กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงอายุสุขภาพดีโดยใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

กองสวัสดิการสังคมองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน

-

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนโต๊ะเหลง (หลังเก่า) หมู่ที่ 4 ต.ควนโดน อ.ควนโดน จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขทำให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนมากกว่าหลาย ๆ ปีที่ผ่านมาพร้อม ๆ กับการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้วิถีชีวิต และการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน ส่งผลให้การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุเปลี่ยนไป เริ่มตั้งแต่การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมมาตั้งแต่วัยรุ่น วัยทำงาน การขาดการออกกำลังกาย ทำให้กลายเป็นผู้สูงอายุที่อายุยืน แต่มีภาวะของโรคประจำตัว ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคกระดูกพรุน ข้อเข่า โรคหลอดเลือดสมอง และโรคสมองเสื่อม ฯลฯ ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็น เนื่องจากผู้สูงอายุในพื้นที่กลับมีปัญหาด้านสุขภาพมากขึ้น ทั้งทางด้านร่างกาย และสุขภาพทางด้านจิตใจที่มีผลสืบเนื่องมาจากสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลผู้สูงอายุในพื้นที่เป็นผู้สูงอายุที่ติดบ้านเป็นจำนวนมาก ดังนั้นผู้สูงอายุจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบุคคลรอบข้างและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนปัญหาด้านสุขภาพจะมีมากขึ้น และผู้สูงอายุคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปีการดูแลสุขภาพร่างกายจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยสุขภาพ ในทัศนะอิสลามจะเน้นในมิติด้าน “จิตวิญญาณ (spiritual well-being)” เป็นสำคัญ เพราะอิสลามมีหลักความศรัทธาที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับพระผู้เป็นเจ้า คือ มีความศรัทธาในพระเจ้า อิสลามเชื่อว่าสุขภาวะที่สมบูรณ์ทางจิตวิญญาณ จะเป็นพลังที่จะนำไปสู่สุขภาพที่ดีโดยรวม เนื่องจากอิสลามเป็นวิถีการดำเนินชีวิต (Way of Life) ที่ตั้งอยู่ในกรอบแนวทางของศาสนาที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน และแบบอย่างคำสอนของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ทั้งในเรื่องการกิน การนอน กิจวัตรประจำวันทั่วไป สังคม วัฒนธรรม สุขภาพอนามัย การเจ็บป่วย ความตาย และอื่นๆ ซึ่งมีบัญญัติไว้ทั้งสิ้น การมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงดี ย่อมเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิต และกระบวนการพัฒนาในทุกด้านทุกมิติ ดังที่ท่านนบีมูฮัมหมัด (ซ.ล.) ได้กล่าวถึงสุขภาพไว้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมปัจจัยแห่งสุขภาวะอีกทั้งสะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญของสุขภาพไว้อย่างเป็นองค์รวม ว่า “ผู้ใดที่ตื่นเช้าขึ้นมา มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีจิตใจที่สงบร่มเย็น ไม่มีความวิตกกังวลทุกข์ร้อน มีอาหารสำหรับบริโภคในวันนั้น ก็ประหนึ่งว่าเขาผู้นั้นได้ครองโลกไว้ทั้งโลก”
ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน จึงได้มีแนวทางจัดทำโครงการผู้สูงอายุสุขภาพดีโดยใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนาเพื่อให้ผู้สูงอายุได้นำหลักธรรมของศาสนา มาปรับใช้ในวิถีชีวิตด้วยการเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิตด้วย ความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และมีความรอบคอบเพื่อให้เกิดความสมดุลและพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว และส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุให้ดีขึ้นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และการป้องกันโรคที่เกิดกับผู้สูงอายุ

ร้อยละ 90 ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และการป้องกันโรคที่เกิดกับผู้สูงอายุ

70.00
2 2. เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโดยนำหลักธรรมคำสอนทางศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวัน

ร้อยละ 90 ผู้สูงอายุสามารถนำหลักธรรมคำสอนทางศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวัน

70.00
3 3. เพื่อเป็นการเปิดพื้นที่ทางสังคมให้แก่ผู้สูงอายุ ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือทำกิจกรรมร่วมกัน

