กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บันนังสตา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบันนังสตาร่วมใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บันนังสตา

หน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลบันนังสตา

หมู่ที่ 1,2,3,4,5,7,9,10,11

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การสร้างเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพ เป็นพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ที่ทุกคนควรมีการปฏิบัติและปลูกฝังจนเป็นสุขนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของ การเรียนรู้ การมีความสุข ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน จากสถิติการเจ็บป่วยของหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลบันนังสตา ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา พบว่าอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มักพบผู้ป่วยมากที่สุดในอันดับต้นของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จากผลการคัดกรองโรคเบาหวานและ โรคความดันโลหิตสูงในประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไป ของหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลบันนังสตา ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564-2565 พบว่าผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จากกลุ่มเป้าหมายการคัดกรองโรค 3,400 คน พบกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 9.74 , 10.08 ตามลำดับ และผลการคัดกรองโรคเบาหวาน จากกลุ่มเป้าหมายการคัดกรองโรค 4,200 คน พบกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 10.73 , 41.99 ตามลำดับ ดังนั้นการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและสร้างโอกาสสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง จะช่วยทำให้กลุ่มเสี่ยงสามารถดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี สร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดโรคก่อนวัยอันควรทั้งนี้การสร้างโอกาสดังกล่าวจึงจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การใช้แนวทาง ที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชนด้วยตนเอง ซึ่งอาจต้องรณรงค์ให้ประชาชนปฏิบัติตัว ให้ถูกต้อง โดยใช้หลัก 3อ2ส เช่น ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม รับประทานผักผลไม้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำจิตใจให้สงบ ลด ละ เลิกบุหรี่และสุรา รวมถึงการเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิดกระบวนการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม สอดคล้องกันอย่างต่อเนื่อง
จากผลการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ของพื้นที่หน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลบันนังสตา ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้ตระหนักถึงการเปิดโอกาสในการสร้างสุขภาวะของประชาชนกลุ่มเสี่ยง โดยนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค 3อ2ส ตามวิถีชุมชน เพื่อการมีสุขภาพดีโดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือการสร้างสุขภาพที่ดี เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนวิถีด้านสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวและพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ส่งผลต่อการมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ห่างไกลจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ มีสถานะสุขภาพดีขึ้น ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

อัตราป่วยรายใหม่ที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานลดลง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2022

กำหนดเสร็จ 15/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.1 กิจกรรมอบรมพัฒนาความรู้และทักษะแก่อาสาสมัครสาธารณสุขในการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อเพื่อให้มีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่ถูกต้อง

ชื่อกิจกรรม
1.1 กิจกรรมอบรมพัฒนาความรู้และทักษะแก่อาสาสมัครสาธารณสุขในการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อเพื่อให้มีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่ถูกต้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 50 บาทx110คนx1มื้อx1วัน      =    5,500 บาท
  • ค่าอาหารว่าง 25บาทx110คนx2 มื้อ x 1วัน         =    5,500  บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์
  • ค่าปากกา 8 บาทx110ด้าม                           =      880  บาท
  • ค่าสมุด  10 บาท x 110 เล่ม                         =   1,100  บาท
  • ค่ากระดาษ A4  95 บาท x 3 รีม                    =      285  บาท
  • กระเป่าถุงผ้า 50 บาท x 110 ใบ                     =   5,500  บาท
  • ค่าวิทยากรอบรมให้ความรู้
    (จำนวน 1 คน x300 บาท x 3ชม. x 1วัน)            =      900 บาท
  • ค่าสื่อประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1×3 เมตร  800 บาท× 1 ผืน                   =      800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 15 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20465.00

กิจกรรมที่ 2 1.2 จัดกิจกรรมอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางและวิถีอิสลามในกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

ชื่อกิจกรรม
1.2 จัดกิจกรรมอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางและวิถีอิสลามในกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 50 บาทx200คนx1มื้อx1วัน      =   10,000 บาท
  • ค่าอาหารว่าง 25บาทx200คนx2 มื้อ x 1วัน          =  10,000 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์
  • ค่าปากกา 5 บาทx200ด้าม                            =   1,000 บาท
  • ค่าแฟ้มใส่เอกสาร 12 บาท x 200 อัน               =    2,400 บาท
  • ค่าวิทยากรอบรมให้ความรู้
    (จำนวน 1 คน x300 บาท x 4ชม. x 9วัน)             =  10,800 บาท
  • ค่าสื่อประชาสัมพันธ์โครงการ   ขนาด 1×3 เมตร  800 บาท× 1 ผืน                     =      800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 19 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 55,465.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง สามารถป้องกันตัวเองจากโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานได้
2. เพื่อให้เกิดเครือข่ายการทำงานในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อในชุมชนโดยมุ่งเน้นการ มีส่วนร่วมจากภาคีประชาชนเพื่อให้การแก้ไขปัญหามีความมั่นคงและยั่งยืน
3. เกิดกระแสของการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องในกลุ่มเสี่ยง รวมถึงประชาชนทั่วไปอีกด้วย
4. ส่งเสริมสุขภาพตามวิถีอิสลามซึ่งเป็นวิถีของการดำเนินชีวิตของประชาชนและประชาชาติอิสลามที่มีความสมบูรณ์แบบ ทันสมัยและได้ผล


>