กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการห่วงใยสตรีหลีกหนีโรคมะเร็ง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว

1. นายเอนกกลิ่นรส
2. นางสาวณัฎฐณิชาสมจิตร
3. นางกิตติยาพรหมปาน

หมู่ที่ 1,7,9 ตำบลโคกชะงายอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1. อัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก

 

0.12
2 อัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านม

 

0.10

โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาของทุกประเทศทั่วโลกปัจจุบันการควบคุมโรคมะเร็งมีเป้าหมายเพื่อลดอุบัติการณ์ของการเกิดโรคความทุกข์ทรมานและการตายจากโรคมะเร็งปัญหาของโรคมะเร็งได้เพิ่มมากขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาจากข้อมูลสถิติสาธารณสุขเมื่อปีพ.ศ. 2564 พบว่าอัตราการตายจากโรคมะเร็งของคนไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น(สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, 2564)โดยโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดคือในประเทศไทยได้แก่มะเร็งตับมะเร็งปอดปากมดลูกมะเร็งเต้านมตามลำดับสำหรับสตรีไทยโรคมะเร็งปากมดลูกมีอัตราอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งทุกชนิดพบว่าการสามารถวินิจฉัยและการรักษาผู้ที่มีความผิดปกติของปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูกตามขั้นตอนที่ถูกต้องเหมาะสมและทันเหตุการณ์ทำให้สามารถลดอุบัติการณ์เกิดโรคและอัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกได้เนื่องจากโรคมะเร็งปากมดลูกสามารถสืบค้นได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติและการดำเนินของโรคเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปการตรวจค้นหาความผิดปกติของปากมดลูกโดยการทำ HPV DNA TEST จึงมีประโยชน์เพราะได้มีการพิสูจน์อย่างแน่ชัดแล้วว่าสามารถตรวจพบความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกก่อนที่จะเป็นโรคมะเร็งทำให้สามารถรักษาให้หายขาดได้จากการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาวปี 2564 จำนวน 146 คน พบความผิดปกติจำนวน 3 คนได้รับการส่งตัวรักษาต่อ ดังนั้นกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลโคกชะงายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาวตำบลโคกชะงายอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุงมีความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการห่วงใยสตรีหลีกหนีมะเร็งโดยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกต่อเนื่องต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี มีความรู้และเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี มีความรู้และเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ทุกคน

150.00 200.00
2 2. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ทุกคน

ให้สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ทุกคน

150.00 200.00
3 เพื่อไม่ให้มีลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม

ไม่มีลดผู้ป่วยป่วยรายใหม่ด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม

1.15 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/01/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. อบรมให้ความรู้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมายเรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแโดยหลังอบรมให้ความรู้จัดกิจกรรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (อบรม 2 รุ่นๆละ 75 คน)

ชื่อกิจกรรม
1. อบรมให้ความรู้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมายเรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแโดยหลังอบรมให้ความรู้จัดกิจกรรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (อบรม 2 รุ่นๆละ 75 คน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน เวลา 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท 2 รุ่น เป็นเงิน 7,200 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 150 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 150 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
18 มกราคม 2566 ถึง 19 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมโดยหลังอบรมให้ความรู้จัดกิจกรรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22200.00

กิจกรรมที่ 2 2. ส่งต่อพบแพทย์กรณีผลการตรวจผิดปกติ

ชื่อกิจกรรม
2. ส่งต่อพบแพทย์กรณีผลการตรวจผิดปกติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งต่อสตรีกลุ่มเป้าหมายพบแพทย์กรณีผลการตรวจผิดปกติ

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2566 ถึง 3 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สตรีกลุ่มเป้าหมายพบแพทย์กรณีผลการตรวจผิดปกติ ทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 3. เรียนรู้ร่วมกัน

ชื่อกิจกรรม
3. เรียนรู้ร่วมกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การส่งเสริมสุขภาพและการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 พฤษภาคม 2566 ถึง 5 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สตรีกลุ่มเป้าหมายร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การส่งเสริมสุขภาพและการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และเห็นความสำคัญของการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมทุกคน
2. กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมทุกคน


>