กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากโรงเรียนบ้านรัดปูน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

โรงเรียนบ้านรัดปูน

1.นางเจียมจิตร์ แก้วเจริญ
2.นางเฉลิมวรรณ หาแก้ว
3.นางสาวซัลมา นิยมเดชา
4.นางนูรเดียนา เรี่ยวเส็ง

โรงเรียนบ้านรัดปูน หมู่ 2 ตำเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นปัญหาสำคัญที่พบในประชาชนทุกกลุ่มวัย การมีสุขภาพช่องปากที่ดีเป็นส่วนหนึ่งของการมีสุขภาพร่างกายที่ดี ช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิต เพราะเมื่อมีปัญหาสุขภาพช่องปากย่อมส่งผลต่อระบบอื่นๆ ของร่างกาย ซึ่งโรคฟันผุเป็นโรคที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็ก หากเกิดโรคฟันผุจะทำให้เด็กไม่สามารถบดเคี้ยวอาหารได้ อันจะส่งผลต่อสภาวะโภชนาการ การพัฒนาการด้านการเรียนรู้และพัฒนาการด้านบุคลิกภาพของเด็กเป็นอย่างมาก นอกจากนี้การพัฒนาการของโฆษณาขนมที่มีรสหวาน ซึ่งมีการผลิตในรูปแบบที่หลากหลาย ความเจริญ ทางการโฆษณามากขึ้น ส่งผลให้มีการบริโภคขนมหวานซึ่งมีส่วนประกอบของแป้งและน้ำตาลสูง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคฟันผุง่ายขึ้น เด็กประถมศึกษาถือเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก เพราะเป็นช่วงวัยที่เริ่ม มีการเปลี่ยนแปลงชุดฟันในช่องปากจากฟันน้ำนมเป็นฟันถาวร ฟันที่เริ่มขึ้นมาในช่องปาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟันกรามถาวรซี่แรกที่ขึ้นเมื่อเด็กอายุประมาณ 6 ปี จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุสูงมาก เพราะการสะสมแร่ธาตุที่ผิวฟันยังไม่สมบูรณ์ และเด็กยังไม่สามารถแปรงฟันได้อย่างมีคุณภาพ โรคฟันผุเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยใช้มาตรการการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ เช่น การใช้ฟลูออไรด์การใช้สารเคลือบหลุมร่องฟัน การแปรงฟัน เป็นต้น

จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านรัดปูน ปีที่ผ่านมา พบนักเรียนฟันผุ ร้อยละ 54 จากนักเรียนทั้งหมด 63 คน ซึ่งเกิดจากปัจจัยหลายๆ อย่าง ได้แก่ พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กที่ไม่ถูกวิธี เช่น การไม่ดื่มน้ำหลังจากการรับประทานอาหารและไม่แปลงฟันหลังรับประทานอาหารและก่อนเข้านอน ทั้งยังพบว่านักเรียนยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ในการดูแลสุขภาพช่องปาก และไม่เห็นความสำคัญต่อฟันและช่องปาก ทำให้เกิดฟันผุ เนื่องจากการแปลงฟันที่ไม่ถูกวิธี แปลงฟันไม่สะอาด ไม่ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟรูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุ หรือในบางรายไม่แปลงฟันทั้งตอนเช้าและก่อนนอน จึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆในช่องปากและฟัน

จากปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบ้านรัดปูน จึงได้จัดทำโครงการ ส่งเสริมสุขภาพช่องปากโรงเรียนบ้านรัดปูนขึ้น เพื่อให้นักเรียนทุกคน มีความรู้และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน อย่างถูกวิธี จะช่วยลดอัตรา การเกิดฟันผุ และเพื่อค้นหาผู้ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก เพื่อรับการดูแลรักษาปัญหาช่องปาก ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียน
  • ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี
  • ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีการแปรงฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหารเที่ยง
  • ร้อยละ 100 ของนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ได้รับการส่งต่อเข้ารับบริการรักษาทางทันตกรรมตามความจำเป็น
0.00
2 เพื่อสร้างแกนนำการดูแลสุขภาพช่องปาก

