กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่าด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย

1. นายมิตร นวนชุม
2. นางละเอียด สุวรรณชาตรี
3. นางสมจิต ชูแก้ว
4. นางสาวรัตนา กาญจนสิงห์
5. นางวรรณา ทองด้วง

หมู่ที่ 2, 3, 4, 5, 6 และ 8 ตำบลโคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีปัญหาปวดเข่าที่มารับบริการสถานบริการสาธารณสุข

 

8.97
2 ร้อยละผู้สูงอายุทีมีปัญหาปวดเข่าซื้อยาที่การปนเปื้อนสารสเตียร์รอยด์มากิน

 

0.41

สถานการณ์แนวโน้มของประเทศไทยมีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น และกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ ซึ่งเป็นบุคคลที่มีสภาพร่างกายที่เสื่อมและถดถอยลงเป็นผลที่ทำให้โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ สามารถเข้ามาเบียดเบียนได้ง่าย จึงควรมีการสร้างระบบการดูแลสุขภาพเพื่อรองรับสถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหาโรคปวดเข่า โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นความเจ็บป่วยเรื้อรังที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เป็นปัญหาที่ทำให้ผู้สูงอายุทำให้เกิดความลำบากในการเคลื่อนไหวอันเป็นภาระต่อตนเองและผู้ดูแลก่อให้เกิดปัญหาทางคุณภาพชีวิตและจิตใจ อีกทั้งสูญเสียเวลาและค่ารักษาเป็นจำนวนมาก สถานการณ์โรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย5 ปีย้อนหลัง พบว่ากลุ่มอาการเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อ ได้แก่ อาการโรคปวดเมื่อย ปวดข้อ ข้อเข่าเสื่อม เป็นกลุ่มโรคที่เป็นสาเหตุการป่วยในลำดับ 1 ใน 10 มาตลอด ในปีงบประมาณ 2565 อยู่ในลำดับที่ 5 มีผู้ป่วยด้วยโรคระบบกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดเข่า จำนวน 271 ราย จากผู้ป่วยทีมารับบริการทุกกลุ่มโรค 3,018 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.97 ของผู้ป่วยที่มารับบริการทั้งหมด โดยสภาพผู้ป่วยจะเป็นปัญหาโรคเรื้อรัง มีการใช้ยาลดบรรเทาปวด (N-SAID) ซึ่งเป็นยาแผนปัจจุบันอยู่เป็นประจำ ซึ่งเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังและอาจเป็นอันตรายทำให้ค่าไตเสื่อมเร็วขึ้น
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาโรคข้อเข่าเสื่อม จึงได้จัดทำส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า ด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย เพื่อหวังที่จะให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม ลดปัญหาการใช้ยาแผนปัจจุบันโดยเน้นการดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้นตามแนวทางแพทย์แผนไทย ซึ่งไม่ต้องใช้ยาซึ่งอาจมีผลข้างเคียงต่อผู้สูงอายุ สามารถดำรงชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปได้มีความสุข

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาปวดเข่าหรือโรคเข่าเสื่อมมีความรู้เกี่ยวกับโรคเข่าเสื่อม

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาปวดเข่าหรือโรคเข่าเสื่อมมได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคเข่าเสื่อม ร้อยละ 100

50.00 100.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาปวดเข่า หรือโรคข้อเข่าเสื่อมมีทักษะการดูแลสุขภาพเข่าของตนเองด้วยสมุนไพร

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาปวดเข่า หรือโรคข้อเข่าเสื่อมมีทักษะการดูแลสุขภาพเข่าดของตนเองด้วยสมุนไพร ร้อยละ 100

50.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้สูงอายุที่มีปัญหาปวดเข่า 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมและฝึกปฏิบัติการดูแลสุขภาพข้อเข่าด้วยสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
อบรมและฝึกปฏิบัติการดูแลสุขภาพข้อเข่าด้วยสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร จำนวน 2 คนๆละ 3ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่ายาสมุนไพรพอกเข่า จำนวน 50 คนๆละ 2 ชุดละ 70 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท
  • ค่าลูกประคบ จำนวน 25 ลูกๆละ 75 บาท เป็นเงิน 1,875 บาท
  • ค่าพลาสติกพันเข่า จำนวน 10 ม้วนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้สูงอายุที่มีปัญหาปวดเข่าหรือโรคเข่าเสื่อมได้รับความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพข้อเข่าด้วยสมุนไพร ร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17975.00

กิจกรรมที่ 2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปฏิบัติการดูแลสุขภาพข้อเข่าด้วยสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปฏิบัติการดูแลสุขภาพข้อเข่าด้วยสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้สูงอายุทุกคนที่มีปัญหาปวดเข่ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปฏิบัติการดูแลสุขภาพข้อเข่าด้วยสมุนไพร
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,975.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาปวดเข่าหรือโรคเข่าเสื่อมได้รับความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพข้อเข่าด้วยสมุนไพร
ผู้สูงอายุทุกคนที่มีปัญหาปวดเข่ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปฏิบัติการดูแลสุขภาพข้อเข่าด้วยสมุนไพร


>