กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกัน ลด ละ เลิกสูบบุหรี่ ปี 4

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ

กลุ่มศิลานารี หมู่ที่ 4 ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา

นางวิลัยพร จำรูญศรีกลุ่มศิลานารี หมู่ที่ 4 ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา

หมู่ที่ 2 บ้านคลองน้ำใส 40 คน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาทางสุขภาพที่ร้ายแรง บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะนักเทคนิคการแพทย์ ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างสำคัญ ในการรณรงค์เพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ มุ่งให้มีการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ เนื่องจากการงดบริโภคยาสูบหรือการหยุดสูบบุหรี่ จะทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ สุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ได้ ของสมาชิกในครอบครัว และของผู้อื่นในสังคมดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวและประเทศชาติในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย ที่มีสาเหตุแห่งความเจ็บป่วยมาจากการบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนการควบคุมการบริโภคยาสูบ หรือการเลิกสูบบุหรี่มาอย่างต่อเนื่อง โดยจัดให้มี “วันงดสูบบุหรี่โลก” (World No Tobacco Day) ขึ้นใน วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา องค์การอนามัยโลกได้มุ่งเน้นให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมการบริโภคยาสูบ โดยสนับสนุนให้บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขทุกสาขาอาชีพ ร่วมมือกันก่อตั้ง “เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่” อันประกอบไปด้วย 7 สาขาวิชาชีพ ในระยะแรก ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล สาธารณสุข เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด ซึ่งต่อมาเครือข่ายฯ ได้ขยายออกไปเป็น 17 วิชาชีพ ที่เพิ่มมาอีก 10 วิชาชีพ ได้แก่ หมออนามัย จิตวิทยาคลินิก แพทย์แผนจีน แพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ รังสีเทคนิค เวชนิทัศน์ สัตวแพทย์ เวชศาสตร์การกีฬา และศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ โดยมีเป้าหมายในการร่วมมือกันรณรงค์ต่อต้านพิษภัยควันบุหรี่ จัดกิจกรรมควบคุมการบริโภคยาสูบ และรณรงค์การลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ เพื่อให้การต่อต้านพิษภัยควันบุหรี่ มีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง สัมฤทธิผล และนำไปสู่เป้าหมาย “สังคมไทยปลอดบุหรี่” ได้ในที่สุด
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่า แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ประมาณ 5 ล้านคน ซึ่งเทียบเท่ากับเดือนละเกือบ 11,000 คน หรือวันละ 8 คน และในบุหรี่มีสารเคมี 4,000 กว่าชนิด เช่น formaldehyde (สารเคมีที่ใช้ดองศพ) carbon monoxide (เช่นเดียวกับควันจากท่อไอเสียเครื่องยนต์) สาร acetone (สารเคมีที่ใช้ล้างเล็บ) ซึ่งสารเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นอันตรายต่อสุภาพทั้งต่อผู้สูบเองและผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากผู้ที่ได้รับควันบุหรี่เป็นเด็ก ก็จะยิ่งเป็นอันตรายมากขึ้น เนื่องจากเด็กยังมีภูมิต้านทางโรคค่อนข้างต่ำ และยังไม่สามารถป้องกันตนเองจากการได้รับควันบุหรี่จากผู้ใหญ่ได้ นอกจากนั้น งานวิจัยยังพบว่า ในแต่ละปีมีคนไทยเสียชีวิต จากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ปีละ 52,000 คน หรือชั่วโมงละ 6 คน และผู้ที่ติดบุหรี่ส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เริ่มสูบและติดบุหรี่ ตั้งแต่ยังอยู่ในวัยรุ่น ในช่วงอายุ 11-18 ปี โดยยังสูบต่อเนื่องไปจนอยู่ในวัยเยาวชน ในช่วงอายุ 19-25 ปี และผู้ใหญ่ตอนต้น ในช่วงอายุ 25-35 ปี

