กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย

นางปานิมาส รุยัน ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย

หมู่ที่ 2, 3, 4 , 5 ,6 และ 8 ตำบลโคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราความชุกของลุกน้ำยุงลายในบ้าน (ร้อยละ)

 

9.69
2 อัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายที่สำรวจพบในภาชนะ (ร้อยละ)

 

12.23

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง ซึ่งมียุงเป็นพาหะนำโรค สามารถพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี แต่มักพบการระบาดในฤดูฝนผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงลอยตลอดเวลาหน้าแดงปวดศีรษะเบื่ออาหารอาเจียนซึมถ้ารักษาไม่ทันอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. -20 มิ.ย. 65พบผู้ป่วย 5,196 ราย เสียชีวิต 6 ราย กลุ่มอายุพบมากที่สุดคือ อายุ 5-24 ปี รองลงมา อายุ 10-14 ปี ตามลำดับ การพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพ คาดว่าในช่วงนี้มีโอกาสพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น แม้ว่าจำนวนผู้ป่วย ณ ช่วงเวลาเดียวกันในปี 2565 จะมีรายงานผู้ป่วยน้อยกว่า ปี 2564 ก็ตาม แต่ประเทศไทยจะมีฝนตกหนักและฝนตกสะสมหลายพื้นที่ ซึ่งหากฝนตกอาจทำให้เกิดน้ำขังตามภาชนะและวัสดุต่างๆ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายได้ สำหรับจังหวัดพัทลุง ตั้งแต่ 1 มกราคม – 23 กรกฎาคม 2565 มีผู้ป่วย จำนวน 38 ราย คิดมีอัตราป่วย 7.2 ต่อแสนประชากร มี อำเภอเมืองพัทลุง คิดเป็นอัตราป่วย 5.8 ต่อแสนประชากร เป็นอันดับที่ 6 ของจังหวัด (สำนักงานสาธารณสุขจังฟวัดพัทลุง, 2565)
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย ตำบลโคกชะงายอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุงมีหมู่บ้านที่รับผิดชอบทั้งหมด 6 หมู่บ้านจำนวน 849 หลังคาเรือนโรงเรียน 1 แห่งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง วัด 2 แห่ง จากข้อมูลรายงาน 506 ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 กรกฎาคม 2565 ไม่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือด อัตราป่วยต่ำกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง ถึงแม้ไม่มีผู้ป่วยแต่ดัชนี้ลูกน้ำยุงลาย ทั้ง HI และ CI เกินค่ามาตรฐาน ทุกปีชุมชนได้ดำเนินการกิจกรรม ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในชุมชน ร่วมดำเนินการในรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและควบคุมโรคกรณีมีผู้ป่วย จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า ดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนยังเกินค่ามาตรฐาน (CI ≤10) ภาชนะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายส่วนใหญ่ เป็นภาชนะเหลือใช้บริเวณรอบบ้าน เช่น ยางรถยนต์ แก้วน้ำพลาสติก ขวดน้ำ เป็นต้น และยังพบว่าประชาชนในบางครัวเรือนยังขาดความตระหนักการจัดสภาพแวดล้อมทั้งในบ้านและรอบบ้านให้เรียบร้อย และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำที่บ้านของตนเองอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ตำบลโคกชะงายยังคงมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข ได้ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนจากโรคไข้เลือดออก จึงจัดโครงการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปี 2566 ขึ้น เพื่อดำเนินงานป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ โดยเน้นให้ชุมชนประชาชนโรงเรียนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ช่วยลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านส่งผลให้อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกในตำบลโคกชะงายลดลง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องโรคไข้เลือดออกและการป้องกันที่ถูกต้อง

ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและการป้องกัน ทำลายภาชนะเสี่ยงที่ถูกต้อง

1.00 1.00
2 เพื่อลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชน (CI) ไม่เกินร้อยละ 10

ลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชนไม่เกินร้อยละ 10

12.23 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3,192
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมให้ความรู้ประชาชนในหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมให้ความรู้ประชาชนในหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมให้ความรู้ประชาชนในหมู่บ้าน เวทีประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ประชาชนมีความรู้ กการป้องกันโรคไข้เลือดออกในครัวเรือนและชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์และควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์และควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าน้ำยาเคมีกำจัดยุง จำนวน 1 ลิตรๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ทรายกำจัดลูกน้ำยุง (แบบซองชา) 4 ถังๆละ 4,500 บาท เป็นเงิน 18,000 บาท
  • โลชั่นทากันยุง จำนวน 45 หลอด ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ุ60 คน ๆ จำนวน 2 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ุ60 คน ๆ จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าป้ายรณรงค์ ขนาด 1.5 x 2.5 เมตร ตรม.ละ 180 บาท จำนวน 2 ป้าย เป็นเงิน 1,350 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชนไม่เกินร้อยละ 10
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,800.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ทุกหลังคาเรือนทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
- ลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชนไม่เกินร้อยละ 10
- ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและการป้องกัน ทำลายภาชนะเสี่ยงที่ถูกต้อง


>