ร้อยละ 90 ผู้สูงอายุ ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือทำกิจกรรมร่วมกัน

70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 70
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2022

กำหนดเสร็จ 15/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน เขียนโครงการ
  2. เสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการฯ กลุ่มเป้าหมายได้ทราบอย่างทั่วถึง
  4. ประสานวิทยากรเพื่อให้การอบรม
  5. ดำเนินการฝึกอบรมให้ความรู้

    5.1 กิจกรรมตรวจสุขภาพ เช่น วัดความดัน ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว ฯลฯ

    5.2 กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้

  • ให้ความรู้ด้านสุขภาพโดยหน้าที่สาธารณสุข

  • ให้ความรู้เรื่องศาสนาเกี่ยวข้องกับสุขภาพอย่างไร

  • ให้ความรู้เรื่องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยศาสนา

  • กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้

  1. ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 3 ขั่วโมง ๆ ละ 600.-บาทเป็นเงิน 1,800.-บาท

  2. ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.00 x 3.00 ม. จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน450.-บาท

  3. ค่าเช่าเครื่องขยายเสียงพร้อมอุปกรณ์จำนวน 1 วันเป็นเงิน1,500.-บาท

  4. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 50.-บาท จำนวน 70 คนเป็นเงิน 3,500.-บาท

  5. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 25.-บาท จำนวน 70 คนเป็นเงิน3,500.-บาท

  6. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม เป็นเงิน395.-บาทแยกเป็น

    -กระดาษ A4ขนาด 80 แกรมจำนวน 2 รีม ๆ ละ 135.-บาทเป็นเงิน270.-บาท

    -ปากกาเคมีจำนวน 5 ด้าม ๆ ละ 15.-บาทเป็นเงิน 75.-บาท

  • กระดาษฟลิปชาร์ทจำนวน 10 แผ่น ๆ ละ 5.-บาทเป็นเงิน 50.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 15 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้สูงอายุได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และการป้องกันโรคที่เกิดกับผู้สูงอายุ
  2. ผู้สูงอายุได้นำหลักธรรมคำสอนทางศาสนามาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11145.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมนันทนการ "สร้างจิตที่แจ่มใส่ให้ผู้สูงอายุ"

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมนันทนการ "สร้างจิตที่แจ่มใส่ให้ผู้สูงอายุ"
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. แข่งขันกีฬาพื้นบ้าน

    1.1 ปิดตาตีปี๊ป(ชาย/หญิง)หมู่บ้านละ 1 คน จำนวน 16 คน

    1.2 สานโคร๊ะ(ชาย/หญิง)หมู่บ้านละ 1 คนจำนวน 16 คน

1.3 โยนโบว์ลิ่ง(ชาย/หญิง) หมู่บ้านละ 1 คน จำนวน 16 คน

1.4 ดันลูกโป่ง(ชาย/หญิง) ทีมละ 4 คนรวม 8 ทีมจำนวน 32 คน

1.5 กอล์ฟคนจน (ชาย) หมู่บ้านละ 1 คนจำนวน 8คน

โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้

  1. ค่าของขวัญและของรางวัล เป็นเงิน6,750.-บาท แยกเป็น
  • ค่าของขวัญและของรางวัลอับดับที่ 1จำนวน 15 ชิ้น ๆ ละ 200.-บาทเป็นเงิน3,000.-บาท

    • ค่าของขวัญและของรางวัลอันดับที่ 2จำนวน 15 ชิ้น ๆ ละ 150.-บาท เป็นเงิน2,250.-บาท

    • ค่าของขวัญและของรางวัลอันดับที่ 3จำนวน 15 ชั้น ๆ ละ 100.-บาทเป็นเงิน1,500.-บาท

  1. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรม(อุปกรณ์ในการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ฯลฯ ) เป็นเงิน 2,105.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 15 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้สูงอายุได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมและพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8855.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และการป้องกันโรคที่เกิดกับผู้สูงอายุ
2. ผู้สูงอายุได้นำหลักธรรมคำสอนทางศาสนามาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
3. ผู้สูงอายุได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมและพบปะแลกเปลี่ยนกัน


>