กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กไทยโภชนาการตามวัย ศพด.บ้านกือลอง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกือลอง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกือลอง หมู่ ๒ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นรากฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เด็กที่มีคุณภาพคือเด็กที่มีการเจริญเติบโตสมวัยพัฒนาการสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญา
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกือลอง มีนักเรียนทั้งหมด จำนวน 38 คน เด็กมีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 26.32 ของเด็กทั้งหมด เด็กมักจะเลือกรับประทานอาหาร ส่งผลทำให้ร่างกายและสมองเติบโตช้า ผลที่ตามมา คือ โรคขาดสารอาหาร ทำให้มีภูมิต้านทานโรคต่ำ เด็กจะเจ็บป่วยบ่อย เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย เด็กในวัยนี้จะเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ หากยังปล่อยให้เด็กในวัยนี้ขาดสารอาหาร อาจส่งผลกระทบในทุกๆ ด้าน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกือลอง จึงได้จัดโครงการเด็กไทยโภชนาการตามวัยขึ้น เพื่อส่งเสริมการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียนร่วมกับผู้ปกครอง เพื่อให้เด็กได้รับการส่งเสริมภาวะโภชนาการอย่างถูกต้องและต่อเนื่องต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครอง /ครูมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ

ร้อยละ 80 ผู้ปกครอง/ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการอย่างถูกต้อง

0.00
2 เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกือลอง มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย

ร้อยละ 80 มีพัฒนาการตามวัย

0.00
3 เพื่อลดอัดตราการป่วยในเด็กที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ร้อยละ 80 เด็กป่วยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกือลอง มีอัตราลดลง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 38
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้และสาธิตการทำอาหาร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้และสาธิตการทำอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ค่าจัดทำป้ายโครงการฯ 1 ป้าย (ขนาด 1.2 ม. x 2.4 ม.)  เป็นเงิน   ๑,๐๐๐  บาท 1.2 ค่าตอบแทนวิทยากร (1 คน x 3 ชม.x300 บาท)    เป็นเงิน     ๙๐๐  บาท
1.3 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (38 คน × ๒ มื้อ x 20 บาท)    เป็นเงิน  ๑,๕๒๐  บาท 1.4 ค่าอาหารกลางวัน (38 คน x 1มื้อ x 40 บาท)        เป็นเงิน  ๑,๕๒๐  บาท 1.5 ค่าวัสดุประกอบการอบรม (38 ชุด x 20 บาท)    เป็นเงิน     ๗๖๐  บาท 1.6 ค่าวัตถุดิบประกอบการทำอาหาร            เป็นเงิน  ๑,๐๐๐  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครอง /ครูมีความรู้ และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6700.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสาธิตการทำน้ำผลไม้ปั่น/ผักทอด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสาธิตการทำน้ำผลไม้ปั่น/ผักทอด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ค่าวัตถุดิบประกอบการทำน้ำผลไม้ปั่น/ผักทอด      เป็นเงิน    ๕๐๐  บาท
2.2 ค่าตอบแทนวิทยากร (1 คน x 1 ชม.x300 บาท)    เป็นเงิน    ๓๐๐  บาท 2.3 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (3๘ คน × 1 มื้อ x 20 บาท)    เป็นเงิน    ๗๖๐  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครอง /ครูมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1560.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอาหารเช้าของหนู

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอาหารเช้าของหนู
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 ค่าอาหารเช้าสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (๑๐ คน x ๓๐ วัน x ๒๐ บาท) เป็นเงิน  ๖,๐๐๐  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับประทานอาหารเช้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,260.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

(1) ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการ สามารถส่งเสริมให้บุตรหลานมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น
(2) เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกือลอง มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย สามารถลดภาวะทุพโภชนาการในเด็กเล็กได้
(3) เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกือลอง มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง


>