กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละแมะนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย สุขกาย สุขใจ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละแมะนา

ชมรมผู้สูงอายุตำบลตะโละแมะนา

1.นายนิพนธ์ บัวจันทร์
2. นางจินดา บัวจันทร์
3. นางจำเนียร จุลบุตร
4. นายพร้อม สินทวี
5. นางสมปอง ปานทอง

ตำบลตะโละแมะนา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

 

1.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)

 

1.00
3 จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองแล้วมีภาวะซึมเศร้าและกังวล(คน)

 

1.00
4 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

1.00

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศไทย ทำให้ประชากรในวัยผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม มีผลให้ลักษณะครอบครัวไทยเปลี่ยนจากครอบครัวขยาย ไปสู่ครอบครัวเดี่ยว ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวลดลง จำนวนผู้ที่จะทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวลดลง มีเวลาให้ผู้สูงอายุลดลง ขาดการให้ความรักและความอบอุ่น ผู้สูงอายุจึงถูกทอดทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยว ดำเนินชีวิตเพียงลำพัง จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมในปัจจุบัน ทั้งในด้านความคิด ความเข้าใจ และค่านิยมต่างๆ ซึ่งก่อให้ผู้สูงอายุเกิดความน้อยใจ ความเครียด ความคับข้องใจ แยกตัวออกจากสังคม ขาดสัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัว ท้อแท้และเบื่อหน่ายในชีวิต ประกอบกับวัยสูงอายุเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ ต้องออกจากงาน มีรายได้ลดลง ภาวะสุขภาพเสื่อมลง มีโรคทางกายเพิ่มมากขึ้น มีสารชีวเคมีและฮอร์โมนลดลง การสูญเสียสิ่งสำคัญของชีวิต เช่น การสูญเสียคู่ชีวิตเพราะตายจาก การสูญเสียบุตรเพราะแยกไปมีครอบครัว การสูญเสียตำแหน่งหน้าที่การงาน การสูญเสียสถานภาพหรือบทบาททางสังคม ตลอดจนการสูญเสียการเป็นที่พึ่งของครอบครัว สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้สูงอายุและหากผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบุคคลใกล้ชิดด้วยแล้ว จะยิ่งส่งเสริมให้ผู้สูงอายุว้าเหว่มีภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลงจนเกิดความรู้สึกสิ้นหวัง แยกตัวออกจากสังคม เป็นผลให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ทางชมรมผู้สูงอายุตำบลตะโละแมะนา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย สุขกาย สุขใจ ประจำปี 2565 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพกายและจิตใจของผู้สูงอายุ
2. เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุในการทำกิจกรรมร่วมกัน
3. เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับผู้สูงอายุในบั้นปลายของชีวิต

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 35
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่อง 5 สุข

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่อง 5 สุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายโครงการฯขนาด 1x3 เมตร จำนวน 1 ผืน              เป็นเงิน      900 บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน   จำนวน 35 คนๆละ 60 บาท               เป็นเงิน    2,100 บาท
    • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 35 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ     เป็นเงิน    1,750  บาท
    • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท          เป็นเงิน       3,600 บาท
    • ค่าเอกสาร จำนวน 30 ชุดๆละ 50 บาท                  เป็นเงิน       1,500 บาท รวมเป็นเงิน 9,850 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 1 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9850.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน 3. กิจกรรมเพื่อนเยี่ยมเพื่อน

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน 3. กิจกรรมเพื่อนเยี่ยมเพื่อน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ                เป็นเงิน 2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กันยายน 2565 ถึง 9 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง ได้รับการเยี่ยมบ้าน ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพใจ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุ อุปกรณ์ (สมุด ดินสอ ปากกา สี )                  เป็นเงิน 1,950 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
7 กันยายน 2565 ถึง 7 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

3.ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตดี ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1950.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรม อผส.น้อย ดูแลผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อผส.น้อย ดูแลผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน   จำนวน 35 คนๆละ 60 บาท               เป็นเงิน  2,100 บาท
  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 35 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ     เป็นเงิน  1,750  บาท
  • ค่าวัสดุในการจัดกิจกรรม                      เป็นเงิน  1,500 บาท
  • ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท                  เป็นเงิน  3,600 บาท รวมเป็นเงิน 8,950 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กันยายน 2565 ถึง 16 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

4.ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน/ติดเตียง ได้รับการดูแลจาก อผส.น้อย ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุได้รับการดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ
2. มีการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุในการทำกิจกรรมร่วมกัน
3. เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้สูงอายุในบั้นปลายของชีวิต


>