กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการหญิงเจริญพันธ์ตำบลปานัน ร่วมใจต้านภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะโด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหญิงเจริญพันธ์ตำบลปานัน ร่วมใจต้านภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะโด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปานัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปานัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
โรคมะเร็งเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ ปีหนึ่งมีคนไทยเสียชีวิต ด้วยโรคมะเร็งทุกชนิด ปีละ 4,5๐๐ ราย โดยมีอัตราตายเป็นอับดับ ๒ รองจากโรคหัวใจและหลอดเลือดและยังมีแนวโน้มที่สูงขึ้น โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี พบได้ถึง 8 คน ในประชากรหนึ่งแสนคนแต่ละปีจะมีผู้หญิงป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ปีละประมาณ 10,000 ราย หรือวันละ 27 ราย เสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 5,200 ราย หรือวันละ 14 ราย โดยกลุ่มที่พบสูงสุดคืออายุ 45-55 ปี องค์การอนามัยโลกประมาณการณ์ว่า ขณะนี้ทั่วโลกในทุก 2 นาทีจะมีผู้หญิงเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูก 1 รายและจากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าสตรีไทยมีแนวโน้มการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้นจากปี ๒๕63ซึ่งมีอัตราตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก 3ต่อแสนประชากร และเพิ่มเป็น๓.๑ต่อแสนประชากรในปี ๒๕63ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิต ประมาณ ๔,๕๐๐ ราย ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ ๓๐ - ๕๐ ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smearและหากทำทุก ๒ ปี สามารถลดการเป็นมะเร็งระยะลุกลามได้ ๙๒ % ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่ายสะดวกราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ มีทัศนคติ ที่ไม่ดีต่อการตรวจ PapSmear สตรีที่เป็นมะเร็งส่วนใหญ่มักจะมี สถานะทางเศรษฐกิจต่ำมีความรู้น้อยมีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตรวจมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ความรู้ความเชื่อด้านสุขภาพปัญหาในการมาตรวจความอายความรู้สึกเจ็บไม่สบายความวิตกกังวลถึงผลการตรวจและความรุนแรงของโรค (สริตา, ๒๕๓๘)
สำหรับสถานการณ์โรคมะเร็งของจังหวัดปัตตานีส่วนโรคมะเร็งปากมดลูกของจังหวัดปัตตานี ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕61 – ๒๕63 พบว่า มีอัตราป่วย ๕9.10 และ 60.15 ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๕ - ๖๐ ปี ของตำบลปะโด พบว่ากลุ่มเป้าหมายดังกล่าวมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกปี ๒๕63ร้อยละ 34.65(โปรแกรมHosXP_PCU รพ.สต.ปานัน มกราคม 2563) ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุขที่ได้กำหนดในปี ๒๕63 ตำบลปานัน ได้จัดทำโครงการรณรงค์ตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกเชิงรุกทุกรูปแบบในกลุ่มเป้าหมาย ทำให้มีผู้มารับการตรวจมะเร็งปากมดลูก คิดเป็นร้อยละ 7.68 ซึ่งถือว่ามีปริมาณที่น้อยอยู่และต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำกำหนด การให้ความรู้ที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่องร่วมกับการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง จะทำให้สตรีกลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในความรุนแรงของโรคและมีความเชื่อด้านสุขภาพที่ถูกต้องดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปานัน จึงได้จัดทำ “โครงการ หญิงเจริญพันธ์ตำบลปานัน ร่วมใจต้านภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2565”เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกแบบยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อเสริมสร้างความรู้ เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย
2.เพื่อเสริมสร้างทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย
3.เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเฝ้าระวังและป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย
4.เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะแรก
5.เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเสริมสร้างพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/08/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกและการรณรงค์ตรวจค้นหา มะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และมะเร็งปากมดลูกในชุมชน จำนวน 2 หมู่บ้าน โดยผ่านสื่อเสียงตามสาย แผ่นพับ ป้ายประชาสัมพันธ์ 2. รณรงค์ตรวจคัดกรอง โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ชื่อกิจกรรม
1. ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกและการรณรงค์ตรวจค้นหา มะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และมะเร็งปากมดลูกในชุมชน จำนวน 2 หมู่บ้าน โดยผ่านสื่อเสียงตามสาย แผ่นพับ ป้ายประชาสัมพันธ์ 2. รณรงค์ตรวจคัดกรอง โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน 80 คน    เป็นเงิน 4,000  บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ  25 บาท จำนวน 80 เป็นเงิน 4,000 บาท 3.ค่าวัสดุสำนักงาน
      3.1 ปากกาลูกลื่น จำนวน 80 ด้าม ด้ามละ 10 บาท เป็นเงิน 800 บาท       3.2 สมุดปกอ่อนขนาด 60 แกรม จำนวน 80 เล่ม เล่มละ 10 บาท  เป็นเงิน 800 บาท       3.3 แฟ้มซองพลาสติกA4 1 กระดุม  จำนวน 80 แฟ้ม แฟ้มละ 25 บาท  เป็นเงิน 2,000 บาท       3.4 กระดาษสร้างแบบ    จำนวน 20 แผ่น  แผ่นละ 5 บาท  เป็นเงิน 100 บาท       3.5 ปากกาเคมี ตราม้า จำนวน 20 ด้าม ด้ามละ 15 บาท  เป็นเงิน 300 บาท 4.ค่าวิทยากรชั่งโมงละ 300 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง จำนวน 1 คน    เป็นเงิน   1,800   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน 80 คน    เป็นเงิน 4,000  บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ  25 บาท จำนวน 80 เป็นเงิน 4,000 บาท 3.ค่าวัสดุสำนักงาน
      3.1 ปากกาลูกลื่น จำนวน 80 ด้าม ด้ามละ 10 บาท เป็นเงิน 800 บาท       3.2 สมุดปกอ่อนขนาด 60 แกรม จำนวน 80 เล่ม เล่มละ 10 บาท  เป็นเงิน 800 บาท       3.3 แฟ้มซองพลาสติกA4 1 กระดุม  จำนวน 80 แฟ้ม แฟ้มละ 25 บาท  เป็นเงิน 2,000 บาท       3.4 กระดาษสร้างแบบ    จำนวน 20 แผ่น  แผ่นละ 5 บาท  เป็นเงิน 100 บาท       3.5 ปากกาเคมี ตราม้า จำนวน 20 ด้าม ด้ามละ 15 บาท  เป็นเงิน 300 บาท 4.ค่าวิทยากรชั่งโมงละ 300 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง จำนวน 1 คน    เป็นเงิน   1,800   บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.จำนวนสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 - 60 ปี ได้รับการบริการตรวจโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตามเกณฑ์มาตรฐาน
2.สตรีอายุ 30 ปีขึ้นไปสามารถตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง เดือนละ 1 ครั้ง
3.จำนวนผู้ป่วยที่ค้นพบเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ได้รับการรักษาพยาบาลในระยะขั้นแรก ของการเป็นโรคมะเร็ง
4.ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของภาครัฐ
5.ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก
6. ลดอัตราการตายโดยสาเหตุจากโรคมะเร็งปากมดลูก


>