กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำพะยา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ฟ.ฟัน สวยจัง ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำพะยา

อสม. หมู่ที่ 5

1. น.ส.มยุราบิลละโสย
2. นางวรวรรณเบญยูนุส
3. นางจรรยาพรานพนัส
4. นางทัศนีย์ตรีรัตน์
5. นางวันทนีย์เพ็ชรพวง

ตำบลลำพะยาอำเภอเมืองจังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

งานทันตสาธารณสุขที่ได้ดำเนินงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นงานด้านการให้บริการทันตกรรมในผู้ป่วยทั่วไป และทุกกลุ่มอายุ และมักจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ และการจะดูแลให้ประชาชนมีสุขภาพช่องปากที่ดีจริงๆนั้นต้องเริ่มตั้งแต่การตั้งครรภ์ และต้องดูแลถึงที่บ้านไม่ใช่เฉพาะในสถานบริการเท่านั้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรืออสม. ที่ชาวบ้านรู้จักกันดีนั้น นับว่าเป็นองค์กรที่มีความสำคัญในการดำเนินงานในชุมชน ดังจะเห็นได้จากปัจจุบันงานสาธารณสุขพื้นฐานต่างๆไม่ว่าจะเป็นการควบคุมลูกน้ำยุงลายในชุมชน การชั่งน้ำหนักประเมินภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0 – 5 ปี การดูแลติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ การติดตามเยี่ยม ดูแลหญิงหลังคลอด ตลอดจนผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสในชุมชน ล้วนแล้วแต่เป็นงานที่อสม.ต้องดำเนินการทั้งนั้น จะขาดก็แต่เพียงงานทันตสาธารณสุขที่อสม.มีส่วนร่วมน้อยมาก หรือบางพื้นที่แทบไม่มีเลยด้วยซ้ำ จากแนวคิดดังกล่าวทางโรงพยาบาลลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำเนียบ จึงต้องการที่จะบูรณาการงานด้านทันตสาธารณสุขเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในภารกิจที่อสม.ต้องทำ โดยการพัฒนาศักยภาพให้อสม.มีความรู้ด้านทันตสาธารณสุข เพื่อที่จะสามารถให้คำแนะนำ และตรวจสุขภาพช่องปากเบื้องต้นให้กับประชาชนในเขตรับผิดชอบของตนเองได้ พร้อมทั้งมีระบบรายงานให้สถานบริการทราบอย่างต่อเนื่องทุกเดือนเช่นเดียวกันกับรายงานอื่นๆของอสม. และแม้กระทั้งการเป็นผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุขในการออกปฏิบัติงานในชุมชนไม่ว่าจะเป็นการออกตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ การตรวจสุขภาพช่องปากผู้ป่วยเบาหวาน การเยี่ยมบ้าน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนเกิดความพึงพอใจในการให้บริการด้านทันตกรรมทั้งทางเชิงรุก และเชิงรับตลอดจนเกิดเครือข่ายในการดูแลสุขภาพช่องปากประชาชน

ปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในนักเรียนประถมศึกษา เมื่อเทียบกับโรคอื่นๆที่ตรวจพบในกลุ่มเดียวกันและปัญหาด้านทันสุขภาพนั้นนอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปากของเด็กแล้วยังมีผลกระทบต่อการเรียนและพัฒนาการของเด็กนักเรียนประถมศึกษาอยู่ในช่วงอายุ 6-12 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีฟันแท้ขึ้นใหม่ๆ ลักษณะรูปร่างฟันมีหลุมร่องลึกทำให้เกิดโรคฟันผุได้ง่ายนอกจากอุปนิสัยของเด็กที่ชอบรับประทานอาหารของหวานตลอดจนมีข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่ายหากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีพอโรคในช่องปากเป็นโรคในช่องปาก เป็นโรคที่สามารถป้องกันและสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากเริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก การฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขนิสัยที่ดี และการส่งเสริมและป้องกันรวมทั้งการบำบัดรักษาในระยะแรกของการเป็นโรคจะช่วยป้องกันและควบคุมโรคในช่องปากของเด็กได้ จากการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนตามระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาในตำบลลำพะยาทั้ง 3 แห่ง ในปีงบประมาณ 2564 จำนวน 173 คน พบฟันผุจำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 28.90โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำเนียบเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการฟ.ฟัน สวยจังนี้ขึ้นในนักเรียนประถมศึกษา เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพในช่องปาก และนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ และเป็นตัวอย่างในการดูแลสุขภาพช่องปากแก่นักเรียนในสถานศึกษาของตนเองต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
  1. แกนนำนักเรียน จำนวน 36 คน มีความรู้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 จากการทำแบบสอบถามก่อน/หลังการอบรม
0.00
2 2. ปัญหาการเกิดโรคในช่องปากในกลุ่มเด็กนักเรียน เช่น โรคฟันผุ และเหงือกอักเสบลดลงร้อยละ 5
  1. นักเรียนมีปัญหาโรคฟันผุ และโรคเหงือกอักเสบลดลงร้อยละ 5 จากการให้บริการทันตกรรม
0.00
3 3. เพื่อให้อสม.มีความรู้ในการดุแลสุขภาพช่องปากไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60
  1. อสม. จำนวน 69 คน มีความรู้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 6  จากการทำแบบทดสอบก่อน/หลังการอบรม
0.00
4 4. เพื่อพัฒนาศักยภาพอสม.ในการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในชุมชน

 

0.00
5 5. เพื่อประสานความร่วมมือในการค้นหา และแก้ไขปัญหาสุขภาพในช่องปากของชุมชนระหว่างสถานบริการ และเครือข่ายอสม.

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 36
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 31/12/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรบเชิงปฏิบัติการ ในแกนนำนักเรียน , อสม.

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรบเชิงปฏิบัติการ ในแกนนำนักเรียน , อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดอบรบเชิงปฏิบัติการในแกนนำนักเรียน จำนวน 36 คน

2.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในอสม. จำนวน 69 คน

  • ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่าง 25 บ. X 36 คน X 1 มื้อ = 900 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 60 บ. X 36 คน
    X 1 มื้อ = 2,160 บาท
  • ค่าวิทยากร 1 คน X 300 บ. X 3 ชม.
    = 900 บาท
  • ชุดของขวัญ 36 ชุด X 150 บาท
    = 5,400 บาท
  • ป้ายไวนิล 1 X 3 เมตร = 1,000 บาท
  • ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่าง 25 บ. X 69 คน X 1 มื้อ = 1,725 บาท
  • ค่าวิทยากร 1 คน X 300 บ. X 3 ชม.
    = 900 บาท
  • ชุดของขวัญ 69 ชุด X 200 บาท = 13,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26785.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,785.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก
2. เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
3. เพื่อให้อสม. มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
4. เพื่อให้อสม.มีศักยภาพในการดำเนินงานทันตสาธารสุขในชุมชน
5. เพื่อให้ปัญหาสุขภาพช่องปากในชุมชนมีแนวโน้มที่ดีขึ้น


>