กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้การดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ชุมชนตลาด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านชุมชนตลาด

1.นางสาวกฤษณญาณี จันทศร
2.นางสาวดรรชนีเศษแอ
3.นางขวัญตา หีมปอง
4.นางอรอุมา ชำนาญ
5.นางสาวกรองจิตนาคบรรพ์

ชุมชนตลาด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)โดยมีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชากรประเทศที่มีผู้ติดเชื้อใช้มาตรการปิดเมืองปิดพื้นที่รณรงค์ให้อยู่บ้านปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยและรักษาระยะห่างทางสังคมซึ่งทำให้ประชาชนจำเป็นต้องทำกิจกรรมต่างๆที่บ้านหรือภายในบริเวณที่พักอีกทั้งยังเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตตามความปกติใหม่ (newnormal)เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19อีกครั้งปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นคือ ประชากรกำลังประสบกับความเครียดและเริ่มไม่เข้มงวดกับการปฏิบัติตามมาตรการซึ่งหากไม่มีการเข้าไปแทรกแซงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคอีกครั้งและก่อให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรงต่อระบบเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนมากกว่าครั้งแรก
ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19ที่ไม่มีทีท่าว่าจะจบลงใครที่ยังปลอดภัยไม่ติดเชื้อก็ต้องระมัดระวังส่วนใครที่ติดเชื้อไปแม้จะรักษาตัวจนหายดีแล้วก็ยังไม่ควรการ์ดตกเพราะอาจติดเชื้อซ้ำก็เป็นได้นอกจากนี้ผู้ที่หายป่วยแล้วยังควรหมั่นสังเกตอาการของตนเองให้ดีเพราะมีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นLongCovid ได้อีกด้วยซึ่งถ้าเป็นแล้วอาจมีภาวะความผิดปกติที่ส่งผลให้คุณภาพชีวิตย่ำแย่ลงจนไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขในระยะยาว ดังนั้นอสม.ชุมชนตลาด จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้คนที่ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อได้ดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลสถานการณ์โควิด 19
  1. ประชาชนเข้าถึงข้อมูลสถานการณ์ของโรคโควิด 19 ร้อยละ 90
100.00 0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัตตนหลังป่วยโควิด

2.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการป้องกันตนเองร้อยละ 100

0.00
3 เพื่อลดอัตราผู้ป่วยหลังติดเชื้อโควิดลดลง

3.ประชาชนในพื้นที่ไม่มีผู้ป่วย ลองโควิด ร้อยละ 90

0.00
4 เพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการดูแลผู้ป่วย

4 มีวัสดุอุปกรณ์สำหรับดูแลแก่อสม.และประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ

100.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 58
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 11/08/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการอบรมให้ความรู้การดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ชุมชนตลาด

ชื่อกิจกรรม
โครงการอบรมให้ความรู้การดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ชุมชนตลาด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)          ขั้นตอนวางแผนงาน
      - วางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
      - จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
      - ติดต่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
      - จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงานตามโครงการ         ขั้นตอนการดำเนินงาน
      - จัดอบรมให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมาย
      - สรุปผลการดำเนินงาน กิจกรรมหลักและกิจกรรมย่อย 1 อบรมให้ความรู้ 1. ค่าวิทยากร 6 ชม.ๆละ 300 บาท  เป็นเงิน 1,800  บาท 2. ค่าอาหารว่าง 58  คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน  2,900 บาท 3. ค่าอาหารกลางวัน 58  คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน  2,900 บาท 4. ค่าป้ายไวนิล  500  บาท 5. อุปกรณ์สาธิต เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วมือ  จำนวน  4  เครื่องๆละ  850 บาท  เป็นเงิน 3,400  บาท 6. เจลล้างมือ  39   ขวดๆละ  85 บาท  เป็นเงิน  3,315  บาท 7. ถุงมือ  1 กล่องๆละ  250 บาท  เป็นเงิน 250  บาท 8. หน้ากากอนามัย  72   กล่องๆ  65  บาท   เป็นเงิน  4,680  บาท 9. ค่าถ่ายเอกสารที่ใช้ในโครงการ  เป็นเงิน  255  บาท หมายเหตุ ทุกรายการถั่วเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ      1. ประชาชนในชุมชนเข้าถึงข้อมูลสถานการณ์ของโรคโควิด 19      2. ประชาชนมีความรู้  ความเข้าใจในการปฏิบัติตนหลังป่วยโควิด      3. อัตราผู้ป่วยหลังติดเชื้อโควิดลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ประชาชนในชุมชนเข้าถึงข้อมูลสถานการณ์ของโรคโควิด 19
2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตนหลังป่วยโควิด
3. อัตราผู้ป่วยหลังติดเชื้อโควิดลดลง


>