กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองสุขภาพจิตในชุมชน โดย อสม.

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

รพ.สต.บ้านนาปะขอ

5 คน

รพ.สต.บ้านนาปะขอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลกพบว่าในประชากร 4 คนจะมีผู้มีปัญหาสุขภาพจิต 1 คน และอีก 2 คนเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาสุขภาพจิต เช่น เป็นญาติพี่น้อง คนในครอบครัว เป็นต้น สำหรับโรคทางจิตเวชประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคทางจิตทั้งหมดจำนวน 1,152,044 ราย ส่วนใหญ่จะเริ่มป่วยในช่วงปลายวัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ อายุระหว่าง 15-35 ปี ซึ่งเป็นช่วงชีวิตของการทำ งานและการสร้างครอบครัว และจากการศึกษาดัชนีวัดความสูญเสียทางสุขภาพ หรือ DALYs พบว่า ในปี พ.ศ. 2562 คนไทยสูญเสียสุขภาวะ (DALYs) ทั้งที่ควรจะมีชีวิตอยู่อย่างสุขภาพดี โดย 10 อันดับแรกสำหรับเพศชายมีโรคซึมเศร้าอยู่ในอันดับที่ 10 และในเพศหญิงโรคซึมเศร้าอยู่อันดับที่ 3 การสำรวจระดับชาติล่าสุดในปี 2561 พบคนไทยร้อยละ 14 หรือ 9 ล้านกว่าคนมีปัญหาสุขภาพจิตและในภาวะวิกฤต เช่น ภัยธรรมชาติ แผ่นดินไหว จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นกับประชาชนจำนวนมากโดยเฉพาะวัยรุ่นและวัยทำงาน เมื่อเกิดขึ้นแล้วส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำ เนินชีวิต การประกอบอาชีพทั้งของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตเอง คนใกล้ชิดและครอบครัว ชุมชนหากมีการส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพจิตที่ดีและมีแนวทางในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตก็จะช่วยลดสถานการณ์ปัญหาและผลกระทบเหล่านี้ลงได้ การส่งเสริมสุขภาพจิตคือ การส่งเสริมให้ประชาชนทุกเพศวัยได้รับการดูแลทางสังคมจิตใจให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการดูแลตนเอง และอยู่ในสิ่งแวดล้อม ครอบครัว สังคม ชุมชน ที่เอื้ออำนวยต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพจิตจึงเกิดจากการที่สังคมชุมชนดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนการจัดบริการสุขภาพแบบองค์รวมทั้งร่างกายจิตใจและการที่ประชาชนมีศักยภาพในการดูแลจิตใจตนเอง และการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต คือ การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวช โดยการลดปัจจัยเสี่ยง เช่น ความเครียดระยะยาว ความก้าวร้าวรุนแรง และเพิ่มปัจจัยปกป้อง เช่น การให้กำลังใจ การช่วยเหลือด้านการอาชีพ แก่ประชาชนทุกเพศวัย การป้องกันปัญหาสุขภาพจิตดำเนินการในกลุ่มประชาชนทุกเพศวัยในกลุ่มปกติ เช่น การจัดโปรแกรมการออกกำลังกายในที่ทำงานเพื่อลดความเครียด การจัดค่ายป้องกันยาเสพติดสำหรับวัยรุ่นและกลุ่มเสี่ยง เช่น การดูแลทางสังคมจิตใจกลุ่มวัยรุ่นตั้งครรภ์ การคัดกรองและดูแลทางสังคมจิตใจในผู้ป่วยโรคเรื้อรังการดูแลทางสังคมจิตใจผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียง เป็นต้น
จากข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอ ในปีงบประมาณ 2565 อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน และมีปัญหาผู้ป่วยสุขภาพจิตไม่ได้ยารับตามนัดและรับประทานยาไม่สม่ำเสมอโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอ มีผู้ป่วยจิตเวชที่ขึ้นทะเบียนทั้งหมด 22 รายโดยแยกเป็นผู้ป่วยที่มีการผู้ดูแลและได้รับยาต่อเนื่อง จำนวน 15 รายคิดเป็นร้อยละ 68.19 และผู้ป่วยที่ไม่ได้รับต่อเนื่องจำนวน 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 31.82
ในการนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอจึงได้จัดทำโครงการ“โครงการคัดกรองสุขภาพจิตในชุมชน โดย อสม.”ขึ้นเพื่อส่งเสริม/สนับสนุนพัฒนาศักยภาพอสม. ด้านสุขภาพจิตในชุมชนและสามารถคัดกรองสุขภาพจิตในชุมชนได้โดยกระตุ้นให้อสม.และประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเองทั้งด้านสุขภาพจิตและสุขภาพกาย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

0.00
2 ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รู้ถึงอาการที่ผิดปกติของ และมารับการรักษาได้ทันเวลา ตามเกณฑ์มาตรฐานในการดูแลรักษา

สามารถคัดกรองและติดตามผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อได้ 100 %

0.00
3 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ได้รับการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ

กลุ่มเป้าหมายสามารถค้นพบผู้ป่วยรายใหม่ประสานต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้เพื่อระบบการส่งต่อและการรักษาที่ถูกต้อง

0.00
4 อัตราการเกิดฆ่าตัวตายในชุมชนไม่มี

ไม่พบอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ

0.00
5 เพื่อให้อสม.ได้แนวทางการดูแลผู้ป่วยและญาติตลอดจนสมาชิกในชุมชนใช้ชีวิตชุมชนร่วมกับผู้ป่วยแบบ ยอมรับซึ่งกันและกัน

กลุ่มเป้าหมายได้แนวทางการดูแลผู้ป่วยและญาติตลอดจนสมาชิกในชุมชนร่วมกับผู้ป่วยแบบยอมรับซึ่งกันและกัน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/09/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรมวิทยากรและผู้จัดอบรมฯจำนวน 70 คนๆละ 1 มื้อมื้อละ 60 บาทเป็นเงิน4,200บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรมวิทยากรและผู้จัดอบรมฯจำนวน 70คนๆละ 2 มื้อมื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 3,500บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากร วันที่ 30กันยายน2565 จำนวน 2 คนๆละจำนวน 3 ชม.x600 บาท/วัน เป็นเงิน3,600บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ส่งเสริมด้านสุขภาพจิตในชุมชน
2.กลุ่มเป้าหมายสามารถคัดกรองและติดตามผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน
3.กลุ่มเป้าหมายสามารถค้นพบผู้ป่วยรายใหม่ประสานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อได้รับการส่งต่อและรักษาที่ถูกต้องประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ได้รับการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ
4.กลุ่มเป้าหมายสามารถใช้ดเครื่องมือสำหรับประเมินสุขภาพจิตได้อย่างถูกต้องเหมาะสม


>