กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำพะยา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพมารดาและทารก ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำพะยา

อสม. หมู่ที่ 2

อสม. หมู่ที่ 2

ตำบลลำพะยาอำเภอเมืองจังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การตั้งครรภ์เป็นระยะพัฒนาการที่สำคัญของครอบครัว นำความปลาบปลื้มปิติยินดีมาสู่ผู้เป็นบิดาและสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะการตั้งครรภ์ครั้งแรก การตั้งครรภ์ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งในด้านกายวิภาค ชีวเคมี และสรีรวิทยาเพื่อต้อนรับชีวิตใหม่ที่จะถือกำเนิดมาร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสลับซับซ้อนสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อม เพื่อเตรียมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ยังต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคม เช่น บทบาทหน้าที่ ภาพลักษณ์ สัมพันธภาพกับครอบครัว เป็นต้น

เป้าหมายสูงสุดของงานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย โดยมีกลวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ได้แก่ การให้บริการตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์ เพื่อประเมินภาวะเสี่ยงและแก้ไขปัญหาทั้งที่จะเกิดแก่มารดาและทารกได้ อาทิเช่น ปัจจัยด้านอายุมารดาที่ไม่เหมาะสมต่อการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาโดยทางตรงและทางอ้อม เช่น เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด เสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด น้ำหนักทารกแรกเกิดไม่ได้มาตราฐานตามเกณฑ์ เป็นต้น ปัญหาการตั้งครรภ์เหล่านี้เป็นผลมาจากการขาดความรู้และการตระหนักถึงความจำเป็นของการดูแลดูแลสุขภาพตนเองที่ดีขณะตั้งครรภ์ ทั้งในเรื่องการรับบริการฝากครรภ์ที่ครบตามเกณฑ์ ด้านโภชนาการ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การออกกำลังกาย และ การพักผ่อนเพื่อผ่อนคลาย รวมไปถึงการดูแลสุขภาพจิตใจและการปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคมเพื่อรองรับบทบาทหน้าที่และภาพลักษณ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้น

จากปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำพะยาได้เล็งเห็นถึงปัญหาและต้องการที่จะเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดี แก่ประชาชนในพื้นที่ประกอบกับนโยบายด้านสุขภาพที่เน้นเชิงรุก เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการดูแลตนเองและผู้ที่สามารถเข้าถึงและใกล้ชิดชุมชนมากที่สุดก็คืออาสาสมัครสาธารณสุขและเครือข่ายแม่อาสาซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดที่จะตอบสนองต่อนโยบายด้านสุขภาพดังกล่าว ดั้งนั้นการเพิ่มพูนศักยภาพให้แก่ภาคีเครือข่ายในชุมชนด้านสุขภาพแม่และเด็กจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กและมาเป็นผู้ประสานเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อหญิงตั้งครรภ์ สามี มารดาหลังคลอด และอาสาสมัครสาธารณสุข/แม่อาสา มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของการฝากครรภ์ก่อน12 สัปดาห์และฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์มาตราฐาน และสามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้อง

-มารดาและทารกได้รับการเยี่ยมหลังคลอดครบตามเกณฑ์ มาตรฐาน 3 ครั้ง และฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์มาตราฐาน

-มารดาคลอดในสถานบริการ

-ทารกแรกคลอดน้ำหนัก ไม่ต่ำกว่า 2,500กรัม

0.00
2 2. เพื่อเพิ่มศักยภาพและความรู้ความเข้าใจแก่อาสาสมัครสาธารณสุข แม่อาสาและทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอด และสามารถค้นหาแนะนำหญิงมีครรภ์ให้มาฝากครรภ์ก่อน12 สัปดาห์ได้ และฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์

-มารดามาฝากครรภ์ ก่อน12 สัปดาห์

-มารดาไม่เกิดภาวะซีดในขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด

-มารดาและทารกมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง

-มารดามาฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์มาตราฐาน

0.00
3 3. เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนและผู้ร่วมโครงการเกิดความรู้และมีส่วนร่วมในการพัฒนาแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาวะของ หญิงตั้งครรภ์มารดาหลังคลอด และทารกหลังคลอด ที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน ทั้งด้านสังคม วัฒนธรรม ศาสนา และการประกอบอาชีพ

-ภาคีเครือข่ายเช่นอสม. แม่อาสา สามารถติดตามค้นหาหญิงตั้งครรภ์ให้มาฝากครรภ์ก่อน12สัปดาห์และฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์มาตราฐานได้

-ภาคีเครือข่าย สามารถเยี่ยมหลังคลอดได้ และสามารถค้นพบปัญหาและมีการส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 31/12/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมหญิงตั้งครรภ์มารดาหลังคลอด

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมหญิงตั้งครรภ์มารดาหลังคลอด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมหญิงตั้งครรภ์มารดาหลังคลอด

-ค่าอาหารกลางวันจำนวน50คนx1มื้อๆละ60บาทx1วัน = 3,000 บ. -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน50คนx2มื้อๆละ25บาทX1วัน =  2,500 บ. -ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน1คนX6ชม.ๆละ300บาท=1,800 บ. -ชุดของขวัญ 100X50  =5,000 บ. -ค่าป้ายไวนิลโครงการ1X3เมตร จำนวน1ป้าย=1,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงมีครรภ์ สตรีที่เพิ่งแต่งงานใหม่และสามี มีความรู้และสามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้อง
2. หญิงมีครรภ์ทุกคนได้รับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์และครบตามเกณฑ์
3. อาสาสมัครสาธารณสุข แม่อาสา มีความรู้และศักยภาพสามารถค้นหาแนะนำหญิงมีครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนตามกำหนดได้
4. ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลและเป็นไปตามบริบทสอดคล้องกับวัฒนธรรม


>