กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะกำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยสุขภาพดีโภชนาการสมส่วนห่างไกลโรคภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะกำ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดสะกำ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดสะกำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ภาวะโภชนาการเป็นดัชนีบ่งชี้ภาวะสุขภาพโดยรวมของเด็ก และเป็นต้นทุนสำคัญสำหรับการพัฒนาเด็กให้เจริญเติบโตเต็มตามศักยภาพ และการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อให้เด็กมีสุขภาพดี และมีเชาวน์ปัญญาที่พร้อมจะเรียนรู้ ฝึกฝนทักษะ สะสมประสบการณ์เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในพื้นที่ชายแดนที่มีปัญหาความไม่สงบ มักพบเด็กขาดสารอาหาร ถึงร้อยละ 35 ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้(พัฒนาการเด็กปฐมวัย รากแก้วแห่งชีวิต) โภชนาการมีผลต่อการพัฒนาโครงสร้างของสมอง การสร้างฉนวนหุ้มเส้นประสาท และจำนวนปลายประสาทสัมผัส ภาวะขาดสารอาหาร จึงมีผลเสียต่อพัฒนาการด้านสติปัญญา นอกจากนั้นภาวะขาดสารอาหารจะทำให้เด็กเคลื่อนไหวได้น้อยลง เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ของเด็ก ส่งผลให้เด็กไม่สามารถพัฒนาระดับสติปัญญาได้เต็มศักยภาพของตน ช่วงวัยสำคัญที่สุดสำหรับเด็กคือช่วงนับจากในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 2-๕ ปีแรก เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการรุนแรงจนเตี้ยแคระแกร็นในช่วง 2 ขวบแรกส่งผลต่อระดับไอคิวเมื่อโตขึ้น และส่งผลต่อเนื่องต่อระดับไอคิว มีสมาธิสั้น ความสามารถในการเรียนรู้และสติปัญญาต่ำลง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กร่วมกับครอบครัวจึงควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กอย่างจริงจัง โดยสนับสนุนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในการเลี้ยงดูเด็กไทยให้เติบใหญ่แข็งแรง มีสุขภาพดี และมีเชาวน์ปัญญาที่พร้อมจะเรียนรู้ เด็กที่เป็นอนาคตของชาติจึงสมควรได้รับอาหารและโภชนาการที่ถูกต้องนับแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดาต่อเนื่องจนเติบใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงโอกาสทอง 3 ปีแรก
ดังนั้น การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่เด็ก จึงเป็นภารกิจสำคัญที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรคำนึงถึง และร่วมมือประสานการดำเนินงานด้านการเฝ้าระวังป้องกันและส่งเสริมสุขภาพของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กซึ่งเป็นสถานที่ ที่ผู้ปกครองให้ความไว้วางใจเอาเด็กมาเรียนที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จึงจำเป็นที่ผู้เกี่ยวข้องต้องส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้องเอาใจใส่ในเรื่อง การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคในสถานที่ดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง จากการจัดโครงการที่ผ่านมา ปรากฏว่ายังมีเด็กมีภาวะโภชนาการที่ต่ำกว่าเกณฑ์จำนวน ๒๐ ราย จึงมีความจำเป็นต้องจัดโครงการหนูน้อยสุขภาพดีโภชนาการสมส่วนห่างไกลโรคภัย ประจำปี 2565 เพื่อให้เด็กมีภาวะตามเกณฑ์ปกติ ปัจจุบันศูนย์พัฒนาเด็กมัสยิดสะกำตำบลสะกำ อำเภอมายอ จังหวัดปััตตานี ซึ่งครูผู้ดูแลเด็กได้ประเมินภาวะโภชนาการโดยใช้เกณฑ์น้ำหนักเทียบอายุ ส่วนสูงเทียบอายุ และน้ำหนักเทียบส่วนสูงพบว่าเด็กมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ๒๐ คน จากเด็กทั้งหมด ๑๐๙คน คิดเป็นร้อยละ ๑๙ ซึ่งตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้มีไม่เกินร้อยละ 7 และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดสะกำ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กดังกล่าวซึ่งผลกระทบต่อพัฒนาการเด็ก ให้เด็กเติบโตเต็มศักยภาพ มีสุขภาพดีและมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยพร้อมที่จะเรียนรู้ ฝึกฝนทักษะ สะสมประสบการณ์เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ จึงจัดทำโครงการหนูน้อยสุขภาพดีโภชนาการสมส่วน ประจำปี 2565 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองครูผู้ดูแลเด็กผู้ที่รับผิดชอบ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจและให้ความสำคัญในการปฏิบัติตนด้านภาวะโภชนาการและการส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้อง

 

0.00
2 2. เพื่อเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ และลดปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพัฒนาการเด็ก

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 20
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมฝึกอบรม

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมฝึกอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินความรู้ผู้เข้าอบรมก่อนและหลังอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการเฝ้าระวัง ประเมิน ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย แก่ผู้เข้าร่วมอบรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการเฝ้าระวังฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17400.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมสาธิตการประกอบอาหารให้กับผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมสาธิตการประกอบอาหารให้กับผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การสาธิตการปรุงอาหารที่ส่งเสริมสุขภาพร่างการของเด็กผฐมวัย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถนำเมนูอาหารไปประยุกใช้ในชีวิตประจำวันได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
615.00

กิจกรรมที่ 3 การเพิ่มมื้ออาหารเช้า เพื่อเสริมสร้างภาวะโภชนาการสำหรับเด็กที่มีปัญหาภาวะ โภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
การเพิ่มมื้ออาหารเช้า เพื่อเสริมสร้างภาวะโภชนาการสำหรับเด็กที่มีปัญหาภาวะ โภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กปฐมวัยมีโภชนาการที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,015.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. พ่อแม่ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กผู้ที่รับผิดชอบที่เข้าร่วมโครงการ สามารถปฏิบัติตนในการส่งเสริมสุขภาพและดูแลภาวะโภชนาการเด็กได้อย่างถูกวิธี
2. เด็กมีสุขภาพที่ดีขึ้นและมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยได้ตามเกณฑ์อายุ


>