมชนจำเป็นต้องมีเครือข่ายสุขภาพที่สำคัญ คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหรือ อสม. ที่ให้บริการแก่ชุมชนเป็นรูปแบบหนึ่งของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพของตนเองครอบครัว และชุมชน อสม. คือประชาชนในหมู่บ้าน ที่มีใจรักในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข สมัครใจและเต็มใจ ที่จะช่วยงานในชุมชนเป็นที่ยอมรับนับถือของชาวบ้านปฏิบัติงานด้วยความเสียสละซึ่งต้องผ่านกระบวนการอบรมให้ความรู้ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างสม่ำเสมอและจะต้องมีการพัฒนาด้านทักษะความรู้ให้ทันต่อสภาพปัญหาด้านสาธารสุขที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันโดยเฉพาะในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันโรคและการรักษาพยาบาลเบื้องต้นตลอดจนเป็นผู้นำในการสร้างสุขภาพให้แก่ประชาชนในชุมชนเพื่อให้ชุมชนสามารถจัดระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพชุมชนได้อย่างเหมาะสมด้วยชุมชนเอง ภายใต้การสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆในพื้นที่ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลนาทอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังตงและองค์กรต่างๆอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เป็นบุคคลที่สำคัญและมีบทบาทหน้าที่ ในการดำเนินงานและให้การช่วยเหลือ เป็นผู้ประสานงานและเป็นตัวเชื่อมระหว่างภาครัฐกับประชาชนในชุมชนในการดำเนินงานกิจกรรมด้านสาธารณสุขดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาโดยตลอด แต่ในหลายปีที่ผ่านมา นโยบายและการดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขจะแปรเปลี่ยนไปตามสภาวการณ์ทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขต้องมีบทบาทหน้าที่และภารกิจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งทำให้ในปัจจุบันอาสาสมัครสาธารณสุข ขาดแรงจูงใจ ความมั่นใจ ทักษะ วิชาการและองค์ความรู้ใหม่ ในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขตามนโยบายและกิจกรรมที่แปรเปลี่ยนไป การพัฒนาศักยภาพเพิ่มพูนความรู้ทักษะวิชาการ และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อเพิ่มสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง เครือข่ายบริการสุขภาพตำบลป่ายุบใน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาเครือข่ายและศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขขึ้นมา อันจะช่วยส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมสาธารณสุขต่างๆ ในระดับพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น
ปัจจุบันสถานภาพด้านสุขภาพของประชนเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โรคต่างๆมีการเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนทีเพิ่มมากขึ้นเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคอัมพฤกษ์อัมพาต ทั้งที่เป็นโรคติดต่อและไม่ติดต่อ เป็นต้น การปฏิบัติงาน ของอสม. ในชุมชนจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมความรู้ด้านวิชาการ ทักษะ การปฏิบัติงาน อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการศึกษาดูงาน เพื่อหาประสบการณ์ ต่างๆให้สามารถนำสิ่งที่ได้มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำงานดูแลประชาชนในชุมชน ตามกลุ่มเป้าหมายที่จำเป็นต่างๆในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังตงจำนวนประชากร ๒,๒๖๙ คนซึ่งในจำนวนนี้ ได้มีการเป็นป่วยด้วยโรคเรื้อรังอื่นๆ โรคจิต และผู้พิการ ของประชากรในพื้นที่รับผิดชอบ๔ หมู่บ้าน ซึ่งเป็นสภาวะสุขภาพที่ต้องให้การดูแลแนะนำและให้คำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอสม.
ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องจัดให้มีการอบรมให้ความรู้แกนนำด้านสุขภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) จำนวน ๕๖ คนสังกัดเขตบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังตงตำบลนาทอน ต่อเนื่องเพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะ และ ความเชี่ยวชาญ ในการปฏิบัติงานที่ถูกต้องเหมาะสม สามารถปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขมูลฐานชุมชน ใน ๑๔ องค์ประกอบ และงานสาธารณสุขทุกด้าน รวมถึงการติดต่อประสานงาน แก้ข่าวร้าย กระจายข่าวดี ชี้บริการ ให้กับประชาชนในชุมชน สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยยึดหลักชุมชนดูแลชน แบบพอเพียง เพื่อประชาชนมีสุขภาพดีอย่างยั้งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 31/07/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการดูเเลสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มอายุในพื้นที่บริการ รพ.สต.บ้านวังตง ปี 2565

ชื่อกิจกรรม
โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการดูเเลสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มอายุในพื้นที่บริการ รพ.สต.บ้านวังตง ปี 2565
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้กับ อสม. ตามหลักสูตร โดยวิธีการบรรยายอภิปราย สาธิต ฝึกปฏิบัติ ค่าใช้จ่ายดังนี้ -ค่าอาหารกลางวัน อสม. จำนวน๕๐ คน คนละ ๕๐ บาทจำนวน๖ วัน=๑๕,๐๐๐- -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๕๐ คน คนละ๒๕ บาทวันละ ๒ มื้อจำนวน ๖ วัน=๑๕,๐๐๐- - ค่าวัสดุอบรมพร้อมกระเป๋าผ้าอบรม๕๐ คน คนละ ๑๐๐ บาท=๕,๐๐๐.- -ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด ๑.๒x๓ เมตร เมตรละ ๑๕๐ บาท เป็นเงิน =๕๔๐.- -ค่าวิทยากร จำนวน๖ วันๆละ ๕ ชั่วโมงๆละ ๓๐๐ บาท=๙,๐๐๐.- รวมเป็นเงิน๔๔,๕๔๐.-

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
44540.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 44,540.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ตัวชี้วัดผลผลิต(Outputs)
๑. ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้รับการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพทั้งทางร่างการและจิตใจทุกคน/ครั้ง/ปี
๒. ร้อยละ ๖๐ กลุ่มผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพ และติดตามเยี่ยมจาก CG, อสม. แกนนำชุมชนและ Care Manager ตามเกณฑ์
๓. อสม. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ และทักษะเพิ่มเติม มีความมั่นใจในการทำงานทุกคน
๔. ประชุมผลการดำเนินงานร่วมกันเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน
ตัวชี้วัดผลลัพธ์(Outcomes)
๑. ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพประจำปีทุกน
๒. กลุ่มผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาวะแยกตามประเภทเตียง และได้รับการช่วยเหลือกายอุปกรณ์ ตามสุขภาวะ
๓. อสม.และCG ในพื้นที่ได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มวัยและมีทักษะการดูแลได้อย่างมั่นใจ


>