กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองความดันโลหิตสูงและเบาหวานเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละ

นส.มลจิรา เพชรสงครามนวก.สส.ชำนาญการ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละหมู่บ้าน/ชุมชน รวม 6 หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายการพัฒนาสุขภาพเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตที่ดี โดยให้ประชาชนได้รับรู้สถานะของตนเองและเข้าถึงการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และได้กำหนดให้มีการพัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัยให้มีความครอบคลุมในทุกมิติ เน้นให้เกิดการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ ในปัจจุบันมีการเจ็บป่วยโดยเฉพาะโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมากขึ้น เพราะเกิดจากพฤติกรรมความเคยชินจนกลายมาเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค
อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เป็นบุคคลที่สำคัญและมีบทบาทหน้าที่ ในการดำเนินงานและให้การช่วยเหลือ รวมทั้งเป็นผู้ประสานงานและเป็นตัวเชื่อมระหว่างภาครัฐกับประชาชนในชุมชนในการดำเนินงานกิจกรรมด้านสาธารณสุข เพื่อแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาโดยตลอด เพราะการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรค ที่เกิดจากพฤติกรรมของประชาชน จะประสบความสำเร็จมีประสิทธิภาพและเกิดความต่อเนื่องยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกส่วน และใช้กระบวนการที่บูรณาการเชื่อมโยงการดำเนินงาน โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่เป็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่ และเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละ จึงได้จัดทำโครงการ อสม. พลังชุมชนต้านภัยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามมาตรฐาน พร้อมทั้งรณรงค์ สร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพมีพฤติกรรมที่ดี และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการการเกิดโรคเรื้อรัง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้เกิดการดำเนินงานลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของคนในชุมชน
2. เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และส่งต่ออย่างเป็นระบบ
3. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 120
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประเมินภาวะสุขภาพ, คัดกรอง ค่าความดันโลหิต ค่าระดับน้ำตาล ดัชนีมวลกาย

ชื่อกิจกรรม
ประเมินภาวะสุขภาพ, คัดกรอง ค่าความดันโลหิต ค่าระดับน้ำตาล ดัชนีมวลกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25บาท X 90คน เป็นเงิน 2,250 บาท

2.1ค่าจัดทำเอกสารแบบประเมินสภาวะสุขภาพ
83 เล่ม X 50 บาท เป็นเงิน 4,150 บาท 2.2ค่าอุปกรณ์เครื่องวัดความดัน จำนวน 6 เครื่อง (6หมู่บ้าน) X 2,500 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25บาท X 120คน (หมู่ละ 20 คนX6หมู่) เป็นเงิน 3,000 บาท 4.ค่าวิทยาการ 300บาท X 3ชั่วโมง X 3รุ่น เป็นเงิน 2,700 บาท


รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  27,100 บาท (เงินสองหมื่นเจ็ดพันหนึ่งร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนจะได้รับการบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
    โดยอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพเหมาะสม ถูกต้อง
  2. เกิดองค์กรสร้างสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค ของชมรม อสม.
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนจะได้รับการบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
โดยอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพเหมาะสม ถูกต้อง
2. เกิดองค์กรสร้างสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค ของชมรม อสม.


>