กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำพะยา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนในเด็ก 0–5 ปี ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำพะยา

อสม. หมู่ที่ 7

1. น.ส.อินตรานีสะมะแอลีมา
2. น.ส.นุรซาฮีดาบราเฮง
3. นางอัดสมีดาหะยุมามุ
4. นางฟากีละห์โตสแน
5. นางสาวยัสราณีบอสู

ตำบลลำพะยาอำเภอเมืองจังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้ เด็กที่มีอายุ 0 - 5 ปี ต้องได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานครบตามเกณฑ์ เพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน แต่ปัจจุบันพบว่าในหลายพื้นที่ของจังหวัดยะลา โดยเฉพาะในเขตอำเภอชายแดน อัตราความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการ ทั้งทางด้านบริบทของพื้นที่ความเชื่อ ทัศนคติ ฯลฯ โดยพบว่าเด็กที่มีอายุ 0 - 5 ปี ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อต่างๆ ได้มากกว่า เช่น โรคคอตีบ โรคไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ ไข้สมองอักเสบ หัด เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้หากเกิดขึ้น ความรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง โดยเฉพาะโรคหัด ซึ่งเป็นโรคที่กำลังระบาดในพื้นที่จังหวัดยะลาจากข้อมูลในช่วงวันที่ 1 กันยายน ถึง 9 ตุลาคม 2561 พบมีผู้ป่วยจำนวน 341 รายมีการระบาดกระจายทุกอำเภอ โดยอำเภอที่มีผู้ป่วยสูงสุดคืออำเภอยะหา จำนวน 93 ราย, อำเภอบันนังสตา 54 ราย, อำเภอธารโต 52 ราย, อำเภอกรงปินัง และอำเภอกาบัง 39 ราย, อำเภอเมืองยะลา 38 ราย, อำเภอรามัน 21 รายและอำเภอเบตง 5 ราย โดยพบมีผู้เสียชีวิตแล้ว 5 ราย แบ่งเป็นอำเภอกรงปินัง 3 ราย, อำเภอบันนังสตา 1 ราย และ อำเภอธารโต 1 ราย ตัวชี้วัดและเป้าหมายตามยุทธศาสตร์สาธารณสุข จังหวัดยะลา ปี 2561 ได้กำหนดให้มีความครอบคลุมการให้บริการวัคซีนใน เด็กอายุ 0 - 5 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95

จากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำเนียบ ที่ผ่านมา พบว่าการดำเนินงานในกิจกรรมงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมีประชากรเด็กอายุครบ 1 ปี 2 ปี 3 ปี และ 5 ปี ปีงบประมาณ 2564 จำนวน 179 คน และวัคซีนตามเกณฑ์ จำนวน 154 คน คิดเป็นร้อยละ 86.03 ซึ่งยังไม่บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนให้ได้ร้อยละ 90 ซึ่งเป็นการดำเนินงานโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขแต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ได้รับความร่วมมือจากชุมชนเท่าที่ควรทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุตามเป้าหมาย ดังนั้นการดำเนินงานในกิจกรรมงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจึงจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากองค์กรชุมชน เช่น ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อสม. ในการติดตามเด็ก 0 - 5 ปีที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อที่สามารถป้องกันด้วยวัคซีนได้ ฉะนั้นความร่วมมือจากหลายๆฝ่ายทำให้ชุมชนห่างไกลจากโรคติดต่อต่างๆได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำเนียบ ได้จัดทำโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนในเด็ก 0–5 ปี ประจำปี 2565 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนครบถ้วนตามเกณฑ์ อายุ

1.เด็กอายุ ครบ 1 ปี 2 ปี 3 ปี และ 5 ปี ได้รับวัคซีนครบถ้วนตามเกณฑ์ อายุ

0.00
2 2. เพื่อลดอัตราการป่วยตายในโรคที่สามารถป้องกันด้วยวัคซีน

2.เด็กอายุ 0-5 ปี ลดอัตราการป่วยตายในโรคที่สามารถป้องกันด้วยวัคซีน

0.00
3 3. เพื่อให้เสริมสร้างความรู้และความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเด็กในเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กที่ขาดนัดรับวัคซีน

3.ผู้ปกครองมี จำนวน 70 คน มีความรู้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จากการทำแบบสอบถามก่อน/หลังการอบรม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 70
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 31/12/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องวัคซีนในผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี

ชื่อกิจกรรม
1.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องวัคซีนในผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องวัคซีนในผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี
2.แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลเด็ก 0-5 ปี หลังได้รับวัคซีน

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 70 คนx 25 บ. x     2 มื้อ x 1 วัน เป็นเงิน 3,500 บาท 2. ค่าอาหารกลางวัน 70 คน x 60 บาท x 1 มื้อ x 1 วัน เป็นเงิน 4,200 บาท 3. ค่าวิทยากร 1 คน x 300 บาท x 6 ชม. x 1 วัน
เป็นเงิน 1,800 บาท 4.ชุดของขวัญ 70 ชุด x 200 บาท
เป็นเงิน 14,000 บาท 5.ป้ายไวนิล 1 X 3 เมตร เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กอายุครบ 1 ปี 2 ปี 3 ปี และ 5 ปี ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบตามเกณฑ์
2. เด็กอายุ 0-5 ปี ไม่เกิดโรคติดต่อสามารถป้องกันได้ด้วยวัคชีน
3. ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการได้รับวัคชีนเพิ่มขึ้น


>