กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็กและเยาวชน 66

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม (ทต.ปาเสมัส)

โรงเรียนบเานตือระมิตรภาพที่ 172

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เพศชายเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายควรที่จะสามารถรูดจนเผยให้เห็นถึงบริเวณ หัวของอวัยวะส่วนสำคัญได้ทั้งหมด และสามารถรูดกลับได้โดยที่ไม่เจ็บหรือเกิดความยากลำบาก เพื่อสุขอนามัยที่ดีในการดูแลอวัยวะส่วนสำคัญนี้ เนื่องจากหากไม่สามารถรูดเปิดออกมาได้หมดก็จะทำให้ไม่สามารถล้างสิ่งสกปรก ที่หมักหมมอยู่ภายใต้หนัง อันประกอบด้วยเหงื่อ คราบปัสสาวะ ขี้ไคล ทำให้เกิดคราบขาวๆ ที่เราเรียกว่า ขี้เปียก เกิดขึ้นได้ และปัจจุบันได้มีการวิจัยไว้ว่าการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายมีผลดีต่อทางการแพทย์ สามารถลดการเกิดโรคได้ เช่น ลดโอกาสที่จะติดโรคทางเดินปัสสาวะมากกว่าเด็กที่ไม่ได้ขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศ นอกจากนี้แล้ว และการติดเชื้อแบคทีเรียจากสิ่งสกปรกที่หมักหมมอยู่ภายใต้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย การศึกษายังแสดงให้เห็นว่าคนที่ตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศมีอัตราเสี่ยงต่อการติดโรคทางเพศน้อยมาก ส่วนผู้ชายที่ไม่ตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศนั้นจะมีโอกาสติดเชื้อมากกว่าเพราะในระหว่างการมีความสัมพันธ์ทางเพศนั้น หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศสามารถถลอกออกหรือเป็นแผลเล็กๆ ที่ทำให้เชื้อไวรัสเข้าไปในบาดแผลนั้นได้ ซึ่งหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศอาจจะปล่อยให้ไวรัสและเชื้อโรคอื่นๆ สามารถอยู่รอดได้ยาวนานกว่า ที่อยู่ข้างนอกและมีเวลามากกว่าที่จะเข้าไปในร่างกาย
ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน ได้เห็นความสำคัญของการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย และเข้าถึงบริการสาธารณสุข ด้านการสุขภาพและการป้องกันโรค เทศบาลตำบลปาเสมัส จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็กและเยาวชน ปี งบประมาณ 2566” เพื่อสนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคในกลุ่มเด็กและเยาวชนในตำบลปาเสมัสขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการติดเชื้อในทางเพศสัมพันธ์

ลดอัตราการติดเชื้อในทางเพศสัมพันธ์

30.00 5.00
2 เพื่อรณรงค์ ทำความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ

รณรงค์ ทำความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ

20.00 3.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน 120
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 29/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการขลิบ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการขลิบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 220 คน     จำนวนเงิน 6000 บาท
  2. ค่าป้ายไวนิล  ขนาด 1.5-*2 จำนวนเงิน 750 บาท
  3. ค่าวิทยากร 1 คน ชม. ละ 600 บาท 1 ชม. จำนวนเงิน  600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7350.00

กิจกรรมที่ 2 ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะของเพศในเด็กและเยาวชนในตำบล

ชื่อกิจกรรม
ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะของเพศในเด็กและเยาวชนในตำบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าผ้าขาวม้าใช้ในการทำหัตกรรมเ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ  จำนวน 100 ผืน ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 8000 บาท
  2. ค่าจ้างหัตถการ จำนวน 800 บาท/คนเป็นเงิน 80000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กได้รับการทำหัตถการได้ทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
88000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 95,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>