กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกตรี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคนบ้านไร่ กินดี อยู่ดี สุขภาพดี มีความสุข

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกตรี

อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่1

1. นางสาวราฎา กรมเมือง
2. นางสาวฮาบีบ๊ะ หาสกุล
3. นางสาวกรรณิสา สำมาสา
4. นางรอสนา กองพล
5. นางกัลยา แก้วสลำ

หมู่ที่1 ตำบลเกตรี อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้นิยาม สุขภาพ คือ สภาวะของความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และความเป็นอยู่ที่ดีทางสังคม การมีสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจจึงส่งผลต่อความสุขของคนในชุมชน ด้วยสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไปการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงอย่างไม่ทันตั้งตัว ทั้งภัยพิบัติทางธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงของสภาอากาศ เศรษฐกิจ และโรคระบาด ส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตของคนในชุมชน
ในการดำเนินชิวิตแต่ละวันผู้คนส่วนใหญ่มักใช้ความเคยชินกับสังคมนิยมแบบใหม่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินที่เน้นความสะดวกสบายรวดเร็ว โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของแหล่งที่มาขอวัตถุดิบ การละเลยการออกกำลังกาย เข้าใจผิดว่าการทำงานหนักและเหนื่อยนั้นเป็นเรื่องการออกกำลังกาย ไม่รักษาสมดุลของชีวิต ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ อาจก่อให้เกิดโรคตามมาได้
อสม.หมู่ที่ ๑ ตำบลเกตรี อำเภอเมือง จังหวัดสตูล จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญต่อสุขภาพอนามัยของพี่น้องหมู่ที่ ๑ จึงจัดทำโครงการ คนบ้านไร่ กินดี อยู่ดี สุขภาพดี มีความสุข ขึ้น เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจการดูแลสุขภาพ การกิน การออกกำลังกาย รักษาสมดุลชีวิต ให้มีสุขภาพดี และมีความสุข

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ให้ความรู้เรื่องโภชนาการอาหาร

1.ร้อยละ 80ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องอาหารและโภชนาการ

0.00
2 2.ให้ความรู้และฝึกปฏิบัติเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมแก่ช่วงวัย

2.ร้อยละ 80ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมกับช่วงวัย

0.00
3 3.สร้างกลุ่มคนบ้านไร่ รักสุขภาพ

3.เกิดกลุ่มคนบ้านไร่ รักสุขภาพ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ นาฬิกาชีวิต และสร้างข้อตกลงร่วมกัน

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ นาฬิกาชีวิต และสร้างข้อตกลงร่วมกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมอบรม วิทยากรอบรมให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ 4 ประเด็น กินดี: อาหาร อยู่ดี:กิจวัตรประจำวัน นาฬิกาชีวิต สุขภาพดี:ออกกำลังกาย มีความสุข :ผลลัพธ์ *** จัดตั้งกลุ่ม พูดคุยทำความเข้าใจโครงการ สร้างข้อตกลงร่วมกัน รายละเอียดค่าใช้จ่าย ค่าวิทยากร 1,200บ.x 2 คน = 2,400บ. ค่าอาหารกลางวัน 80บ.x 70 คน = 5,600 บ. ค่าอาหารว่าง 50 บ.x70 คน = 3,500 บ. ค่าป้ายโครงการ 1x3 เมตรๆละ 150 =450 บ. ค่าวัสดุกระเป๋า 20 บ.x70คน =1,400บ. ค่าเอกสาร 20 บ.x70คน =1,400 บ ค่าวัสดุ
-เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด Terumo Medisafe EX = 2,590 บาท -เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล 1,290 บาท อุปกรณ์ -สายวัด 40 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องอาหารและโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18670.00

กิจกรรมที่ 2 2.กิจกรรมฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายและการปรับสมดุลนาฬิกาชีวิต ติดต่อกัน 4 สัปดาห์

ชื่อกิจกรรม
2.กิจกรรมฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายและการปรับสมดุลนาฬิกาชีวิต ติดต่อกัน 4 สัปดาห์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง 4 สัปดาห์    -ออกกำลังกายด้วยตนเอง 3 วันต่อสัปดาห์ อย่างน้อยวันละ 30 นาที    พบปะเพื่อประเมินสุขภาพทบทวนข้อตกลง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง รายละเอียดค่าใช้จ่าย ค่าวิทยากร 500บ.x1 คนx 4 ครั้ง = 2,000 บ. ค่าอาหารว่าง 25บ.x70คนx4 มื้อ = 7,000 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมกับช่วงวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประเมินสุขภาพหลังเสร็จกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประเมินสุขภาพหลังเสร็จกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การประเมินสุขภาพ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม ค่าอาหารว่าง 25 บ.x70คน =  1,750 บ. ค่าวัสดุชุดตรวจค่าน้ำตาลในเลือด 1,000บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดกลุ่มคนบ้านไร่ รักสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,420.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องโภชนาการอาหาร และสามารถเลือกบริโภคอาหารปลอดภัย
2.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เและสามารถฝึกปฏิบัติการดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมแก่ช่วงวัย และเข้าใจเรื่องนาฬิกาชีวิต ในการดูแลสุขภาพ
3.เกิดกลุ่มคนบ้านไร่รักสุขภาพ


>