กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการใช้สมุนไพรในชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

นางสาวสูซานา ดือราแม ตำแหน่ง หัวหน้าสำนักปลัด

ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การใช้ภูมิปัญญาแพทย์ไทย เป็นการดูแลสุขภาพในชุมชนแบบพื้นบ้านดั้งเดิมที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ซึ้งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่สังคมวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์และรูปแบบการรักษามีทั้งการใช้สมุนไพร การนวด การผดุงครรภ์ ตลอดจนการรักษาทางจิตใจโดยใช้พิธีกรรมหรือคาถาต่างๆ ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางการรักษาสุขภาพและความเจ็บป่วยของประชาชนได้อย่างดี แต่จากการพัฒนาในทุกด้านที่ยึดการพัฒนาตามระบบทุนนิยม ทำให้ชุมชนมีค่านิยมตามแนวทางของตะวันตกเป็นหลัก โดยเฉพาะด้านการจัดการสุขภาพที่เน้นการพึ่งพิงจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิปัญญาและองค์ความรู้การดูแลสุขภาพเดิมที่อยู่ในชุมชนได้รับการพัฒนาและถูกทอดทิ้งจากคนรุ่นใหม่ขาดการสืบทอด และผู้รู้ส่วนใหญ่ซึ่งจะมีจำนวนลดลงทำให้ชุมชนรับประโยชน์จากภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทั้งๆที่ความรู้เหล่านี้สามารถช่วยดูแลรักษาความเจ็บป่วยให้กับชาวบ้านได้ อีกทั้งองค์ความรู้ทางการแพทย์พื้นบ้านทั้งที่เป็นตัวหมอพื้นบ้าน ตำรา พันธุ์พืชที่ใช้เป็นยาสมุนไพร วิธีการรักษาโรคตลอดจนสังคมวัฒนธรรม ประเพณี และวิธีชีวิต ฯลฯ มีความสำคัญและเป็นสิ่งล้ำค่าที่ควรเก็บรวบรวม อนุรักษ์ ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทยให้คู่กับประเทศไทย เพื่อเป็นมรดกต่อลูกหลานในการสืบทอดองค์ความรู้ สมุนไพรคือของขวัญที่ธรรมชาติมอบให้กับมวลมนุษยชาติ ดังนั้นจำเป็นต้องมีการสนับสนุนส่งเสริมการใช้สมุนไพรที่หาได้ง่ายในชุมชน เนื่องจากจะได้ไม่เกิดความยากลำบากในการจัดหาและการจัดทำรวมถึงปลูกไว้ใช้เองในครัวเรือนควบคู่กับการทำพืชสวนชนิดอื่นๆ การส่งเสริมให้ความรู้แก่เกษตรกรสมุนไพร และคุณประโยชน์ของสมุนไพรใกล้ตัวที่มีคุณค่ามากกว่าการใช้บริโภคเพียงอย่างเดียวจึงเกิดขึ้น การส่งเสริมสุขภาพประชาชนด้วยการพึ่งตนเองจึงเน้นการดูแลรักษาสุขภาพในเบื้องต้นก่อนโรคภัยไข้เจ็บจะมาถึงด้วยสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนถึงการแปรรูปสมุนไพรในรูปแบบต่างๆ ในเขตองค์การบริหารส่่วนตำบลตะบิ้ง มีภูมิปัญญาชาวบ้าน สมุนไพรต่างๆ และมีบุคลากรที่เป็นหมอพื้นบ้าน สามารถนำสมุนไพรที่อยู่ในชุมชนมารักษาชาวบ้าน เช่น บรรเทาอาการโรคนิ่ว ไต และโรคอื่นๆ สามารถจดทะเบียนยาสมุนไพรแผนโบราณต่อไป เพื่อเป็นการอนุรักษ์ วิถีชีวิตประชาชนในพื้นที่ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการใช้สมุนไพรในชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2565 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีความรู้และทักษะในการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

 

0.00
2 ประชาชนมีความรู้ในการใช้สมุนไพรเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น

 

0.00
3 สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/08/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 1 ผืนๆละ 1,050 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆละ 80 บาท เป็นเงิน 6,400 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 5,600 บาท
  4. ค่าวัสดุ เครื่องเขียน ในการอบรม จำนวน 80 ชุดๆละ 40 บาท เป็นเงิน 3,200 บาท
  5. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 12 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท
  6. ค่าถ่ายเอกสารประกอบการฝึกอบรม จำนวน 80 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
  7. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการสาธิตการทำผลิตภัณฑ์น้ำมันเหลือง,ยาสมุนไพรแก้โรคนิ่ว ไส้เลื่อน ฯลฯ เป็นเงิน 5,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 สิงหาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,450.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้และทักษะในการผลิตผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร
2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการใช้สมุนไพรเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น
3. สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น


>