กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาและส่งเสริมพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาผดุงประชายะลา ประจำปี 2565 (ประเภทที่ 2)

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาและส่งเสริมพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาผดุงประชายะลา ประจำปี 2565 (ประเภทที่ 2)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

วิทยาลัยอาชีวศึกษาผดุงประชายะลา

วิทยาลัยอาชีวศึกษาผดุงประชายะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
“วัยรุ่น” เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม วัยรุ่นเริ่มมีความสนใจเพศตรงข้าม และเกิดอารมณ์ความต้องการทางเพศตามธรรมชาติ ร่วมกับบริบททางสังคมที่เข้าสู่ยุคเทคโนโลยีด้านสื่อสารต่าง ๆ ได้ง่าย สามารถกระตุ้นให้วัยรุ่นเกิดอารมณ์ทางเพศได้ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ซึ่งอาจจะชักนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ได้ และมีปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร การติดโรคทางเพศสัมพันธ์และการทำแท้งผิดกฎหมายก็จะตามมา
จากข้อมูลการสำรวจเด็ก 10-19 ปี ในสถานศึกษาจังหวัดยะลา จำนวน 772 คน ณ เดือนกันยายน 2564 พบว่าเรื่องความรอบรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต ด้านการเข้าถึงข้อมูล ร้อยละ 70.61 ด้านความเข้าใจ ร้อยละ 72.40 ด้านการซักถาม ร้อยละ 75.51 ด้านการตัดสินใจ ร้อยละ 74.94 ด้านการเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 82.12 และเรื่องทักษะชีวิตในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงและลดการใช้ความรุนแรง ด้านการตัดสินใจ ร้อยละ 56.68 ด้านการแก้ปัญหา ร้อยละ 76.37 ด้านการคิดสร้างสรรค์ ร้อยละ 80.11 ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ร้อยละ 75.31 ด้านการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 76.62 ด้านการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ร้อยละ 81.08 ด้านการตระหนักรู้ในตน ร้อยละ 60.19 ด้านการเข้าใจผู้อื่น 80.61 ด้านการจัดการอารมณ์ ร้อยละ 56.74 ด้านการจัดการกับความเครียด ร้อยละ 60.87 ส่วนสถิติอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในเขตเทศบาลนครยะลา อายุ 10 - 14 ปี จำนวน 0 คน อัตรา 0.00 ต่อประชากรหญิงวัยเดียวกันพันคนต่ำกว่าเกณฑ์ ตั้งครรภ์ อายุ 15 - 19 ปี จำนวน 30 คน อัตรา 15.33 ต่อประชากรหญิงวัยเดียวกันพันคน ตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี จำนวน 41 คน ร้อยละ 18.81 (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา, 2564)
จากผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาและส่งเสริมพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของ นักศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาผดุงประชายะลา ปีการศึกษา 2563 พบว่า นักเรียน นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องเพศศึกษาและอนามัยวัยเจริญพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 96.67 มีความรู้เรื่องการให้คำปรึกษาเบื้องต้น คิดเป็นร้อยละ 98.33 และจากการเปรียบเทียบสถิตินักเรียน นักศึกษาที่ตั้งครรภ์จากปีการศึกษา 2562 จำนวน 3 คนปีการศึกษา 2563 ไม่มีนักเรียน นักศึกษา ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ คิดเป็นร้อยละ 100 จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า การจัดโครงการพัฒนาและส่งเสริมพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาผดุงประชายะลา ส่งผลให้นักเรียน นักศึกษามีภูมิรู้ ภูมิป้องกัน ตระหนักถึงปัญหาการมีพฤติกรรมเสี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการระบาดของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น วิทยาลัยฯ จึงได้จัดโครงการพัฒนาและส่งเสริมพฤติกรรมทางเพศ ที่พึงประสงค์ของนักศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาผดุงประชายะลา ประจำปี 2565 ขึ้น เพื่อเฝ้าระวังปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นและเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและพฤติกรรมทางเพศที่ถูกต้องและเหมาะสมในวิทยาลัยอาชีวศึกษาผดุงประชายะลา อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลต่อสภาวะสุขภาพที่พึ่งประสงค์ของวัยรุ่นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษาในสถานศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม
  1. ร้อยละ 80 ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมเพิ่มขึ้น หลังการอบรม
80.00
2 2. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษาในสถานศึกษามีทักษะและพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ในการป้องกันตนเอง ให้ปลอดภัยจากการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  1. นักศึกษาที่ผ่านการอบรมสามารถตอบคำถามจากการซักถามจากวิทยากรด้านทักษะและพฤติกรรมได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 (ผ่าน 8 ข้อใน 10 ข้อ)
80.00
3 3. เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในกลุ่มวัยรุ่น
  1. สถิตินักศึกษาที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์มีจำนวนลดลง ร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับปีการศึกษาที่ผ่านมา
  2. นักเรียน นักศึกษา มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมในโครงการ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 85
80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/07/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานครู อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ จำนวน 20 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานครู อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ จำนวน 20 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 สิงหาคม 2565 ถึง 15 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “You are Super teen” จำนวน 1 วัน ให้แก่นักศึกษาในสถานศึกษา จำนวน 2 รุ่นๆ ละ 100 คน คณะทำงาน ครู อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ จำนวน 20 คน รวมจำนวนทั้งหมด 240 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “You are Super teen” จำนวน 1 วัน ให้แก่นักศึกษาในสถานศึกษา จำนวน 2 รุ่นๆ ละ 100 คน คณะทำงาน ครู อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ จำนวน 20 คน รวมจำนวนทั้งหมด 240 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 สิงหาคม 2565 ถึง 29 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
53440.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 54,040.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนนักศึกษากลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ ความเข้าใจเรื่องเพศไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างถูกต้องและเหมาะสม
2. นักเรียน นักศึกษากลุ่มเป้าหมายในสถานศึกษามีทักษะและพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ในการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
3. มีระบบการให้คำปรึกษา ดูแลช่วยเหลือ และส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


>