กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำพะยา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลใส่ใจสตรี มีสุขภาพดี ตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูก ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำพะยา

อสม.หมู่ที่ 4

1. นางจิตติมาติ้งหมวก
2. นางดรุณีศรีทองงาม
3. นางอัมพรชุมบุญรักษ์
4. นางสุภาทองกลิ่น
5. นางจินตนาวิสุทธิ์

ตำบลลำพะยาอำเภอเมืองจังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติของไทย มะเร็งปากมดลูกพบมากเป็นอันดับ 3 รองจากมะเร็งเต้านมและมะเร็งตับ โดยส่วนใหญ่พบในผู้หญิงอายุระหว่าง 35-60 ปี ในปี 2557 มีอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก 5,513 รายหรือคิดเป็น 11.7 ราย ต่อประชากร 100,000 รายและจากรายงานสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ระบุว่าในปี พ.ศ.2560 มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูก ประมาณ2,251 ราย หรือคิดเป็น 6.8 ราย ต่อประชากร 100,000 รายมีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่เข้ามารับการรักษาเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และยังมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นทุกปี โดยผู้หญิงไทยอายุ 30-60 ปี สามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือโรงพยาบาลใกล้บ้านโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จากดำเนินการโครงการคัดกรองฯ อย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 15 ปี ส่งผลให้ปัจจุบันมีอุบัติการณ์มะเร็งปากมดลูกลดลงเหลือเพียง 11.7 คนต่อประชากรแสนคน เป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 3ของมะเร็งที่พบในหญิงไทย

การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ต้องมีการค้นหาโดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรกและในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smearในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ30- 60 ปีทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้

จากการสรุปผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธีPap smear ปีงบประมาณ 2564 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำเนียบ พบว่าสตรีกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้รับการตรวจคัดกรองเพียงร้อยละ 32เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2563 ร้อยละ 12.57ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์ชี้วัดตามยุทธศาสตร์จังหวัดยะลา ซึ่งกลุ่มประชากรเป้าหมายของตำบลลำพะยา จะต้องได้รับตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 60 โดยมีสาเหตุมาจากกลุ่มเป้าหมายบางส่วนที่ไม่เข้ารับบริการยังมีความอาย ไม่กล้ามาตรวจ,กลัวเจ็บ และบางส่วนยังไม่เห็นความสำคัญของการตรวจมะเร็งปากมดลูก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำเนียบ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เห็นความสำคัญเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จจึงได้จัดทำโครงการดูแลใส่ใจสตรีมีสุขภาพดีตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูก ประจำปี 2565 โดยปีนี้มีการพัฒนาการตรวจด้วยวิธี HPV DNA test ซึ่งมีความสะดวก ทราบผลตรวจเร็ว และความถูกต้องที่ดีกว่าการตรวจPap smearโดยโครงการดังกล่าวจะรณรงค์เร่งรัดให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจอย่างจริงจัง และถ่ายทอดประสบการณ์ในการมารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกแก่ผู้อื่นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1เพื่อป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ปี
  1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกร้อยละ  60
0.00
2 2เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกที่ถูกต้อง
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นร้อยละ 70
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 31/12/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
1.อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมย่อย.... ทดสอบความรู้ก่อนเข้ารับการอบรม แบ่งกลุ่มๆละ 10 คน เพื่อให้ความรู้เรื่องต่างๆ ดังนี้ - มะเร็งคืออะไรและสถานการณ์มะเร็งปากมดลูก - โครงสร้างมดลูกสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค - อาการและการดำเนินโรค - การป้องกันมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีHPV DNA test

ทดสอบความรู้หลังเข้ารับการอบรม


-ค่าอาหารกลางวัน 60 บ. x 50 คน x 1 มื้อ
เป็นเงิน 3,000 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บ. X50คน x2มื้อเป็นเงิน 2,500 บาท -ชุดของขวัญ 150 บ. X50 คน
เป็นเงิน 7,500 บาท -ค่าวิทยากร300 บ. x 6 ชม. x 1 วัน เป็นเงิน 1,800 บาท รวมเป็นเงิน 14,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14800.00

กิจกรรมที่ 2 2. การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA test

ชื่อกิจกรรม
2. การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA test
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • การตรวจเพื่อการวินิจฉัย, ระยะของโรคมะเร็งปากมดลูก และการรักษา
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมาย
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละ 60 กลุ่มสตรี อายุ 30-60 ปีได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA test
2. ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษา
3. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และตระหนักเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นร้อยละ 70


>