กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะโด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมพัฒนาทั้ง 4 ด้านสู่ Smart Kid ของลูกน้อยปฐมวัยตำบลปะโด ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะโด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะโด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะโด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 6 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆซึ่งจากการสำรวจพัฒนาการในเด็กไทยพบว่า เด็กแรกเกิด – 6 ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ 30 หรือประมาณ 4 ล้านคน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการประเมินและค้นหาปัญหาเกี่ยวการเจริญเติบโตและ
พัฒนาการของทารก
2. เพื่อให้เด็กแรกเกิด - 6 ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม
3. เพื่อให้เด็กแรกเกิด - 6 ปี ที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก
4.เพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กสามารถชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบศีรษะ และแปลผลตามกราฟอย่างถูกต้อง
5. เพื่อสร้างเสริมความรัก ความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก และผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก
6. เพื่อลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กแรกเกิด - 6 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 160
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/08/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 160 คน แบ่งออกเป็น 2 รุ่นๆละ 80 คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 160 คน แบ่งออกเป็น 2 รุ่นๆละ 80 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 160 คน 50 บาท 1 มื้อ 1 วัน 2 วัน เป็นเงิน 16,000 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 160 คน 25 บาท 2 มื้อ 1 วัน 2 วัน เป็นเงิน 16,000 บาท 3.ค่าวัสดุสำนักงาน
    3.1 สมุดปกอ่อนขนาด 60 แกรม จำนวน 160 เล่ม เล่มละ 10 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท     3.2 ปากกาลูกลื่น จำนวน 160 ด้าม ด้ามละ 10 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท     3.3 แฟ้มซองพลาสติกA4 1 กระดุม  จำนวน 160 แฟ้ม แฟ้มละ 25 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
    3.4 กระดาษสร้างแบบ    จำนวน 20 แผ่น  แผ่นละ 5 บาท เป็นเงิน 100 บาท     2.5 ปากกาเคมี ตราม้า จำนวน 20 ด้าม ด้ามละ 15 บาท เป็นเงิน 300 บาท 4.ค่าวิทยากรชั่งโมงละ 300 บาท จำนวน 12 ชั่วโมง จำนวน 1 คน    เป็นเงิน   3,600   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 160 คน 50 บาท 1 มื้อ 1 วัน 2 วัน เป็นเงิน 16,000 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 160 คน 25 บาท 2 มื้อ 1 วัน 2 วัน เป็นเงิน 16,000 บาท 3.ค่าวัสดุสำนักงาน
    3.1 สมุดปกอ่อนขนาด 60 แกรม จำนวน 160 เล่ม เล่มละ 10 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท     3.2 ปากกาลูกลื่น จำนวน 160 ด้าม ด้ามละ 10 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท     3.3 แฟ้มซองพลาสติกA4 1 กระดุม  จำนวน 160 แฟ้ม แฟ้มละ 25 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
    3.4 กระดาษสร้างแบบ    จำนวน 20 แผ่น  แผ่นละ 5 บาท เป็นเงิน 100 บาท     2.5 ปากกาเคมี ตราม้า จำนวน 20 ด้าม ด้ามละ 15 บาท เป็นเงิน 300 บาท 4.ค่าวิทยากรชั่งโมงละ 300 บาท จำนวน 12 ชั่วโมง จำนวน 1 คน    เป็นเงิน   3,600   บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
43200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 43,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ให้เด็กแรกเกิด - 6 ปีได้รับการประเมินโภชนาการ และพัฒนาการ คิดเป็นร้อยละ 90
2. ให้เด็กแรกเกิด - 6 ปี มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 80
3. ให้เด็กแรกเกิด - 6 ปีมีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมคิดเป็นร้อยละ 85
4. เด็กแรกเกิด - 6 ปีที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก
5. ผู้ปกครอง และผู้เลี้ยงดูเด็กให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการ เด็กแรกเกิด - 6 ปี
6.ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมสามารถชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบศีรษะ และแปลผลตามกราฟอย่างถูกต้อง
7.กลุ่มพ่อแม่ ผู้เลี้ยงหลัก กลุ่มครูผู้ดูแลเด็กทารก
8.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในชุมชนเข้าร่วมโครงการ


>