กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา รหัส กปท. L7452

อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการส่งเสริมป้องกันภาวะทุพโภชนาการนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเมืองยะลา ประจำปี 2565 (ประเภทที่ 2)
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา)
3.
หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) การพัฒนาชาติที่สำคัญ คือการพัฒนาคนให้มีคุณภาพมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจตลอดจนมีความสามารถในการเรียนรู้ เพื่อให้มีศักยภาพสูงสุดเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืนอันดับแรกของการพัฒนาตน คือการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัย เพราะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้านจิตใจอารมณ์ สังคม สติปัญญา ตลอดจนคุณธรรม และจริยธรรมของเด็ก อาหารนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์โดยเฉพาะวัยเรียน เป็นช่วงที่สมองของเด็กมีการเติบโต หากพ่อแม่สร้างสิ่งแวดล้อมต่าง ๆให้เหมาดสม สมองของเขาก็เจริญเติบโตและพัฒนาได้อย่างเต็มที่ ความสมบูรณ์ของสมองในช่วงนี้สำคัญคือรากฐานสำคัญของชีวิตและความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของคนเราเมื่อเติบโตขึ้น เด็กนักเรียนจึงเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโดที่มีความต้องการสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ทำให้เด็กมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ถ้าเด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีอุปสรรคต่อการเรียนรู้ และการเจริญเติบโตของร่างกายเมื่อท้องอิ่ม จิตใจก็แจ่มใส เบ่งบาน พร้อมเปิดรับกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อาหารเช้าจึงสำคัญ การทานอาหารเช้าที่ส่งผลดีต่อทั้งสุขภาพ สุขภาพจิต และพลังสมองของเด็กๆ เพราะการที่เด็กนักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าอย่างเพียงพอและมีคุณภาพมีสมาธิ และสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดีกว่าเด็กที่ไม่กินอาหารเช้าและจะทำให้เป็นเด็กฉลาดและเก่งขึ้นซึ่งสอดคล้องกับราชกิจจานุเบกษา ประกาศคณะอนุกรรมการและป้องกันโรคภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องบริการสาธารณสุขของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2557 กิจกรรมบริการสาธารณสุขกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ตามประกาศแนบท้าย ลงวันที่ 28 มีนาคม 2557 ข้อ 3 กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน และระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครยะลา เรื่องการดำเนินงานบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น หรือพื้นที่ พ.ศ. 2559 ข้อ (1) ดังนั้น อาหารมื้อเช้าจึงเป็นอาหารมื้อแรกของวันที่สมควรได้รับแต่ด้วยปัจจุบันการใช้ชีวิตที่เร่งรีบของผู้ปกครองและนักเรียน ทำให้อาหารเช้ากลับกลายเป็นอาหารมื้อที่ถูกละเลยมากที่สุด เนื่องจากผู้ปกครองรีบไปทำงานมื้อเช้าของเด็กๆคือขนมจากร้านค้าใกล้บ้าน ซึ่งไม่มีประโยชน์และไม่เหมาะสำหรับเด็กวัยเจริญการเติบโตทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องภาวะโภชนาการที่ไม่สมวัย และขาดสารอาหารสำคัญมื้อแรกจากปัญหาดังกล่าว สถานศึกษาจึงเห็นความสำคัญในเรื่องของสุขภาพอนามัย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของนักเรียนทุกคน ให้มีคุณภาพด้านร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ที่ดี
จากข้อมูลผลการดำเนินงานการประเมินภาวะโภชนาการในโรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเมืองยะลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 มีเด็กนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 6 ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการทั้งหมด 191 คน แยกเป็นเด็กปฐมวัยอายุ 0-5 ปี ที่ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการทั้งหมด 73 คน คิดเป็นร้อยละ 38.22 พบว่าเด็กมีสูงดี-สมส่วน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 53.42 (เกณฑ์ สูงดี-สมส่วน ร้อยละมากกว่า 64) ภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 15.07 ซึ่งสามารถแยกเป็น 3 กลุ่ม คือ ผอม 3 คน คิดเป็นร้อยละ 4.11 (เกณฑ์ผอมร้อยละน้อยกว่า 5) อ้วน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.37 (เกณฑ์อ้วนร้อยละน้อยกว่า 9) และเตี้ย 7 คน คิดเป็นร้อยละ 9.59 (เกณฑ์เตี้ย ร้อยละน้อยกว่า 10) เด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ท้วม 9 คน คิดเป็นร้อยละ 12.33 ค่อนข้างผอม 7 คน คิดเป็นร้อยละ 9.59 และค่อนข้างเตี้ย 7 คน คิดเป็นร้อยละ 9.59 และเด็กประถมศึกษา อายุ 6-18 ปี ที่ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการทั้งหมด 91 คน คิดเป็นร้อยละ 47.64 พบว่าเด็กมีสูงดี-สมส่วน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 61.54 (เกณฑ์สูงดี-สมส่วน ร้อยละมากกว่า 65) ภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 21.97 ซึ่งสามารถแยกเป็น 3 กลุ่ม คือ ผอม 3 คน คิดเป็นร้อยละ 30.29 (เกณฑ์ผอมร้อยละ น้อยกว่า 5) อ้วนและเริ่มอ้วน 13 คน ร้อยละ 14.29 (เกณฑ์อ้วนและเริ่มอ้วนร้อยละน้อยกว่า 10)และเตี้ย 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3.29 (เกณฑ์เตี้ยร้อยละน้อยกว่า 5) เด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง จำนวน 16 คน เช่น ท้วม 5 คน คิดเป็นร้อยละ 5.49 ค่อนข้างผอม 8 คนคิดเป็นร้อยละ 8.79 และค่อนข้างเตี้ย 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3.30 ส่วนข้อมูลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเมืองยะลา อายุ 0-5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการทั้งหมด 27 คน พบว่าเด็กมีสูงดี-สมส่วน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 59.26 (เกณฑ์ สูงดี-สมส่วน ร้อยละมากกว่า 64) ภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 5 คน คิดเป็น ร้อยละ 18.52 ซึ่งสามารถแยกเป็น 3 กลุ่ม คือ ผอม 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 (เกณฑ์ผอมร้อยละน้อยกว่า 5) อ้วน 3 คน ร้อยละ 11.11 (เกณฑ์อ้วนร้อยละน้อยกว่า 9) และเตี้ย 2 คน ร้อยละ 7.41 (เกณฑ์เตี้ยร้อยละน้อยกว่า 10) และเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง จำนวน6 คน คิดเป็นร้อยละ 22.22 เช่น ท้วม 4 คน คิดเป็นร้อยละ 14.81 ค่อนข้างผอม 2 คน คิดเป็นร้อยละ 7.41 และค่อนข้างเตี้ย 0 ซึ่งจะเห็นได้ว่าภาวะสูงดี-สมส่วน ทุกกลุ่มอายุไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน และมีภาวะทุพโภชนาการประเภทขาด (ผอม เตี้ย) และเกิน (อ้วน เริ่มอ้วน) จากการดำเนินงานโครงการอิ่มท้อง สมองใส โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเมืองยะลา ประจำปี พ.ศ. 2563 โดยการจัดอาหารเช้าให้เด็ดที่มีภาวะทุพโภชนาการแบบขาด (ผอม เตี้ย) เด็กทุกคนมีน้ำหนักและส่วนสูงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 100 ส่งผลให้กลุ่มเด็กสูงดี-สมส่วน ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 86.66 (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ 64) ดังนั้นโรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวในข้างต้น จึงจัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันภาวะทุพโภชนาการนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเมืองยะลา ประจำปี 2565 ขึ้น เพื่อให้เด็กนักเรียนที่ปัญหาทุพโภชนาการในโรงเรียนได้รับประทานอาหารเช้าที่มีสารอาหารครบทุกหมู่ เพื่อสุขภาพและร่างกายเจริญเติบโตสมวัย มีสมาธิเกิดความพร้อมในการเรียนรู้ สู่การเป็นเด็กที่มีสมาธิปัญญาฉลาดสมวัย ต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. 1 เพื่อให้นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณภาพ มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณภาพ มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่ ทุกคน
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 100.00
  • 2. เพื่อให้นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการมีภาวะโภชนาการสมวัย มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีภาวะโภชนาการสมวัย และมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์ มาตรฐาน
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 80.00
  • 3. เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญในการบริโภคอาหารมื้อเช้า
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 85 ของผู้ปกครองและนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญในการบริโภคอาหารมื้อเช้า
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 85.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้โภชนาการสมวัย
    รายละเอียด

     

    งบประมาณ 18,802.00 บาท
  • 2. กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการ
    รายละเอียด

     

    งบประมาณ 40,500.00 บาท
  • 3. กิจกรรมที่ 3 ติดตามประเมินผลภาวะโภชนาการสมวัย (น้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน)
    รายละเอียด

     

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 4. กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงาน
    รายละเอียด

     

    งบประมาณ 500.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 6 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565

8.
สถานที่ดำเนินการ

โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา)

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 59,802.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่
  2. นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์ มาตรฐาน
  3. นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสุขนิสัยในการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา รหัส กปท. L7452

อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565
เรียน ประธานกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา รหัส กปท. L7452

อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 59,802.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................