กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำพะยา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังคุ้มครองผู้บริโภค ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำพะยา

อสม. หมู่ที่ 3

1. นางสุกัญญาจ่ายวาณิชย์
2. น.ส.มัญญาแก้วทอน
3. นางนงนุชชานุกาญจน์
4. นางอภิญญาสารัส
5. นางมยุเรศแก้วใส

ตำบลลำพะยาอำเภอเมืองจังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันจากสถิติการป่วยและเสียชีวิตของคนไทย พบว่าป่วยด้วยโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพเป็นอันดับต้น ๆ เช่น โรคมะเร็งทุกชนิดโรคหัวใจขาดเลือดโรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน เป็นต้น ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย มีสารปนเปื้อนอาหารที่ไม่ได้มาตรฐานอาหารแปลกปลอม อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เป็นต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำเนียบ มีพื้นที่รับผิดชอบ 7 หมู่บ้าน มีประชากรรับผิดชอบ 5,047 คน มีหลังคาเรือน จำนวน 1,230 หลัง ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง เกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ ข้าราชการ เป็นต้น ครอบครัวมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยว อาศัยอยู่ในละแวกเดียวกัน วิถีชีวิตชุมชนเป็นลักษณะกึ่งเมือง โดยส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารถุงอาหารปรุงสุกที่มีจำหน่ายโดยทั่วไปในพื้นที่เนื่องจากไม่มีเวลา ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมดังกล่าวได้ จากการวิเคราะห์ปัญหาด้านสุขภาพของประชากรในพื้นที่ พบว่ายังป่วยด้วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง และโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารเช่น โรคอุจจาระร่วง โรคบิดไข้ไทฟอยด์อาหารเป็นพิษ เป็นต้นซึ่งโรคเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวและอีกปัญหาหนึ่งที่ประชาชนในพื้นที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจ คือ การใช้ยายังมีความนิยมใช้ยาชุด หรือยาที่พ่อค้าเร่โฆษณาสรรพคุณ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรวมพลังกันดำเนินการหลาย ๆมาตรการทุกรูปแบบในการดูแลประชาชนในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำเนียบได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและยาในชุมชนปีงบประมาณ 2565 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้นักเรียน/อสม./แกนนำชุมชน/ผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังติดเตียง/ผู้ป่วยเรื้อรัง มีความรู้ความเข้าใจต่อการบริโภค และตระหนักในเรื่องอาหารและยา

1.นักเรียน จำนวน 50 คน มีความรู้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จากการทำแบบสอบถามก่อน/หลังการอบรม

2.อสม./แกนนำชุมชน/ผู้ประกอบการ/ผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังติดเตียง จำนวน 100 คน มีความรู้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จากการทำแบบสอบถามก่อน/หลังการอบรม

3.มีแกนนำคุ้มครองผู้บริโภคเกิดขึ้นในชุมชน

0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของนักเรียน อสม.แกนนำชุมชน และผู้ประกอบการ/ผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังติดเตียง/ผู้ป่วยเรื้อรัง ในเรื่องความไม่ปลอดภัยของอาหารและยา

4.อสม./แกนนำผู้บริโภคมีความรู้และช่วยเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ในชุมชน

5.นักเรียนมีความรู้และช่วยกระจายข่าวสารเกี่ยวกับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมในโรงเรียน และในชุมชน

6.ผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังติดเตียง/ผู้ป่วยเรื้อรัง มีความรู้เกี่ยวกับยากลุ่มเสี่ยงและผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2022

กำหนดเสร็จ 31/12/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.จัดอบรมแกนนำนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
1.จัดอบรมแกนนำนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1กิจกรรมย่อย.......จัดอบรมแกนนำนักเรียน
จำนวน 50 คน

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน x1 มื้อๆ x 60 บาท x 1 วัน เป็นเงิน 3,000 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 2 มื้อ x 25 บาท x 1 วัน เป็นเงิน 2,500 บาท -.ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมง * 300 บาท * 1 วัน เป็นเงิน 1,800 บาท -ค่าวัสดุในการจัดอบรม  4,500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11800.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรม อสม./แกนนำชุมชน/ผู้ประกอบการ/ผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังติดเตียง/ผู้ป่วยเรื้อรัง จำนวน 100 คน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรม อสม./แกนนำชุมชน/ผู้ประกอบการ/ผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังติดเตียง/ผู้ป่วยเรื้อรัง จำนวน 100 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.2 กิจกรรมย่อย....จัดอบรม อสม./แกนนำชุมชน/ผู้ประกอบการ/ผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังติดเตียง/ผู้ป่วยเรื้อรัง จำนวน 100 คน

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน x1 มื้อๆ x 60 บาท x 1 วัน เป็นเงิน 6,000 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน x 2 มื้อ x 25 บาท x 1 วัน     เป็นเงิน 5,000 บาท -.ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมง * 300 บาท * 1 วัน เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มีแกนนำที่มีระบบการบริหารจัดการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคเกิดขึ้นในชุมชน
2.อสม./แกนนำชุมชน/ผู้ประกอบ/ผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังติดเตียง/ผู้ป่วยเรื้อรัง มีความรู้และช่วยเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ในชุมชน
3.นักเรียนมีความรู้และช่วยกระจายข่าวสารเกี่ยวกับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมในโรงเรียน และในชุมชน
4.ร้านขายของชำในพื้นที่ไม่มีการจำหน่ายยาอันตราย
5.ผู้ป่วยเรื้อรังมีความรู้เกี่ยวกับยากลุ่มเสี่ยงและผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย
6.ประชาชนมีความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยและถูกต้อง


>