กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละแมะนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการไข้เลือดออกป้องกันได้ด้วยตัวเรา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละแมะนา

ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนา

1. นางภัทรพร รัตนซ้อน
2. นางกัลยา สุวรรณรัตน์
3. นายรุซฟัยซาล อุเมะ
4. นางฮัสตานีย๊ะ หามาลา
5. นส.นูรฮูดาร์ วาเง๊าะ

ชุมชนตำบลตะโละแมะนา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

1.00

ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดใน การแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึง สภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการ แก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงาน ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กร ชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัด ดำเนินการ ปัจจุบันในตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี พบว่า ยังมีการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ปี 2562-2564 จำนวน 14,2,0 ตามลำดับ ดังนี้แม้จะไม่มีการระบาดเป็นวงกว้างและอัตราการป่วยลดลง แต่ยังจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อไม่ให้เกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.1 เพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก ในชุมชน และอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากค่ามาตรฐาน ลดความชุกของลูกน้ำยุงลายไม่ให้เกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ( HI< 10 และ CI= 0 ) 1.2 เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนและเครือข่ายตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดจากโรคไข้เลือดออก 1.3 เพื่อให้บุคลากรและประชาชนทั่วไปเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง
  1. ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบ้าน (Container Index=0) และบริเวณบ้าน (House Index=0)
  2. ผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลงเมื่อเทียบกับปีล่าสุด
1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/08/2022

กำหนดเสร็จ 23/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ  เป็นเงิน    500 บาท
  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.5 x 2.5 เมตร ตารางเมตรละ 300 บาท                 เป็นเงิน 900 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
24 สิงหาคม 2565 ถึง 24 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรายชื่อคณะทำงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1400.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์              เป็นเงิน  3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
26 สิงหาคม 2565 ถึง 26 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบ้าน (Container Index=0) และบริเวณบ้าน (House Index=0)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 50 คน ๆ ละ 60 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
25 สิงหาคม 2565 ถึง 25 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้เรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9100.00

กิจกรรมที่ 4 กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ่นหมอกควัน

ชื่อกิจกรรม
กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ่นหมอกควัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าน้ำมันในการพ่นหมอกควันจำนวน 80 ลิตรๆละ 35.44 บาท     เป็นเงิน 2,835.20 บาท
  • ค่าตอบแทนผู้ออกพ่นหมอกควันจำนวน 10 ครั้งๆละ 200 บาท  เป็นเงิน 2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
29 สิงหาคม 2565 ถึง 19 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลงเมื่อเทียบกับปีล่าสุด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4835.20

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,335.20 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี
2. มีบ้านตัวอย่าง แหล่งเรียนรู้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
3. ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ


>