ร้อยละ 100 มีแกนนำการดูแลสุขภาพช่องปากประจำชั้นเรียน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 63
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะทำงาน 4

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมคัดกรองประเมินสุขภาพช่องปากนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองประเมินสุขภาพช่องปากนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
- คัดกรอง ประเมิน สุขภาพช่องปาก โดยครูประจำชั้นหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
- กรณีนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ได้รับการส่งต่อเข้ารับบริการรักษาทางทันตกรรมตามความจำเป็น

เป้าหมาย
- นักเรียน จำนวน 63 คน

งบประมาณ
- สมุดบันทึก การประเมินสุขภาพช่องปาก จำนวน 63 เล่ม ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 1,260 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 พฤศจิกายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนร้อยละ 100 ได้รับการคัดกรองประเมินสุขภาพช่องปาก
  2. ร้อยละ 100 ของนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ได้รับการส่งต่อเข้ารับบริการรักษาทางทันตกรรมตามความจำเป็น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1260.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1. จัดตั้งคณะทำงาน
2. ประชุมชี้แจงคณะทำงานเพื่อมอบหมายหน้าที่การทำงาน
3. จัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม
4. ประเมินความรู้ ก่อน - หลัง การอบรม
5. อบรมเชิงปฏิบัติการ

เป้าหมาย
- นักเรียน จำนวน 63 คน
- คณะทำงาน จำนวน 4 คน

งบประมาณ
1. ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 67 คนๆละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,ุ675 บาท
3. ค่าจัดทำป้ายไวนิลโครงการฯ ขนาดกว้าง 1.2 เมตร ยาว 2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 432 บาท
4. วัสดุ/อุปกรณ์ สำหรับการอบรม ได้แก่
- แปรงสีฟันเด็ก จำนวน 63 ด้าม ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 2,205 บาท
- ยาสีฟันเด็ก จำนวน 10 หลอด ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 350 บาท
- แก้วน้ำ จำนวน 63 แก้ว ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 1,260 บาท
- ผ้าขนหนู จำนวน 63 ผืน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,575 บาท
- ค่าโมเดลการสอนการแปลงฟันแบบเรซิ่ง จำนวน 2 ชุด ๆ ละ 1,750 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท รวมเป็นเงิน 12,797 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12797.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสร้างแกนนำ "เพื่อนสอนเพื่อน"

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสร้างแกนนำ "เพื่อนสอนเพื่อน"
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1. จัดตั้งแกนนำ ชั้นเรียนละ 2 คน เพื่อเป็นแกนนำในการแปรงฟันหลังรับประทานอาหารเที่ยง
2. ส่งเสริมการแปรงฟันหลังรับประทานอาหารเที่ยง เป็นระยะเวลา 3 เดือน

กลุ่มเป้าหมาย
- นักเรียน จำนวน 63 คน

งบประมาณ
- ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแกนนำการดูแลสุขภาพช่องปากประจำชั้นเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมติดตามผล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
- ตรวจประเมิน สุขภาพช่องปาก โดยครูประจำชั้นหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
- ประเมินผลหลังเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการ

เป้าหมาย
- นักเรียน จำนวน 63 คน

งบประมาณ
- ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • นักเรียนร้อยละ 100 ได้รับการคัดกรองประเมินสุขภาพช่องปากหลังเสร็จสิ้นโครงการ
  • นักเรียนร้อยละ 50 มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมรายงานผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรายงานผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

1.จัดทำรายงานผลโครงการฉบับสมบูรณ์จำนวน 2 เล่ม

งบประมาณ

1.ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการ จำนวน 2 เล่ม ๆละ 200 บาท เป็นเงิน 400 บาท

รวมเงิน 400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรายงานฉบับสมบูรณ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,457.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- นักเรียนได้รับการคัดกรองประเมินสุขภาพช่องปาก
- มีแกนนำการดูแลสุขภาพช่องปากประจำชั้นเรียน
- นักเรียนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี
- นักเรียนมีการแปรงฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหารเที่ยง
- นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ได้รับการส่งต่อเข้ารับบริการรักษาทางทันตกรรมตามความจำเป็น


>