กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

รพ.สต.บ้านนาปะขอ

5 คน

รพ.สต.บ้านนาปะขอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
กระทรวงสาธารณสุขได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ทางด้านการแพทย์แผนไทยมากขึ้น และได้สนับสนุนให้ศาสตร์ทางการแพทย์แผนไทยเข้ามามีบทบาทในการรักษาโรคตามโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหลายแห่ง
แนวคิดดังกล่าวอาจช่วยให้ระบบสาธารณสุขของไทย มีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพต่ำลง การแพทย์แผนไทยเป็นศาสตร์ทางการแพทย์แขนงหนึ่งที่เป็นพื้นฐานการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยมองมิติทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสิ่งแวดล้อม มาใช้ในแง่สร้างเสริมสุขภาพ ป้องกัน รักษาโรคและการฟื้นฟูสุขภาพ โดยตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทยได้กล่าวไว้ว่า ร่างกายของคนหรือทุกสรรพสิ่งล้วนประกอบขึ้นด้วยธาตุต่างๆ อาทิ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ เมื่อธาตุทั้งสี่ในร่างกายสมดุล บุคคลจะไม่ค่อยเจ็บป่วย สิ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่มความสมดุลให้กับชีวิตมนุษย์ หากขาดความสมดุลมักจะเกิดความเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากจุดอ่อนด้านสุขภาพของแต่ละคนตามเรือนธาตุทั้งนี้ในการส่งเสริมสุขภาพตนเอง ประชาชนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของมิติสุขภาพ เข้าใจหลักและวิธีปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพ การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมซึ่งผสมผสานกับวิถีชีวิตการดูแลสุขภาพ การใช้ยาสมุนไพรในท้องถิ่น การอบสมุนไพร การประคบสมุนไพร การนวดไทย การบริหารด้วยท่าฤาษีดัดตน รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพร ผักพื้นบ้าน อาหารตามฤดูกาล ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวประชาชนสามารถที่จะจัดหาได้เองและมีอยู่แล้วในท้องถิ่น เป็นการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพ อันซึ่งจะทำให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีต่อประชาชนมากกว่าการรักษาเมื่อเกิดโรคเท่านั้น
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอ ได้ตระหนักถึงความความสำคัญของการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีองค์ความรู้และทักษะต่างๆด้านการแพทย์แผนไทย สามารถพึ่งพาตนเองในการดูแลรักษาสุขภาพ และส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับความรู้และทักษะต่างๆด้านการแพทย์แผนไทย นําไปดูแลสุขภาพของตนเองและผู้อื่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งเป็นทางเลือกในการจัดการสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสมในระดับหนึ่ง และยังตอบสนองยุทธศาสตร์แห่งชาติในการรวมพลังสร้างสุขภาพเพื่อให้คนไทยแข็งแรง เมืองไทยแข็งแรง ( Healthy Thailand )

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีความรู้ความเข้าใจและทักษะการฝึกปฏิบัติการนวดแผนไทยและผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้รับความรู้ความเข้าใจและได้ทักษะการนวดแผนไทยและผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยเพิ่มขึ้น

0.00
2 2. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้นําองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยมาดูแลสุขภาพของตนเองและผู้อื่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้นําองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยมาดูแลสุขภาพของตนเองและผู้อื่นได้ถูกต้อง

0.00
3 3. เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้รับการบริการด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

จำนวนผู้มารับบริการแพทย์แผนไทยเพิ่มมากขึ้น

0.00
4 4. เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สมุนไพร

มูลค่าการใช้ผลิตภัณฑ์และยาสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/09/2022

กำหนดเสร็จ 16/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมการอบรม วิทยากรและผู้จัดการอบรมฯ จำนวน 75 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท
    เป็นเงิน 3,750 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมการอบรม วิทยากรและผู้จัดการอบรมฯ จำนวน 75 คนๆละ 1 มื้อๆละ 60 บาท
    เป็นเงิน 4,500 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร(ทฤษฏี+ปฏิบัติ) จำนวน 2 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 300 บาท
    เป็นเงิน1,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กันยายน 2565 ถึง 16 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10050.00

กิจกรรมที่ 2 ค่าวัสดุอื่นๆ/ ครุภัณฑ์

ชื่อกิจกรรม
ค่าวัสดุอื่นๆ/ ครุภัณฑ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตัวยาผลิตภัณฑ์ยาหม่องสมุนไพร
  1. พาราฟิน จำนวน 700 กรัมๆละ 0.16 บาท เป็นเงิน 112 บาท
  2. บีแวกซ์จำนวน 600 กรัมๆละ 0.53 บาท เป็นเงิน 318 บาท
  3. วาสลีน จำนวน 600 กรัมๆ ละ 0.18 บาท เป็นเงิน 108 บาท
  4. เมนทอล จำนวน 1,000 กรัมๆละ 1.5 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  5. พิมเสน จำนวน 500 กรัมๆละ 1.3 บาท เป็นเงิน 650 บาท 6.การบูร จำนวน 1,000 กรัมๆละ 0.82 บาท เป็นเงิน 820 บาท
  6. น้ำมันระกำ จำนวน 1,350 ซีซีๆละ 0.32 บาท เป็นเงิน 432 บาท
  7. น้ำมันกานพูล จำนวน600ซีซีๆละ 2 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  8. น้ำมันไพล จำนวน700 ซีซีๆละ 2 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท รวมเป็นเงิน 6,540 บาท
  • ค่าขวดผลิตภัณฑ์ยาหม่องสมุนไพร จำนวน 380 ขวดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 3,800 บาท
  • ค่าฉลากผลิตภัณฑ์ยาหม่องสมุนไพร จำนวน 380 ดวงๆละ 10 บาท เป็นเงิน 3,800 บาท
  • ค่าเตียงนวดแผนไทยจำนวน 2 เตียงๆละ 7,000 บาท เป็นเงิน 14,000 บาท
  • ค่าหม้อนึ่งลูกประคบ จำนวน 1 หม้อๆละ 910 บาท เป็นเงิน 910 บาท
  • ค่าลูกประคบสมุนไพรจำนวน 12 ลูกๆละ 75 บาท เป็นเงิน 900 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กันยายน 2565 ถึง 16 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้รับความรู้เกี่ยวกับการนวดแผนไทยและผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย
2. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ฝึกทักษะการนวดแผนไทยและทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยได้อย่างถูกวิธี
3. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้นําองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยมาดูแลสุขภาพของตนเองและผู้อื่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4. ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้รับการบริการด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
5. เพิ่มความครอบคลุมในการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูด้านการแพทย์แผนไทยให้แก่ประชาชน
6. ประชาชนได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทย


>