กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดบริโภคหวาน-มัน-เค็ม ด้วยชุดสื่อโมเดลเครื่องปรุงอาหาร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

กลุ่มงานบริการปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลควนโดน

ตำบลควนสตอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สื่อการสอน (Instructional Media) เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของผู้สอนไปถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุดประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้เป็นอย่างดี สื่อที่ใช้ในการสอนนี้ อาจจะเป็นวัตถุสิ่งของที่มีตัวตน หรือไม่มีตัวตนก็ได้ เช่นวัตถุสิ่งของตามธรรมชาติปรากฎการณ์ตามธรรมชาติวัตถุสิ่งของที่คิดประดิษฐ์หรือสร้างขึ้นสำหรับการสอนคำพูดท่าทางวัสดุ และเครื่องมือสื่อสาร กิจกรรมหรือกระบวนการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ความสำคัญของการใช้สื่อเป็นสิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นในระยะเวลาอันสั้น ช่วยสร้างเสริมลักษณะที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์จากการใช้สื่อเหล่านั้น
จากการคัดกรองความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ใน หมู่ที่ 5 -10 ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ในช่วงไตรมาส ที่ 1 ปีงบประมาณ 2565 คัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 1,953 ราย พบว่า เป็นกลุ่มปกติ 1,816 ราย(ร้อยละ 92.99)กลุ่มเสี่ยง 114 ราย(ร้อยละ 5.84) กลุ่มสงสัยป่วย 15 ราย(ร้อยละ 0.77) ผู้ป่วยรายใหม่ 13 ราย(ร้อยละ 10.08 ของกลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วย)ผู้ป่วยสะสม 218 ราย(ร้อยละ 4.14 ของประชากรทั้งหมด)คัดกรองความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,558 บาท พบว่า เป็นกลุ่มปกติ 1,377 ราย(ร้อยละ 88.38) กลุ่มเสี่ยง 111 ราย(ร้อยละ 5.68) สงสัยป่วย 68 ราย(ร้อยละ 3.48) ผู้ป่วยรายใหม่ 17 ราย(ร้อยละ 9.50 ของกลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วย) ผู้ป่วยสะสม 661 ราย(ร้อยละ 12.54 ของประชากรทั้งหมด)
โรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง มีสาเหตุหลักๆ มาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องสะสมเป็นเวลานาน นั่นก็คือ พฤติกรรมด้านการบริโภคอาหาร ด้านการออกกกำลังกาย ด้านการพักผ่อนให้เพียงพอ การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอลล์ หรือตามหลัก 3 อ. 2 ส. นั่นเอง หากประชาชนทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง หรือคนที่เป็นโรคแล้ว ไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้นได้ ก็จะส่งผลต่อการเกิดโรค การเพิ่มความรุนแรงของโรคที่เป็นอยู่ และเพิ่มความเสี่ยงด้านอื่น ๆ ที่ตามมา เช่น ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง เกิดโรคหัวใจเฉียบพลัน โรคไตเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานขึ้นตาภาวะปลายประสาทอักเสบ แผลเบาหวานที่เท้า การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราที่ผิวหนัง อาการคัน และปัญหาอื่น ๆ
ในการจัดทำสื่อชุดโมเดลอาหารนี้ เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อการสอน ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (Health Behavior Modification) ที่ดีของคนในชุมชนควนสตอเน้นการส่งเสริมการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ตามหลัก 3 อ. 2 ส. โดยนำสื่อชุดโมเดลเครื่องปรุงอาหาร ให้ที่ผู้เรียนรู้สามารถมองเห็นภาพ เข้าใจ กะปริมาณการใช้เครื่องในการประกอบอาหาร แล้วสามารถนำไปปรับใช้ในการบริโภคของตนเอง สามารถเลือกบริโภคอาหารที่มี น้ำตาล เกลือ ไขมัน ในปริมาณที่เหมาะสมได้ เห็นฉลากอาหารแล้วสามารถเลือกได้ ว่าควรบริโภคอย่างไร ก่อเกิดเป็นพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องและเหมาะสมกับตนเองดังนั้นกลุ่มงานบริการปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลควนโดน จึงได้จัดทำโครงการลดบริโภคหวาน-มัน-เค็ม ด้วยชุดสื่อโมเดลเครื่องปรุงอาหาร

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการใช้สื่อในกิจกรรม ข้อที่ 2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถใช้เครื่องปรุงอาหารได้ถูกต้อง เหมาะสม ข้อที่ 3 สามารถเลือกซื้อสินค้าที่มีปริมาณ น้ำตาล เกลือ ไขมัน ที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับตนเองได้

