กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพดีด้วยหลัก3อ.2ส.ป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน

เขต องค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

50.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

50.00

การสร้างเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพ เป็นพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ที่ทุกคนควรมีการปฏิบัติและปลูกฝังจนเป็นสุขนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ การมีความสุข ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ จากสถิติการเจ็บป่วยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดนตำบลควนโดน อำเภอควนโดนจังหวัดสตูล พบว่า อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มักพบผู้ป่วยมากที่สุดในอันดับต้นของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจากผลการดำเนินงานคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไป ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน ปี 2562 (มกราคม 62) กลุ่มเป้าหมายการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง 2,673 คน กลุ่มเป้าหมายการคัดกรองโรคเบาหวาน3,304คน พบว่าผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง2,099 คนพบกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 47.50ผลการคัดกรองโรคเบาหวาน 2,453 คน พบกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 14.80
ดังนั้นการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและสร้างโอกาสสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับประชาชนทุกกลุ่ม จะช่วยทำให้กลุ่มป่วยสามารถดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี กลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักและใช้ประสบการณ์ของผู้ป่วยคนอื่นๆในชุมชน เป็นตัวอย่างและปรับใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดโรคก่อนวัยอันควร ทั้งนี้การสร้างโอกาสดังกล่าวจึงจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การใช้แนวทางที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชนด้วยตนเอง ซึ่งอาจต้องรณรงค์ให้ประชาชนปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง โดยใช้หลัก ๓อ๒ส เช่น ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม รับประทานผักผลไม้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำจิตใจให้สงบ ลด ละ เลิกบุหรี่และสุรา รวมถึงการเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปกติอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดกระบวนการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม สอดคล้องกันไปอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดนได้ตระหนักถึงการเปิดโอกาสในการสร้างสุขภาวะของ ประชาชนในทุกกลุ่มเป้าหมาย จึงได้จัดทำโครงการสุขภาพดี ชีวีมีสุขประจำปี 2562 โดยนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค ๓อ๒ส ตามวิถีชุมชน เพื่อการมีสุขภาพดีโดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนวิถีด้านสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวและพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

50.00 50.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

50.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/08/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดพัฒนาทักษะการเรียนรู้แก่กลุ่มแกนนำ อสม./จนท.เพื่อการดำเนินงานโครงการและจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการจัดทำฐานการเรียนรู้ในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดพัฒนาทักษะการเรียนรู้แก่กลุ่มแกนนำ อสม./จนท.เพื่อการดำเนินงานโครงการและจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการจัดทำฐานการเรียนรู้ในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 ขั้นเตรียมการ 1.1 สำรวจและรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำและเสนอโครงการเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์ 1.2 จัดพัฒนาทักษะการเรียนรู้แก่กลุ่มแกนนำ อสม./จนท.เพื่อการดำเนินงานโครงการและจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการจัดทำฐานการเรียนรู้ในชุมชน -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆละ
50 บาท (จำนวน 2 มื้อ) เป็นเงิน  5000 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 25 บาท จำนวน 4  มื้อ
เป็นเงิน 5000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 สิงหาคม 2565 ถึง 23 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคด้วย 3อ2ส อย่างถูกต้องและเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หนุนเสริมทักษะชีวิตให้แก่กลุ่มเป้าหมายและการเรียนรู้จากคนต้นแบบ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค 3 อ2 ส ตามวิถีชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หนุนเสริมทักษะชีวิตให้แก่กลุ่มเป้าหมายและการเรียนรู้จากคนต้นแบบ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค 3 อ2 ส ตามวิถีชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หนุนเสริมทักษะชีวิตให้แก่กลุ่มเป้าหมายและการเรียนรู้จากคนต้นแบบ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค 3 อ2 ส ตามวิถีชุมชนตำบลควนโดน  ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2. ประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค โดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ
3. จัดกลุ่มบัดดี้ เพื่อการเสริมหนุนและการร่วมกิจกรรมเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 4. ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 สิงหาคม 2565 ถึง 29 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ประชาชนมีการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคด้วย ๓อ๒ส อย่างถูกต้องและเหมาะสม
2 กลุ่มเป้าหมายมีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันในชุมชน
3 กลุ่มเป้าหมายและประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค มีความตระหนักในการดูแลสุขภาพ และเกิดกระแสสุขภาพในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
4 หมู่บ้านได้รับการพัฒนาให้เป็นหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคอย่างยั่งยืนและเกิดนวัตกรรมสุขภาพในชุมชน


>