กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่ไม่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ปีงบประมาณ2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุและผู้พิการตำบลโคกชะงาย

1.นายนิตย์ ขวัญพรหม

2.นางสาวกาญจนา กาญจนสิงห์

3.นางหนูอั้น ไข่ทอง

4.นางอุไร พงศ์จันเสถียร

5.นายชรินทร์ หนูเกื้อ

ตำบลโคกชะงายอำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุที่ไม่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง

 

23.66
2 จำนวนผู้สูงอายุในตำบลโคกชะงาย

 

260.00

คนไทยมีอายุยืนยาวขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมาและสังคมไทยได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วและจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วคาดว่าอีกยี่สิบปีข้างหน้าเราจะมีผู้สูงอายุถึงหนึ่งในสี่ของประชากรดังนั้นผู้สูงอายุจะเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศไทยมากขึ้นทุกขณะ เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขทำให้ประชากรมีอายุขัยยืนยาวขึ้นจำนวน ผู้สูงอายุจึงเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ จากภาวะนี้ทำให้หลายประเทศในโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วยที่มีความตื่นตัวและเตรียมการเพื่อรองรับและให้การดูแลประชากรกลุ่มนี้มากขึ้น การดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุนับว่าเป็นภารกิจที่สำคัญสำหรับครอบครัว ชุมชน และสังคมโดยรวม เพื่อให้เกิดการดูแล เอื้ออาทรแก่ผู้สูงอายุซึ่งนับว่าเป็นผู้ที่ทำคุณประโยชน์แก่ครอบครัว ชุมชนและสังคมมาก่อน จนถึงวัยที่ผู้สูงอายุสมควรได้รับการตอบแทน โดยการดูแล และห่วงใยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ มีลักษณะโดยรวมเหมือนกันในทุกคน ทุกเชื้อชาติ ศาสนา เพียงแต่ระยะเวลาความช้าหรือเร็วของการเข้าสู่ความชราจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น สิ่งแวดล้อม การดูแลสุขภาพ พันธุกรรม และภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตามความสูงวัยย่อมเกิดอย่างแน่นอนเพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น ความสูงวัยนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง ๓ ด้านใหญ่ๆในผู้สูงอายุ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดคือการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ และสังคมก็มีความสำคัญ ซึ่งตัวผู้สูงอายุเองและบุคคลรอบข้างก็ควรให้ความสนใจการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ด้วยการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายในผู้สูงอายุมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไปและเป็นการเปลี่ยนแปลงใน ทาง เสื่อมสภาพการทำงานของระบบต่างๆของร่างกายลง การดูแลผู้สูงอายุซึ่งทำโดยตัวผู้สูงอายุและครอบครัวจึงควรเป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุคงไว้ซึ่งความสามารถทางด้านร่างกาย และส่งเสริมการทำงานของระบบ อวัยวะต่างๆของร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพดังนั้นในการดูแล การควบคุมและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีจึงควรมีการตรวจสุขภาพของผู้สูงอายุในระดับเบื้องต้นทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาวร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลโคกชะงายจึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังสุขภาพผู้สูงอายุโดยตรวจไขมันในเลือดผู้สูงอายุที่ไม่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง

ผู้สูงอายุที่ไม่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังได้รับการเฝ้าระวังสุขภาพโดยการเลือดเลือดหาระดับไขมันในเลือดทุกคน

260.00 260.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงจากการตรวจไขมันในเลือด ครั้งที่ 1

ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงจากการตรวจไขมันในเลือด ครั้งที่ 1 ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทุกคน

78.00 78.00
3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงจากการตรวจคัดกรองไขมันในเลือด ครั้งที่ 2 ได้รับการส่งต่อพบแพทย์ทุกคน

กลุ่มเสี่ยงจากการตรวจคัดกรองไขมันในเลือด ครั้งที่ 2 ได้รับการส่งต่อพบแพทย์ทุกคน

15.00 15.00
4 เพื่อลดอัตราป่วยใหม่ด้วยโรคไขมันไม่เกิน ร้อยละ 1.0

อัตราป่วยใหม่ด้วยโรคไขมันไม่เกิน ร้อยละ 1.0

2.10 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 260
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจคัดกรองไขมันในเลือด ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองไขมันในเลือด ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตรวจคัดกรองไขมันในเลือดผู้สูงอายุจำนวน 260 คน ๆ ละ 260บาท เป็นเงิน 57,200 บาท

2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้สูงอายุผุู้รับบริการตรวจไขมันและอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 260 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 6,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้สูงอายุที่ไม่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังได้รับบริการตรวจไขมันและอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพสร้างเสริมสุขภาพ ทุกคน-
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
63700.00

กิจกรรมที่ 2 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองไขมันครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองไขมันครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองไขมันครั้งที่ 1
    • อาหาร
    • ออกกำลังกาย
    • อารมณ์
    • งดสูบบุหรี่
    • งดสุรา
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองไขมันในเลือดครั้งที่ 1 ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทุกคน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจคัดกรองไขมันในเลือดกลุ่มเสี่ยงครั้งที่ 2 หลังจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองไขมันในเลือดกลุ่มเสี่ยงครั้งที่ 2 หลังจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ตรวจคัดกรองไขมันในเลือดกลุ่มเสี่ยงครั้งที่ 2 หลังจากได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพจำนวน 78 คนๆละ 220 บาท เป็นเงิน 17,160 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 มิถุนายน 2566 ถึง 9 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองไขมันในเลือดครั้งที่ 2 หลังจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ทุกคน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17160.00

กิจกรรมที่ 4 ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงจากการตรวจคัดกรองไขมันในเลือดครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงจากการตรวจคัดกรองไขมันในเลือดครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • กลุ่มเสี่ยงจากการตรวจคัดกรองไขมันในเลือดครั้งที่ 2 พบว่ายังมีความเสี่ยงได้รับการส่งต่อพบแพทย์
ระยะเวลาดำเนินงาน
7 กรกฎาคม 2566 ถึง 7 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเสี่ยงจากการตรวจคัดกรองไขมันในเลือดครั้งที่ 2 พบว่ายังมีความเสี่ยงได้รับการส่งต่อพบแพทย์ ทุกคน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามและประเมินผล (เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ)

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินผล (เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ติดตามและประเมินผลการเฝ้าระวังการสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลตนเอง ผู้สูงอายุที่ไม่ป่วนด้วยโรคเรื้อรัง
ระยะเวลาดำเนินงาน
14 กรกฎาคม 2566 ถึง 14 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้สูงอายุที่ไม่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังได้รับการตรวจคัดกรองไขมันในเลือดความรู้การสร้างเสริมสุขภาพ การดูแลตนเอง หากพบว่ามีความเสี่ยงได้รับการส่งต่อพบแพทย์ทุคน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 80,860.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุที่ไม่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังได้รับการเฝ้าระวังทางสุขภาพการสร้างเสริมสุขภาพทุกคน
2. อัตราป่วยใหม่ด้วยโรคไขมันในเลือดไม่เกิน ร้อยละ 1.00


>