กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ พ่อแม่ยุคใหม่ก้าวทันโลกยุค 4.0

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็ง

1) นายดานิช ดิงปาเนาะ
2) นางสาวโนรฮายาตี เจะดือราแม
3) นางสาวโสภา นิลน้อย
4) นางซีหต๊ะ อาแวตาโละ
5) นางสาวฮัลยา อามิง

ประชาชนเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็ง ตำบลมะรือโบออก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

วัยเริ่มเจริญพันธุ์ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพซึ่งกายของเด็กเจริญเต็มที่สู่กายผู้ใหญ่ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางอวัยวะสืบพันธุ์เพื่อให้พร้อมแก่การปฏิสนธิได้ วัยเริ่มเจริญพันธุ์เริ่มจากสัญญาณฮอร์โมนจากสมองไปยังต่อมบ่งเพศ คือ รังไข่ในเด็กหญิงต่อมบ่งเพศ สนองต่อสัญญาณดังกล่าวโดยผลิตฮอร์โมนซึ่งกระตุ้นความต้องการทางเพศ (libido) และการเติบโต การทำหน้าที่ และการแปรรูปของสมอง กระดูก กล้ามเนื้อ เลือด ผิวหนัง ขน หน้าอกและอวัยวะเพศ การเติบโตทางกาย ความสูงและน้ำหนักเร่งเร็วขึ้นในครึ่งแรกของวัยเริ่มเจริญพันธุ์และเสร็จเมื่อเด็กนั้นพัฒนากายผู้ใหญ่ ความแตกต่างระหว่างเด็กชายและเด็กหญิงก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์อย่างเดียว คือ อวัยวะเพศภายนอก จนกว่ามีการเจริญเต็มที่ของสมรรถภาพสืบพันธุ์
โดยปกติเด็กหญิงเสร็จวัยเริ่มเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 15-17 ปี จุดกำหนดสำคัญของวัยเริ่มเจริญพันธุ์ของหญิง คือ การเริ่มแรกมีระดู หรือการเริ่มมีประจำเดือน ซึ่งโดยเฉลี่ยเกินระหว่างอายุ 12-13 ปี การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ ได้มีเพศสัมพันธ์ ทั้งพร้อมและไม่พร้อม เมื่อหญิงวัยเจริญพันธ์มีการตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยา มีการเปลี่ยนทางอารมณ์และร่างกายมีความต้องการสารอาหารเพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์กับทารกที่อยู่ในครรภ์ ปัจจุบันจะพบหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง ถือว่าเป็นปัญหาที่รุนแรง อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เอง และทารกในครรภ์ด้วยภาวะเสี่ยงของหญิงที่ตั้งครรภ์ได้แก่ ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซีด มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกคลอดมักมีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม มีอัตราการตายขณะคลอดและหลังคลอดสูง มารดาตกเลือดหลังคลอดมีโอกาสติดเชื้อระยะหลังคลอดสูง และมีโอกาสติดเชื้อในกระแสเลือดสูง เช่นกัน สาเหตุสำคัญของภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่ การขาดสารอาหารจำพวกธาตุเหล็กและกรดโฟลิค หญิงตั้งครรภ์ยังมียังมีความเสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่างๆ เช่นโรคเอดส์ ดังนั้นการป้องกันและการสร้างการเรียนรู้ให้หญิงวัยเจริญพันธ์ส่งผลให้หญิงวัยเจริญพันธ์เห็นความความสำคัญในการดูแลสุขภาพตนเอง และเมื่อตั้งครรภ์ก็สามารถจัดการดูแลสุขภาพตนเองได้โดยการฝากท้องอย่างรวดเร็วที่สุด (ก่อน 12 สัปดาห์) จากสถิติ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็ง พบว่า ในปีงบประมาณ 2560 2561 และ2562 หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้รับการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ร้อยละ82.4, 83.95 และ89.71 ตามลำดับ นับว่าอยู่ในระดับที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดแต่ยังมีส่วนที่ยังไม่ได้มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง ประกอบกับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์เป็นตัวชี้วัดที่ใช้วัดการดำเนินงานหน่วยบริการปฐมภูมิ ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็ง จึงได้จัดทำโครงการพ่อแม่ยุคใหม่ก้าวทันโลกยุค 4.0 นี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพวัยเจริญพันธ์ในการเตรียมตัวเป็นพ่อแม่ยุค 4.0

.หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ มากกว่า ร้อยละ 60
2.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์ มากกว่าร้อยละ 80
3.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการเรียนรู้จากโรงเรียนพ่อแม่ มากกว่าร้อยละ 80

100.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 59
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้แบบ สร้างประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องโรงเรียนพ่อแม่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้แบบ สร้างประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องโรงเรียนพ่อแม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เขียนโครงการเพื่อเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.มะรือโบออก
2.เตรียมวางแผนการจัดกิจกรรมต่างๆตามโครงการฯ
3.ทำหนังสือเพื่อเสนอขออนุมัติแผนการจัดโครงการจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส
4.ทำขออนุมัติจัดซื้อจัดจ้างวัสดุต่างๆ
5.ทำหนังสือเพื่อเสนอขออนุมัติการจัดโครงการจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
6.จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้แบบสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับการเตรียมตัวเป็นพ่อแม่ยุค 4.0 7.สรุปโครงการฯ
กำหนดการอบรม 08.30 น- 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้ารับการอบรม 09.00 น- 09.30 น. ละลายพฤติกรรม 09.30 น- 10.30 น. “ธรรมชาติของหญิงวัยเจริญพันธ์” 10.30 น- 12.00 น. “ย้อนรอยวัยรุ่น” 12.00 น- 13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น- 16.00 น. "โรงเรียนพ่อแม่" หมายเหตุ
เวลา 10.00 น- 10.15 และ 14.30 น.-14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 59 คน
x25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 2,950 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 59 คน x 60 บาทx 1 มื้อ x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,540 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร 600 x 6 ชม. เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 5,900 บาท 1) ค่าแฟ้มกระดุม 59 ใบ x 80 บาท = 4,720 บาท 2) ค่าสมุดปกแข็ง 59 เล่ม x 15 บาท = 885 บาท 3) ค่าปากกาลูกลื่น 59 ด้าม x 5 บาท = 295 บาท - ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1x2 เมตร จำนวน 1 แผ่นเป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ มากกว่า ร้อยละ 60
2.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์ มากกว่าร้อยละ 80
3.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการเรียนรู้จากโรงเรียนพ่อแม่ มากกว่าร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16490.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,490.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
2.เกิดโรงเรียนพ่อแม่


>