กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพและคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นในผู้สูงอายุ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

ชมรมผู้สูงอายุตำบลบือมัง

1. นายอับดุลวาฮับดาแก2. นายมะยูนัน สาและ
3. สะมะแอปิระซอ 4. มะลีเพ็ง มะกี5.นายสะมะแอซอหะเตะ

ตำบลบือมัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

13.04
2 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

34.78

คุณภาพชีวิตเป็นเป้าหมายหลักของสังคมคือประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีทั้งร่างกายและจิตใจทุกเพศ ทุกวัย จากการศึกษาข้อมูลพบว่าประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและสัดส่วนต่อประชากร กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดนโยบายให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงตามวัย ขยายโอกาสดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่อง ในการเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุทุกคนตลอดจนบุคคลในครอบครัวและชุมชนเนื่องจากจำนวนและสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรค เรื้อรังหรืออุบัติเหตุ จึงน าไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพา ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อย ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแล เกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข ผู้สูงอายุจึงควรได้รับความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง มีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งจะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และมีความสุขในปั้นปลายของ
จากการสำรวจสมาชิกชมรมผู้สูงอายุตำบลบือมัง จำนวน230 รายจำนวนผู้มีโรคความดันโลหิตสูงประมาณ 80 คน คิดเป็นร้อยละ 34.78โรคเบาหวานประมาณ 30 รายคิดเป็นร้อยละ13.04 และผู้ป่วยติดเตียง 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.30 และมีปัญหาเกี่ยวกับช่องปากรวมทั้งในปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของโรคฝีดาบลิง จึงควรให้ความรู้ ความเข้าใจ และให้ความสนใจดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อให้มีร่างกายแข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถป้องกันการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งฟื้นฟู สุขภาพเมื่อมีภาวะของโรคและควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคมและมีความสุขในปั้นปลายชีวิต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สมาชิกผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

ร้อยละผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเพิ่มขึ้น

70.00
2 เพื่อให้สมาชิกผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณภาพ

ร้อยละสมาชิกผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณภาพเพิ่มขึ้น

0.00 90.00
3 เพื่อให้สมาชิกผู้สูงอายุเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับผู้สูงอายุ

สมาชิกผู้สูงอายุเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้เพิ่มขึ้น

75.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 31/08/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคฝีดาบลิง, การปฏิบัติตัวเรื่องการดูแลตนเองเมื่อมีภาวะเจ็บป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคฝีดาบลิง, การปฏิบัติตัวเรื่องการดูแลตนเองเมื่อมีภาวะเจ็บป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ (จำนวน 1 วัน จำนวน 150 คน)
1.ค่าวิทยากร 2 ท่าน จำนวน 6 ชั้วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 3600 บาท 2.ป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1x3 เมตร จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน900บาท 3.ค่าอาหารกลางวัน 1มื้อๆละ 60 บาท x 150 คน เป็นเงิน9,000 บาท 4.ค่าอาหารว่างจำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาทx 150 คน เป็นเงิน9,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 สิงหาคม 2565 ถึง 30 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง
ทั้งด้าน โภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมคัดกรองสุขภาพและกิจกรรมการออกกำลังกายที่ถูกวิธี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองสุขภาพและกิจกรรมการออกกำลังกายที่ถูกวิธี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมคัดกรองสุขภาพโดยการวัดความดันกิจกรรมออกกำลังกายให้ถูกวิธี - ค่าวิทยากร 1 ท่าน จำนวน 6 ชั้วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 1มื้อๆละ 60 บาท x 150 คน เป็นเงิน 9,000บาท - ค่าอาหารว่างจำนวน 2 มื้อๆละ 30 บาทx 150 คนเป็นเงิน 9,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 สิงหาคม 2565 ถึง 30 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้ผู้สูงอายุมีภูมิคุ้มกันและสามารถดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อ ดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 44,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สมาชิกผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
2. สมาชิกผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณภาพ
3. สมาชิกผู้สูงอายุได้รับการการเรียนรู้ในการใช้ชีวิตประจำวัน


>