กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

ตำบลนาหว้า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

 

32.30
2 จำนวนหน่วยงาน/องค์กรที่มีนโยบายจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

 

2.00
3 ร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาขยะ

 

68.60

ปัจจุบันปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือในการแก้ไขกันอย่างเต็มความสามารถเพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนทุกระดับและนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรตลอดจนพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคของคนเราได้เปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยใช้ตะกร้าเวลาไปจ่ายตลาด ใช้ปิ่นโตใส่อาหาร ใช้ใบบัวหรือใบตองห่ออาหาร แต่ปัจจุบันมีการใช้สินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์จำพวกพลาสติก โฟม แก้ว กระดาษโลหะ อลูมิเนียมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดมูลฝอยสูงขึ้นตามไปด้วย ผลกระทบที่ตามมา มีทั้งความสูญเสียทางด้านสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ ดินเสื่อมสภาพ ความเสียหายจากเหตุรำคาญส่งกลิ่นเหม็นรบกวนรวมถึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์พาหนะนำโรค ความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ และสิ้นเปลืองงบประมาณของรัฐที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งประชาชนยังให้ความสนใจในการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพอนามัยไม่ดีเท่าที่ควร ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ที่มีปัญหาด้านสุขภาพอนามัยมักจะอยู่ในกลุ่มที่มีสถานะทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีพอ จึงทำให้เกิดโรคติดเชื้อทางอาหารและน้ำ เช่น โรคอุจจาระร่วง บิด อาหารเป็นพิษ ไทฟอยด์ และโรคที่เกิดจากสัตว์นำโรค เช่น โรคไข้เลือดออก เลปโตสไปโรซีส ปัญหาการเกิดโรคในชุมชนประกอบด้วยองค์ประกอบหลายด้าน เช่น สภาพแวดล้อมไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้มีแหล่งเพาะพันธุ์แมลงนำโรคและที่อยู่อาศัยสัตว์นำโรคกระจายอยู่ทั่วไป องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล พ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 มาตรา 67(2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล (3) การป้องกันและระงับโรคติดต่อ จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มร้อยละครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

ร้อยละครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะเพิ่มขึ้น

32.30 65.00
2 เพิ่มจำนวนหน่วยงาน/องค์กรที่มีนโยบายจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

จำนวนหน่วยงาน/องค์กรที่มีนโยบายจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)เพิ่มขึ้น

2.00 5.00
3 ลดร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาขยะ

ร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาขยะลดลง

68.60 51.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน 48
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก(อถล.) 12

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 26/09/2022

กำหนดเสร็จ 29/12/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเวทีคืนข้อมูลกับชุมชนเพื่อการจัดการขยะ

ชื่อกิจกรรม
การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเวทีคืนข้อมูลกับชุมชนเพื่อการจัดการขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดค่าใช้จ่าย

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

หมายเหตุ กลุ่มเป้าหมาย คือ กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน, ส.อบต., อสม., รพ.สต., รร., และผู้นำชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 กันยายน 2565 ถึง 26 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

การเข้าร่วมกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 2 การมีนโยบายสาธารณะหรือกติกาชุมชน (ธรรมนูญตำบลน่าอยู่)

ชื่อกิจกรรม
การมีนโยบายสาธารณะหรือกติกาชุมชน (ธรรมนูญตำบลน่าอยู่)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การมีกติกาหรือข้อตกลงของหมู่บ้าน เรื่อง การห้ามทิ้งขยะ เป็นต้น การมีแผนงานหรือโครงการเกี่ยวกับการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 กันยายน 2565 ถึง 28 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นโยบาย/ธรรมนูญตำบล/กติกาชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การจัดการขยะที่ต้นทาง

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การจัดการขยะที่ต้นทาง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดค่าใช้จ่าย

  • ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1x2.5 เมตรๆ ละ 150 บาท จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 375 บาท
  • ป้ายรณรงค์การจัดการขยะอย่างถูกวิธี ขนาด 1.2x2.4 เมตรๆ ละ 150 บาท จำนวน 7 ป้าย เป็นเงิน 3,024 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
12 ตุลาคม 2565 ถึง 12 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์
  • ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3399.00