ซึ่งกลุ่มศิลานารีหมู่ที่ 4 ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ในฐานะที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด ได้เห็นถึงความสำคัญในการจัดกิจกรรมจากการสำรวจประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ผ่านระบบข้อมูล TCNAP พบว่า ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านบาละมีจำนวน 839 คน ชาย 445 คน หญิง 394 คน กลุ่มศิลานารี จึงได้จัดทำ “โครงการ ป้องกัน ละเลิกสูบ ก็เจอสุข ปี 4” เพื่อให้เด็ก เยาวชน ห่างไกลจากการสูบบุหรี่ และรณรงค์ให้ผู้ที่กำลังสูบเลิกสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่นั้นเป็นอันตรายต่อผู้สูบบุหรี่และผู้ที่อยู่ใกล้กับผู้สูบบุหรี่ทั้งยังเป็นสาเหตุที่จะนำไปสู่การติดสิ่งเสพติดอื่นๆ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้ผู้สูบบุหรี่ในชุมชน ลด ละ เลิกบุหรี่ ยาสูบ ในชีวิตประจำวันและสร้างชุมชนปลอดบุหรี่ โดยใช้กระบวนการชุมชนมีส่วนร่วม
2.เพื่อให้ผู้รับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ จะได้เกิดความตระหนักถึงโทษภัยของบุหรี่
3.เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้สูบบุหรี่หน้าใหม่
4.เพื่อสร้าแรงจูงใจ ส่งเสริมให้เกิดการลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเองและผู้อยู่ใกล้เคียง
5.เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งปลอดบุหรี่

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ชุมชนปลอดบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ชุมชนปลอดบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าป้ายโครงการ 1 ป้าย = 720 บาท
2.ค่าป้ายรายชื่อคณะกรรมการ 1 ป้าย = 720 บาท
3.ค่าวิทยากร 1 คน × 300 × 5 ชม. = 1,500 บาท
4.ค่าอาหารว่าง 40 คน × 25 บาท × 2 มื้อ = 2,000 บาท
5.ค่าอาหารกลางวัน 40 คน × 60 บาท × 1 มื้อ = 2,400 บาท
6.ค่าป้ายชุมชนปลอดบุหรี่ 2 ป้าย × 720 บาท = 1,440 บาท
7.ค่าวัสดุ/อุปกรณ์/กระดาษ/สื่อความรู้/ปากกาเคมี = 1,200 บาท
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท) 9,980.00 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เกิดสภาพบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมรอบๆข้างเอื้อต่อการพูดคุย
2.เยาวชนสามรถปรับแนวคิดทัศนะคติไปในระดับหนึ่ง
3.เยาวชนเป็นต้นแบบชีวิตในด้านการพัฒนาเพิ่มขึ้น
4.เกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะ
5.เกิดบุคคลต้นแบบที่สามารถเลิกบุหรี่ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9980.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ปลุกพลังสร้างกระแส

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ปลุกพลังสร้างกระแส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่าง 40 คน × 25 บาท × 2 มื้อ = 2,000 บาท
2.ค่าอาหารกลางวัน 40 คน × 60 บาท × 1 มื้อ = 2,400 บาท
3.ค่าป้ายร้านชำต้นแบบ 2 ป้าย × 720 บาท = 1,440 บาท
4.ค่าวิทยากร 1 คน × 300 บาท × 5 ชม. =1,500 บาท
5.ค่าเกียรติบัตร 10 อัน × 120 บาท = 1,200 บาท
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท) 8,540.00 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เกิดสภาพบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมรอบๆข้างเอื้อต่อการพูดคุย 2.เยาวชนสามรถปรับแนวคิดทัศนะคติไปในระดับหนึ่ง 3.เยาวชนเป็นต้นแบบชีวิตในด้านการพัฒนาเพิ่มขึ้น 4.เกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะ 5.เกิดบุคคลต้นแบบที่สามารถเลิกบุหรี่ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8540.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,520.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เกิดสภาพบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมรอบๆข้างเอื้อต่อการพูดคุย
2.เยาวชนสามรถปรับแนวคิดทัศนะคติไปในระดับหนึ่ง
3.เยาวชนเป็นต้นแบบชีวิตในด้านการพัฒนาเพิ่มขึ้น
4.เกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะ
5.เกิดบุคคลต้นแบบที่สามารถเลิกบุหรี่ได้


>