กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เปาะเส้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ชุมชนปลอดสารเคมีบริโภคอาหารปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เปาะเส้ง

กำนันผู้ใหญ่บ้าน ตำบลเปาะเส้ง

ตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันนี้ผักและผลไม้ที่วางขายอยู่ตามท้องตลาดนั้นล้วนแล้วแต่มีสารปนเปื้อนทั้งนั้น เนื่องจากเกษตรกรจำนวนไม่น้อยได้นำวัตถุมีพิษ(สารเคมี)มาใช้เพื่อเร่งปริมาณผลผลิตเพื่อให้ได้จำนวนมากขึ้น บางครั้งเกษตรกรใช้สารเคมีเกินคำแนะนำและเก็บเกี่ยวผลผลิตจำหน่ายก่อนระยะเวลาที่กำหนด ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงคือผู้บริโภค ซึ่งไม่ได้เห็นพฤติกรรมดังกล่าว จึงทำให้เกิดปัญหาต่อมนุษย์และสภาพแวดล้อมของประเทศ เช่น มีสารเคมีตกค้างในร่างกาย ทำให้เกิดความผิดปกติในร่างกายอาจก่อให้เกิดอาการผิดปกติต่อระบบทางเดินอาหารและระบบประสาทอย่างร้ายแรง ร่างกายอ่อนแอ และทรุดโทรม อาจเกิดอันตรายต่อชีวิตได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในเรื่องการเลือกบริโภคอาหารปลอดสารเคมี
2. เพื่อให้ประชาชนไม่เจ็บป่วยด้วยโรคจากสารเคมีตกค้างในร่างกาย
3. เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารปลอดสารเคมี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 200
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เรื่องอันตรายจากสารเคมีและการบริโภคอาหารปลอดสารเคมี

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เรื่องอันตรายจากสารเคมีและการบริโภคอาหารปลอดสารเคมี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 200  คนๆละ 50  บาท            เป็นเงิน  10,000   บาท
  • ค่าอาหารว่างจำนวน 200  คนๆละ 25 บาท 2 มื้อ          เป็นเงิน  10,000   บาท
  • ค่าวิทยากรในการให้ความรู้ 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท                เป็นเงิน    3,600   บาท
  • ค่าจ้างเหมาเครื่องเสียงสำหรับจัดอบรม                      เป็นเงิน    1,000   บาท
  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.5 x 3 เมตร                      เป็นเงิน    1,125   บาท
  • ค่าแฟ้มใส่เอกสาร จำนวน 200 อันๆละ 13 บาท                  เป็นเงิน    2,600   บาท
  • ค่าสมุด  จำนวน 200 เล่มๆละ  5 บาท                          เป็นเงิน    1,000   บาท
  • ค่าปากกา  จำนวน 200 ด้ามๆละ 5 บาท                        เป็นเงิน    1,000   บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30325.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,325.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในตำบลมีความรู้ในเรื่องการเลือกบริโภคอาหารปลอดสารเคมี
2. ประชาชนในตำบลไม่เจ็บป่วยด้วยโรคจากสารเคมีตกค้างในร่างกาย
3. ประชาชนในตำบลได้บริโภคอาหารปลอดสารเคมี


>