กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำ อสม.น้อย นักจัดการสุขภาพตำบลโคกชะงาย ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านโคกชะงาย

1. นางอุไร พงค์จันทร์เสถียร
2. นางเพ็ญ ขาวมาก
3. นายชรินทร์ หนูเกื้อ
4. นางวรรณดี ช่วยมั่ง
5. นางสาวชนม์นิภา ธรรมเพชร

หมู่ที่ 2,3,4,5,6 และ 8 ตำบลโคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนแกนนำ อสม.น้อย นักจัดการสุขภาพในตำบล

 

0.00
2 จำนวนเด็กและเยาวชนได้รับการอบรมการดูแลสุขภาพสมาชิกในครอบครัว

 

5.00

การสร้างเสริมและป้องกันโรค สามารถดำเนินการทั้งบุคคล ครอบครัว ชุมชน โดยจำเป็นต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจของโรคและกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในชุมชนต่างๆของตำบล ทั้งจากผู้ใหญ่และเยาวชน สามารถเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมด้านสุขภาพ การสื่อสารข่าวสาธารณสุขการแนะนําเผยแพร่ความรู้พื้นฐานได้ เช่น การส่งเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวัง และการป้องกันโรคการช่วยเหลือและรักษาพยาบาลขั้นตอนโดยใช้ยา และเวชภัณฑ์ รวมทั้งการปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง ปัจจุบันเด็กและเยาวชนมีบทบาทการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนให้ร่วมกันดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชนให้ปลอดภัยจากโรคและภัยสุขภาพ การปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนหันมาศึกษาบริบทของชุมชน ทราบข้อมูลโรคและภัยสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชน เป็นการกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมการดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัว โรงเรียน และชุมชน ฝึกให้เยาวชนมีจิตอาสาร่วมกิจกรรมสร้างเสริมให้ชุมชนน่าอยู่ ห่างไกลจากโรคต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมให้เด็กมีความรู้การจัดการสุขภาพของสมาชิกในครัวเรือน ด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคระบาด และงานคุ้มครองผู้บริโภค
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายเล็งเห็นกลุ่มเยาวชนเป็นกำลังสำคัญการทำให้ชุมชนน่าอยู่ในอนาคตข้างหน้า ตำบลโคกชะงายยังไม่มี อสม.น้อย นักจัดการสุขภาพ จึงจัดโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำ อสม.น้อย นักจัดการสุขภาพตำบลโคกชะงาย ปี 2566 ขึ้น เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมและสร้างกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ ตระหนักถึงความสําคัญของปัญหาสาธารณสุขทั้งในหมู่บ้าน/ชุมชน และให้เยาวชนมีความรู้และสามารถถ่ายทอดความรู้ต่อให้กับเยาวชนในโรงเรียน ชุมชน และหมู่บ้าน ได้ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำ อสม น้อย มีความรู้การจัดการสุขภาพ (โรคไม่ติดต่อ โรคระบาด และงานคุ้มครองผู้บริโภค)

แกนนำ อสม น้อย มีความรู้การจัดการสุขภาพ (โรคไม่ติดต่อ โรคระบาด และงานคุ้มครองผู้บริโภค)ร้อยละ 80

0.00 80.00
2 เพื่อให้ตำบลโคกชะงายมีแกนนำ อสม. น้อย นักจัดการสุขภาพในชุมชน

ตำบลโคกชะงายมีแกนนำ อสม. น้อย นักจัดการสุขภาพในชุมชน จำนวน 50 คน

5.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพแกนนำ อสม.น้อย นักจัดการสุขภาพ (ฐานการเรียนรู้ 3 ฐาน :โรคไม่ติดต่อ โรคระบาดงานคุ้มครองผู้บริโภค)

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพแกนนำ อสม.น้อย นักจัดการสุขภาพ (ฐานการเรียนรู้ 3 ฐาน :โรคไม่ติดต่อ โรคระบาดงานคุ้มครองผู้บริโภค)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร จำนวน 3 คนๆละ 3ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 5,400 บาท
  • อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท
  • ป้ายไวนิล ขนาด 1.5 x 2 เมตร ตรม.ละ 180 บาทจำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 540 บาท
  • สมุดบันทึก จำนวน 50 เล่มๆละ 20 บาทเป็นเงิน 1,000 บาท
  • ประกาศนียบัตร จำนวน 50 ชิ้นๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำ อสม น้อย มีความรู้การจัดการสุขภาพ (โรคไม่ติดต่อ โรคระบาด และงานคุ้มครองผู้บริโภค)  ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10690.00

กิจกรรมที่ 2 อสม. น้อย นักจัดการสุขภาพลงปฎิบัติงาน

ชื่อกิจกรรม
อสม. น้อย นักจัดการสุขภาพลงปฎิบัติงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อสม. น้อย นักจัดการสุขภาพลงปฎิบัติงานในครอบครัว/ชุมชน ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อย. น้อย นักจัดการสุขภาพทุกคนปฏิบัติงานในครอบครัว/ชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 แลกเปลี่ยนปฏิบัติงาน อย. น้อย นักจัดการสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
แลกเปลี่ยนปฏิบัติงาน อย. น้อย นักจัดการสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อย. น้อย นักจัดการสุขภาพทุกคนเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปฏิบัติงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,940.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- แกนนำ อสม น้อย มีความรู้การจัดการสุขภาพ (โรคไม่ติดต่อ โรคระบาด และงานคุ้มครองผู้บริโภค)ร้อยละ 80
- ตำบลโคกชะงายมีแกนนำ อสม. น้อย นักจัดการสุขภาพสามารถให้ความรู้กับสมาชิกในครอบครัวหรือในชุมชนได้


>