กิจกรรมที่ 4 การพัฒนาทักษะการคัดแยกขยะที่ถูกต้องและปลอดภัยต่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาทักษะการคัดแยกขยะที่ถูกต้องและปลอดภัยต่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มที่ 1 การพัฒนาทักษะการจัดการขยะตามหลัก 7 R (Reduce Re-use Recycle Repair ) และความปลอดภัยในการคัดแยกขยะ แก่ประชาชนในครัวเรือน จำนวน 60 คน

รายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คนๆ ละ 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าเอกสาร/วัสดุประกอบการอบรม จำนวน 60 คนๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

กลุ่มที่ 2 การพัฒนาทักษะการจัดการขยะตามหลัก 7 R (Reduce Re-use Recycle Repair) และความปลอดภัยในการคัดแยกขยะแก่เยาวชนและนักเรียน จำนวน 50 คน

รายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คนๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าเอกสาร/วัสดุประกอบการอบรม จำนวน 50 คนๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
19 ตุลาคม 2565 ถึง 15 พฤศจิกายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • จำนวนผู้เข้าอบรม
  • ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการขยะได้ถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15950.00

กิจกรรมที่ 5 การมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
การมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ก. จัดตั้งครอบครัวต้นแบบจัดการขยะเปียก รายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • ค่าจัดซื้อถังขยะเปียก (ถังน้ำพร้อมตัดก้น) ขนาด 30 ลิตร จำนวน 60 ถังๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท
  • ค่าจัดซื้อหัวเชื้อ EM ขนาด 1 ลิตร จำนวน 60 ขวดๆ ละ 95 บาท เป็นเงิน 5,700 บาท
  • การจัดทำ MOU ระหว่างครัวเรือนในพื้นที่ตำบลนาหว้า กับ อบต.นาหว้า

ข. จัดตั้งครัวเรือนต้นแบบจัดการขยะแบบครบวงจร (น่าบ้านน่ามอง)

อบรมอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก(อถล.) ในการเฝ้าระวัง ปกป้องและการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ จำนวน 80 คน

รายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะกรรมการประเมินครัวเรือนและโรงเรียน จำนวน 13 คนๆ 6 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,950 บาท
  • ค่าตอบแทนกรรมการตัดสินคัดเลือกบ้านต้นแบบฯ จำนวน 13 คนๆ ละ 6 วันๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 15,600 บาท
  • ค่าป้ายขนาด 0.45x0.60 เมตรๆ ละ 2,000 บาท จำนวน 60 ป้ายเป็นเงิน 32,400 บาท
  • การจัดทำ MOU ระหว่างครัวเรือนในพื้นที่ตำบลนาหว้า กับ อบต.นาหว้า
ระยะเวลาดำเนินงาน
19 ตุลาคม 2565 ถึง 19 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • จำนวนครัวเรือนต้นแบบ
  • ครัวเรือนมีการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
49950.00

กิจกรรมที่ 6 การพัฒนาระบบและกลไกด้านการจัดการขยะ

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาระบบและกลไกด้านการจัดการขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • การจัดตั้งธนาคารขยะชุมชน หรือ ธนาคารขยะในหน่วยงาน
  • กลไกสภาเยาวชนจัดการขยะในชุมชน
  • การมีกลไกเฝ้าระวังจุดเสี่ยงต่อการทิ้งขยะสมสมในชุมชน เช่น ที่รกร้างว่างเปล่า ที่ลับตาผู้คน ที่ดินซึ่งมีการนำสิ่งของมาทิ้งประจำ เป็นต้น
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 ธันวาคม 2565 ถึง 15 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 70,799.00 บาท

หมายเหตุ :
*** ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ ***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ชุมชนสะอาด ประชาชนปลอดภัย และมีการจัดการขยะแบบมส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนปัญหาขยะลดลง


>