กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปริก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรอง และส่งเสริมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ปี2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปริก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนเสม็ด

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนเสม็ด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาหลายปีแล้ว ข้อมูลประจำปี 2561 พบว่า มีประชากรทั้งหมด
66.4 ล้านคน เป็นผู้สูงอายุ 10.6 ล้านคน นับเป็นร้อยละ 16.06ในปี 2562 ประชากรผู้สูงอายุมีมากถึง 11.6 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17.5 ของประชากรทั้งหมดจำนวน 69.3 ล้านคน และประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในปี 2565 โดยจำนวนผู้สูงอายุจะอยู่ราวร้อยละ 20-30 และที่สำคัญกว่านั้น ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 28 ในปี 2574 จะเห็นได้ว่า ผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มีผลกระทบต่ออัตราส่วนภาวะพึ่งพิงหรือภาวะโดยรวมที่ ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงประชากรวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น อาจจะนำไปสู่ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุมีภาวะด้านสุขภาพที่มีการเปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมของร่างกาย อวัยวะต่างๆ ทั่วไปเริ่มอ่อนแอ และเกิดโรคง่าย ภูมิต้านทานโรคน้อยลง รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจและสังคม
ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่องในการเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุทุกคนตลอดจนบุคคลในครอบครัวและชุมชนเนื่องจากจำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น เช่นนี้เนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ทำให้อัตราการตายลดลงผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัยรวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุจึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพาไม้สามารถช่วยเหลือตังเองได้หรือช่วยเหลอตนเองได้น้อยหรืออาจมีอาการสมองเสื่อม ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแลเกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข ผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรคและควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และมีความสุขในปั้นปลายของชีวิต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ และสามารถดูแลตนเองได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

1.ผู้สูงอายุได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ ร้อยละ 90

0.00
2 2.เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง

2.ผู้สูงอายุสามารถ ตอบคำถาม หรือสาธิตย้อนกลับเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ
มากกว่าร้อยละ 80

0.00
3 3. เพื่อแยกกลุ่มผู้สูงอายุ และเฝ้าระวังสุขภาพผู้สูงอายุ

3.สามารถแบ่งผู้สูงอายุ เป็น 3กลุ่ม ตาม ADL กลุ่มที่ 1 , 2 ,3

0.00
4 4. เพื่อส่งต่อผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพเพื่อเข้ารับการรักษาที่ทันท่วงที

4.ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการส่งต่อ ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 296
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน (อสม.) 29

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจคัดกรอง และส่งเสริมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ปี2565กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้อาสาสมัครสาธารณสุขกิจกรรมที่ 2 คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรอง และส่งเสริมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ปี2565กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้อาสาสมัครสาธารณสุขกิจกรรมที่ 2 คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลปริก จำนวน 35,372.00 บาท (สามหมื่นห้าพันสามร้อยเจ็ดสิบสองบาทถ้วน)รายละเอียด ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้อาสาสมัครสาธารณสุข - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 29 คนๆละ 25 บาท 2 มื้อเป็นเงิน 1,450 บาท - ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 29 คน ๆ ละ 60 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,740 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ในการอบรม (สมุด ปากกา แฟ้ม เอกสารอบรม) 29 ชุด ชุดละ 60 บาท เป็นเงิน 1,740 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรให้ความรู้ ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 6 ชั่วโมงเป็นเงิน3,600 บาท กิจกรรมที่ 2 คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุในพื้นที่ - ค่าจัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการขนาด 1 x 3 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท x จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน450บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 25 บาท x จำนวน 296 คนx 1 มื้อเป็นเงิน7,400 บาท - ค่าเอกสารประกอบการคัดกรองแบบ (Basic Geriatric Screnning,BGS ) ชุดละ 2 บาท x จำนวน296 คนเป็นเงิน 592 บาท - เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล พกพา จำนวน 2 เครื่องๆละ 1,700 บาท เป็นเงิน 3,400 บาท - เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล พกพา จำนวน 2 เครื่องๆละ 3,600 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท -เครื่องเจาะน้ำตาล พร้อม แผ่นตรวจ 100 ชิ้นจำนวน 2 เครื่อง ๆ เครื่องละ 3,900 บาท
เป็นเงิน 7,800 บาท รวมทั้งหมด35,372บาท หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2022 ถึง 30 กันยายน 2022
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้ เจตคติ ทักษะและการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้ถูกต้อง
  2. ผู้สูงอายุมีสุขร่างกายแข็งแรงไม่ป่วยด้วยโรคหรือได้รับอุบัติเหตุที่เกิดจากการปฏิบัติตนที่ไม่ถูกต้อง
  3. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการส่งต่อเข้ารับการรักษาต่อไป
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35372.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,372.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีความรู้ เจตคติ ทักษะและการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้ถูกต้อง
2. ผู้สูงอายุมีสุขร่างกายแข็งแรงไม่ป่วยด้วยโรคหรือได้รับอุบัติเหตุที่เกิดจากการปฏิบัติตนที่ไม่ถูกต้อง
3. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการส่งต่อเข้ารับการรักษาต่อไป


>