กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาปะขอ ประจำปี พ.ศ. 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.นาปะขอ

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.นาปะขอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ (ปีที่ผ่านมา)

 

4.00
2 ร้อยละเงินคงเหลือสะสมของกองทุนสุขภาพตำบล(เงินคงเหลือเทียบกับรายรับปีล่าสุด)

 

93.48
3 จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)

 

17.00
4 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน)

 

21.00
5 จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่สามารถรับงบประมาณ (กลุ่ม/หน่วยงาน)

 

6.00
6 ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในปีงบประมาณ

 

0.00

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. ๒๕61 ข้อ 10 (๔) เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่เกินร้อยละ ๑๕ ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ละปีงบประมาณนั้น หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดได้รับเงินเพิ่มจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในส่วนค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอาจสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้อีกไม่เกินร้อยละ 5 กรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อจัดหาครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ให้สนับสนุนได้ในวงเงินตามความจำเป็น และครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ให้เป็นทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นกลไกสำคัญต่อความสำเร็จของการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพราะคณะกรรมการเป็นบุคคลสำคัญในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชน ที่จะทำให้เกิดการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนและเรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาการดำเนินงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดีทั้งกายและจิตดังนั้นคณะกรรมการจึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาความรู้ สร้างจิตสำนึกร่วมกัน ร่วมเป็นเจ้าของและร่วมกันบริหารจัดการกองทุน คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ควรได้รับการพัฒนาศักยภาพในการพัฒนาการบริหารจัดการกองทุนมีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ มีวิสัยทัศนคติเชิงบวกต่อการดำเนินงานกองทุนเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้โอกาสในการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างเสมอภาค เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นร่วมตัดสินใจ มีการตรวจสอบและให้เข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดโครงสร้างของคณะกรรมการให้ทุกภาคส่วนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมบริหารจัดการอยู่แล้ว
แผนสุขภาพชุมชน หมายถึง แผนงานด้านสุขภาพของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน เป็นกระบวนการที่ชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมค้นหา ร่วมเรียนรู้ ร่วมกำหนดทิศทาง ร่วมจัดกิจกรรมการพัฒนาและร่วมรับผลประโยชน์ โดยเริ่มจากการคัดเลือกแกนนำ การทบทวนงานในอดีตเพื่อกำหนดอนาคต การสำรวจข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สภาพปัญหา การประเมินศักยภาพของชุมชน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือให้เกิดการทบทวนตนเอง โดยคำนึงถึงศักยภาพ ทรัพยากร ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมในชุมชน รวมทั้งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตามศักยภาพของชุมชน กระตุ้นประชาชนให้เกิดความกระตือรือร้นในการพัฒนาชุมชนของตนเอง ตลอดจนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมด้านสุขภาพ และร่วมติดตามประเมินผลโดยสามารถขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกได้ และเนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านพฤติกรรมของบุคคลที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายๆด้านที่ผสมผสานกัน อันได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลที่มาจากพันธุกรรม เจตคติ ความรู้ และความเข้าใจ ปัจจัยด้านครอบครัว ชุมชน สังคม ที่มีสาเหตุมาจากสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิต ซึ่งการแก้ไขจะต้องใช้กลวิธีการดำเนินงานในหลายวิธี และใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง โดยอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนและบุคคลที่เป็นเจ้าของสุขภาพ
ดังนั้นเพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาปะขอเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจึงได้จัดโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาปะขอขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ(คน)

21.00 21.00
2 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน

กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า 90 %

93.48 20.00
3 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล

จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ(กลุ่ม/หน่วยงาน)

6.00 8.00
4 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล

จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ(กลุ่ม/หน่วยงาน)

6.00 8.00
5 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่ดีและมีรายงานผลการดำเนินงานดี

จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)

17.00 20.00
6 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการ ที่มีการส่งผลงานและส่งรายงาน ตรงตามเวลา

ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในกำหนด เพิ่มขึ้น

0.00 20.00
7 เพื่อให้มีประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

4.00 4.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 21

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/07/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะกรรมการบริหาร กองทุนฯ และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมคณะกรรมการบริหาร กองทุนฯ และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ จำนวน 4 ครั้ง ๆ 21 คน ๆ ละ ๒๕ บาท เป็นเงิน  2,100.-บาท
  • ค่าตอบแทนในการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ                     จำนวน 4 ครั้ง ๆ 21 คน ๆ ละ 3๐๐ บาท เป็นเงิน  25,200.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27300.00

กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการประชุมคณะอนุกรรมการฯ จำนวน 2 ครั้ง ๆ 10 คน ๆ ละ ๒๕ บาท เป็นเงิน 500.-บาท
  • ค่าตอบแทนในการประชุมคณะอนุกรรมการฯ จำนวน 2 ครั้ง ๆ 10 คน ๆ ละ 3๐๐ บาท เป็นเงิน  6,000.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6500.00

กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ และผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ และผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและวิทยากร จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 60 บาท จำนวน  25 คน เป็นเงิน  1,5๐๐.-  บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรมและวิทยากร จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท  จำนวน  25 คน เป็นเงิน  1,25๐.-  บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน 3,6๐๐.-  บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารคู่มือปฏิบัติงานกองทุนฯ พร้อมเข้าเล่ม (ปกสี) จำนวน 25 ชุด ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน    3,75๐.-  บาท
  • ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.2 x 2.4 ตารางเมตร จำนวน 1 ป้าย ตารางเมตรละ 200 บาท เป็นเงิน  576.-  บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม ได้แก่ ปากกา สมุดโน้ต    เป็นเงิน   2,000.-  บาท
  • ค่ากระเป๋าเอกสารพร้อมสกรีน จำนวน 25 ใบ ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 5,000.-บาท
  • ค่าจ้างเหมาพาหนะ เป็นเงิน 9,000.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26676.00

กิจกรรมที่ 4 จัดอบรมการจัดทำแผนสุขภาพชุมชนและแผนปฏิบัติการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมการจัดทำแผนสุขภาพชุมชนและแผนปฏิบัติการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและวิทยากร จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 60 บาท จำนวน  40 คน เป็นเงิน     2,400.-  บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรมและวิทยากร จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท จำนวน 40 คน เป็นเงิน     2,000.-  บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน 3,6๐๐.-  บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 2.4 ตารางเมตร จำนวน 1 ป้าย ตารางเมตรละ 200 บาท
    เป็นเงิน  576.-  บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม ได้แก่ ปากกา สมุดโน้ต กระดาษบรู้ฟ ปากกาเคมี ฯลฯ  เป็นเงิน    3,000.-  บาท
  • ค่ากระเป๋าเอกสารพร้อมสกรีน จำนวน 40 ใบ ๆ ละ 200 บาทเป็นเงิน 8,000.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19576.00

กิจกรรมที่ 5 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม/อบรม/สัมมนา ของคณะกรรมการ ที่ปรึกษา อนุกรรมการ คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม/อบรม/สัมมนา ของคณะกรรมการ ที่ปรึกษา อนุกรรมการ คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม/อบรม/สัมมนา ของคณะกรรมการ ที่ปรึกษา อนุกรรมการ คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25000.00

กิจกรรมที่ 6 ค่าจัดซื้อ/จัดจ้าง วัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงานกองทุนฯ ได้แก่ เครื่องบันทึกเสียงประชุม ชั้นวางเอกสาร ปากกา กระดาษ A4 ตรายาง ปากกา ฯลฯ

ชื่อกิจกรรม
ค่าจัดซื้อ/จัดจ้าง วัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงานกองทุนฯ ได้แก่ เครื่องบันทึกเสียงประชุม ชั้นวางเอกสาร ปากกา กระดาษ A4 ตรายาง ปากกา ฯลฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าจัดซื้อ/จัดจ้าง วัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงานกองทุนฯ ได้แก่ เครื่องบันทึกเสียงประชุม ชั้นวางเอกสาร ปากกา กระดาษ A4 ตรายาง ปากกา ฯลฯ

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 130,052.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. คณะกรรมการกองทุนคณะอนุกรรมการคณะทำงานและแกนนำสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุน
2. แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
2. การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนฯ เป็นไปตามหลัก
เกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
4. กองทุนฯ มีแผนสุขภาพชุมชนและแผนปฏิบัติการ เพื่อใช้เป็นแนวทางการบริหารกองทุนฯ
5. กองทุนฯ มีวัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานที่จำเป็นและเพียงพอต่อการทำงาน


>