กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสตรีไทยห่างไกล มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน

เขตองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก

 

50.00
2 ร้อยละของประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านม

 

50.00

ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทยและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย คือ โรคมะเร็งตับ รองลงมาคือ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมตามลำดับ ในประเทศไทย โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 ราย พบมากที่สุดอายุระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช่จ่ายในการรักษาสูง การป้องกัน และควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก และในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม ปัจจุบัน มีวิธีการตรวจแบบเจาะลึกระดับ DNA ด้วยเทคนิค ‘HPV DNA Testing’ ที่สามารถค้นหาเชื้อเอชพีวีอย่างแม่นยำตั้งแต่ระยะแรก ทำให้สามารถรักษาได้ทันท่วงที ก่อนที่เชื้อจะพัฒนาเป็นมะเร็งปากมดลูกและการคัดกรองด้วยการทำ HPV DNA Testing ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ เนื่องจากโรคมะเร็งเป็นโรคที่เป็นแล้วจะทำให้เกิดอาการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร ซึ่งผู้ป่วยที่ไปรับการรักษาพยาบาลส่วนใหญ่มักจะไปรับการรักษาเมื่ออยู่ในระยะที่เป็นมากแล้ว ทำให้ผลการรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรแต่ในขณะเดียวกันโรคมะเร็งเป็นโรคหนึ่งที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ถ้าหากว่าได้รับการตรวจวินิจฉัยและมาพบแพทย์ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก ปัจจุบันสตรีจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความรู้ในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
จากการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60ปี ปีงบประมาณ 2564จำนวนทั้งหมด 1,195 คน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีการ pap smear จำนวน 479 คน คิดเป็นร้อยละ 40.08 ผลการตรวจปกติทุกคน และสตรีอายุ 30- 70 ปีได้รับการตรวจคัดกรองเต้านมด้วยเจ้าหน้าที่ และด้วยตนเอง ปีงบประมาณ 2564 จำนวน 1,448 คน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมจำนวน 1,409 คน คิดเป็นร้อยละ 97.31 ได้รับการส่งต่อจำนวน 25 คน ผลการตรวจซ้ำโดยแพทย์ยืนยันผลปกติ จำนวน 20 คนเฝ้าระวังและสังเกตอาการต่อเนื่อง จำนวน 5 คน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดนได้ตระหนักดีในบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคแก่ประชาชน เพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ประชาชน และเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายที่จะต้องดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง เป็นการสนองตามนโยบายประกันสุขภาพอีกทางหนึ่ง จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแบบยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก

ร้อยละของประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก ลดลง

50.00 50.00
2 ร้อยละของประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก ลดลง

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ มีความรู้ก่อนและหลังการอบรมและสามารถตรวจเต้านมได้ถูกต้อง  ร้อยละ 90

50.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 250
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/08/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดพัฒนาศักยภาพ ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่อาสาสมัครสาธารณสุข/แกนนำครอบครัว

ชื่อกิจกรรม
จัดพัฒนาศักยภาพ ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่อาสาสมัครสาธารณสุข/แกนนำครอบครัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำทะเบียนรายชื่อสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี

  2. จัดพัฒนาศักยภาพ ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่อาสาสมัครสาธารณสุข/แกนนำครอบครัว
    -ให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
    -สอนทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆละ
50 บาท (จำนวน 1 มื้อ) เป็นเงิน2,500 บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ
เป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 สิงหาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ มีความรู้ก่อนและหลังการอบรมและสามารถตรวจเต้านมได้ถูกต้องร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดพัฒนาศักยภาพ ความรู้แก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองและให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก

ชื่อกิจกรรม
จัดพัฒนาศักยภาพ ความรู้แก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองและให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดจัดพัฒนาศักยภาพ ความรู้แก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ในการการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองและให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก

  2. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ เช่น หอกระจายข่าว ป้ายประชาสัมพันธ์

  3. อสม. ให้ความรู้/สอนทักษะการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย

  4. ให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และแจ้งผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่ผู้รับบริการ

    5.ติดตามและส่งต่อ กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจคัดกรอง พบมีความผิดปกติเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและได้รับการรักษาตามมาตรฐานและต่อเนื่อง
    6.ประเมินผลการดำเนินงาน

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 200 คนๆละ 50 บาท (จำนวน 1 มื้อ)เป็นเงิน 10,000 บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 200 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ
เป็นเงิน 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 5 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ มีความรู้ก่อนและหลังการอบรมและสามารถตรวจเต้านมได้ถูกต้อง  ร้อยละ 90
  2. ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกได้รับการส่งต่อ ร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 1 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สตรีกลุ่มเป้าหมาย มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้รับการคัดกรองความผิดปกติ และได้รับการรักษา ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
2. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านม ระยะลุกลาม และลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม


>