กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลาโละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการออกกำลังกาย ต้านภัยบุหรี่ เพื่อชาวลาโละสุขภาพดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลาโละ

ชมรมอาสามสมัครสาธารณสุขตำบลลาโละ

องค์การบริหารส่วนตำบลลาโละ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันระบบสุขภาพของไทยที่เน้นการ "สร้าง" มากกว่าการ "ซ่อม" สุขภาพ ซึ่งเป็นการเน้นระบบสุขภาพเชิงรุกและการสร้าง สุขภาพเนื่องจากประชาชนป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการออกกำลังกายจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนเรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง การออกกำลังกายมีหลายวิธีตามแต่ความเหมาะสม และความต้องการของแต่ละบุคคล แต่ที่เหมาะสมที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ คือการออกกำลังกายด้วยการเดิน – วิ่งช้าๆ ซึ่งจะทำให้เปผลดีต่อสุขภาพ ร่างกาย และจิตใจ นอกจากนี้การสูบบุหรี่จะส่งผลกระทบสุขภาพอีกเช่นกัน ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการเป็นคู่ขนานกันกับการรณรงค์ ลด ละ เลิกบุหรี่ ทางชมรมอาสามสมัครสาธารณสุขตำบลลาโละได้เล็งความสำคัญ จึงได้จัดโครงการส่งเสริมการออกกำลังกาย ต้านภัยบุหรี่ เพื่อชาวลาโละสุขภาพดี โดยส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการออกกำลังกายที่ถูกต้อง การรณรงค์ลด ละ เลิกบุหรี่ ตลอดจนเพื่อสร้างกระแสและความตื่นตัวให้กับประชาชนในการออกกำลังกายและการ ลด ละ เลิกบุหรี่ในตำบลลาโละ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการออกกำลังกายที่ถูกต้อง

1.จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ ในการออกกำลังกาย และการรณรงค์ลด ละ เลิกบุหรี่ที่ถูกต้อง

80.00
2 2. เพื่อสร้างกระแสและความตื่นตัวให้กับประชาชนในการออกกำลังกายและการรณรงค์ลด ละ เลิกบุหรี่

2.จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ

90.00
3 3.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

ประชาชนมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 700
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/09/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.จัดเวทีอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การส่งเสริมการออกกำลังกายและการลด ละ เลิกบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
1.จัดเวทีอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การส่งเสริมการออกกำลังกายและการลด ละ เลิกบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 750 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท  เป็นเงิน 37,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 750 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 37,500 บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการและป้ายประชาสัมพันธ์ เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
80000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 80,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการออกกำลังกายที่ถูกต้อง
2.สามารถสร้างกระแสและความตื่นตัวแก่ประชาชนในการออกกำลังกาย
3.ประชาชนมีการออกกำลังกายได้อย่างต่อเนื่องส่งผลให้สุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ


>