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ผลการประเมินความพึงพอใจต่อชุดสื่อโมเดลอาหาร
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

เปรียบเทียบคะแนนความรู้และความเข้าในก่อน และหลังจัดกิจกรรม

เปรียบเทียบคะแนนความถูกต้อง ในการอ่านฉลากโภชนาการ ก่อนและหลังจัดกิจกรรม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 15
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/07/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการลดบริโภคหวาน-มัน-เค็ม ด้วยชุดสื่อโมเดลเครื่องปรุงอาหาร

ชื่อกิจกรรม
โครงการลดบริโภคหวาน-มัน-เค็ม ด้วยชุดสื่อโมเดลเครื่องปรุงอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยสื่อชุดโมเดลอาหาร
    1.1 กิจกรรมย่อย จัดทำสื่อชุดโมเดลอาหาร  ค่าชุดโมเดลเครื่องปรุงอาหาร

- ชุดโมเดลปริมาณน้ำตาลในอาหาร 1 ชุด
                                      =  5,000 บ.   - ชุดโมเดลปริมาณโซเดียมในอาหาร 1 ชุด =  5,000 บ. - ชุดโมเดลปริมาณน้ำมันและคอเลสเตอรอลในอาหาร  1 ชุด                   = 5,900 บ.


1.2 กิจกรรมย่อย                  ให้ความรู้ และส่งเสริมการบริโภคอาหารตามหลัก 3 อ. 2 ส. การควบคุมอาหาร ลดการบริโภค หวาน-มัน-เค็ม โดย ใช้สื่อโมเดลเครื่องปรุงอาหาร ในหมู่บ้านเขตรับผิดชอบ ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
- กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง จัดในชุมชน ได้แก่ ม.5 – ม.10 ต.ควนสตอ อ.ควนโดน จ.สตูล - กลุ่มป่วยโรคเรื้อรัง จัดในสถานบริการ คลินิกเบาหวาน-ความดัน - หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่   จัดในสถานบริการ คลินิกฝากครรภ์
    - ไม่เบิกค่าใช้จ่าย 3. ติดตามการบริโภครายบุคคล รอบ 3,6 เดือน หลังการอบรม โดยใช้แบบบันทึกการบริโภคใน 1 สัปดาห์
    - ไม่เบิกค่าใช้จ่าย 2. สรุปผลการดำเนินโครงการ และเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลควนสตอ

รวม...............15,900............บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
13 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยสื่อชุดโมเดลอาหาร
    1.1 กิจกรรมย่อย จัดทำสื่อชุดโมเดลอาหาร  ค่าชุดโมเดลเครื่องปรุงอาหาร

- ชุดโมเดลปริมาณน้ำตาลในอาหาร 1 ชุด
                                      =  5,000 บ.   - ชุดโมเดลปริมาณโซเดียมในอาหาร 1 ชุด =  5,000 บ. - ชุดโมเดลปริมาณน้ำมันและคอเลสเตอรอลในอาหาร  1 ชุด                   = 5,900 บ.


1.2 กิจกรรมย่อย                  ให้ความรู้ และส่งเสริมการบริโภคอาหารตามหลัก 3 อ. 2 ส. การควบคุมอาหาร ลดการบริโภค หวาน-มัน-เค็ม โดย ใช้สื่อโมเดลเครื่องปรุงอาหาร ในหมู่บ้านเขตรับผิดชอบ ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
- กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง จัดในชุมชน ได้แก่ ม.5 – ม.10 ต.ควนสตอ อ.ควนโดน จ.สตูล - กลุ่มป่วยโรคเรื้อรัง จัดในสถานบริการ คลินิกเบาหวาน-ความดัน - หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่   จัดในสถานบริการ คลินิกฝากครรภ์
    - ไม่เบิกค่าใช้จ่าย 3. ติดตามการบริโภครายบุคคล รอบ 3,6 เดือน หลังการอบรม โดยใช้แบบบันทึกการบริโภคใน 1 สัปดาห์
    - ไม่เบิกค่าใช้จ่าย 2. สรุปผลการดำเนินโครงการ และเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลควนสตอ

รวม...............15,900............บาท
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายความพึงพอใจในการเรียนรู้ ด้วยชุดสื่อโมเดลเครื่องปรุงอาหาร
2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสามารถกะปริมาณเครื่องปรุงที่ใช้ประกอบอาหาร และสามารถเลือกซื้อสินค้าที่มีปริมาณ น้ำตาล เกลือ ไขมัน ที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับตนเองได้
3. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น หรือสามารถคงภาวะสุขภาพของตนเองให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ต่อไป


>