กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก รหัส กปท. L7889

อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาวะ ชุมชนทุ่งออก
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
คณะกรรมการมัสยิดทุ่งออก
กลุ่มคน
1. นายอิมรอนนุ้ยโดด061- 263- 6560
2. นายอรุณ แหล่ทองคำ
3. นายอีฉา นุ้ยโดด
4. นายโสย มุ่งมานะชัย
5. นายอาหลี หมัดหนิ
3.
หลักการและเหตุผล

ชุมชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลปริกมีทั้งหมด ๗ ชุมชน ซึ่งทั้งหมดรวมอยู่ในเขตความรับผิดชอบสนับสนุนและส่งเสริมด้านการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขตที่ ๑๒ จังหวัดสงขลา โดยมีชุมชน ๕ ชุมชน จากทั้งหมด ๗ ชุมชน ในพื้นที่เทศบาลตำบลปริกใช้มัสยิดเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ทั้งการเผยแพร่คำสอนให้คนยึดมั่นหลักบัญญัติของอิสลาม อันครอบคลุมวิถีแห่งการดำเนินชีวิต ทุกกระบวนการและกิจกรรมแห่งชีวิต หมายรวมถึงความเชื่อทางจิตวิญญาณ ความเชื่อเกี่ยวกับร่างกาย ในรูปแบบของการปฏิบัติศาสนกิจ พิธีกรรม การอบรมสั่งสอน รูปแบบการดำเนินชีวิตในครอบครัว สังคม ประเทศชาติและการดำเนินชีวิตในโลก ชุมชนทุ่งออก ตั้งอยู่ที่หมู่ ๒ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา มีครัวเรือนจำนวน 221 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมดจำนวน 424 คน (ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ณ วันที่ 30 มกราคม 2564) มีคณะกรรมการมัสยิดจำนวน 15 คน มีแกนนำด้านสุขภาพจำนวน 8 คน และมีจำนวนประชาชนจิตอาสาอีกหลายสิบคน ประชาชนในชุมชนทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม โดยมีมัสยิดกลางทุ่งออกเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนในชุมชน ส่งผลให้กิจวัตรประจำวันของประชาชนในชุมชนมีความผูกพันกับมัสยิด กล่าวคือ ในการดำเนินชีวิตประจำวันประชาชนต้องปฏิบัติศาสนกิจละหมาด 5 เวลา และในทุกวันศุกร์ถือเป็นวันสำคัญที่มุสลิม (ผู้ชายทุกคน) ต้องมาปฏิบัติศาสนกิจที่มัสยิด รวมถึงวันสำคัญทางศาสนาอิสลาม เช่น ในช่วงเดือนถือศีลอด (รอมฎอน) และวันตรุษ (อีดิ้ลฟิตรีและอิดิ้ลอัฎฮา) ประชาชนทุกครัวเรือนจะมารวมตัวเพื่อปฏิบัติศาสนกิจ ณ มัสยิด นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ในการจัดการเรียนการสอนศาสนาของประชาชนทุกช่วงวัยในชุมชน มัสยิดกลางทุ่งออก เป็นมัสยิดที่ตั้งอยู่ติดกับถนนกาญจนวนิช ซึ่งเป็นถนนสายหลักที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย จึงเป็นมัสยิดที่มีผู้คนทั่วไปทั้งคนไทยและคนมาเลเซียที่เดินทางผ่านไป- มา แวะเวียนมาปฏิบัติศาสนกิจตามความเชื่อหรือพิธีกรรมทางศาสนาอิสลามอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังเป็นพื้นที่ที่คนในชุมชม และองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชนใช้เป็นพื้นที่ในการจัดกิจกรรมต่างๆ นอกจากนี้ในชุมชนเองยังมีการจัดการเรียนการสอนศาสนาทั้งในภาคค่ำสำหรับประชาชนทั่วไปในชุมชนและผู้ที่สนใจ วันเสาร์และวันอาทิตย์ สำหรับเด็กและเยาวชนในชุมชนทุ่งออกและชุมชนใกล้เคียง ซึ่งเรียกว่าโรงเรียนตาดีกา จากจำนวนกิจกรรม และจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่มีเป็นจำนวนมาก อาจส่งผลให้เกิดความสุ่มเสี่ยงทางด้านสุขภาวะที่สามารถเกิดปัญหาและแพร่กระจายไปในชุมชนทุ่งออกและชุมชนใกล้เคียงในพื้นที่เทศบาลตำบลปริกได้ โดยสาเหตุของปัญหาทางสุขภาวะที่เกิดขึ้นในเชิงประจักษ์ คือ การสูบบุหรี่ในพื้นที่บริเวณมัสยิด การจัดการขยะและสภาพแวดล้อมที่ยังไม่ถูกต้องและเหมาะสมสามารถเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่างๆ การรักษาความสะอาดของห้องส้วมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การรักษาความสะอาดของสถานที่เอาน้ำละหมาด การรักษาความสะอาดของจุดสัมผัสร่วมต่างๆ ภายในบริเวณมัสยิด เป็นต้น โดยสาเหตุของปัญหาเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนได้โดยตรงและทางอ้อมในรูปแบบของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ และโรคระบาดต่างๆ ทั้งที่เป็นโรคระบาดประจำถิ่น เช่น ไข้เลือดออก ชิคุนกุนยา ไข้ฉี่หนู ท้องร่วง ตาแดง หรือโรคที่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องของคนในชุมชน และโรคอุบัติใหม่ เช่น โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และโรคฝีดาษลิง เป็นต้น ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาคณะกรรมการมัสยิดกลางทุ่งออก ประชาชนในชุมชนทุ่งออกเอง มีแนวคิดเพื่อยกระดับการพัฒนามัสยิดให้เป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนการเรียนรู้ของคนในชุมชนและทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน อีกทั้งยังมีแนวคิดในการเสริมสร้างการเรียนรู้ให้ประชาชนทุกเพศวัยในชุมชนสามารถรู้เท่าทันและสามารถปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ปัญหาทางสุขภาวะที่จะเกิดขึ้นในชุมชน ทั้งในภาวะปกติ และภาวะฉุกเฉิน เพื่อเป็นแนวทางในการเสริมสร้างสุขภาวะในชุมชนอย่างยั่งยืน ดังนั้นคณะกรรมการมัสยิดกลางทุ่งออก และแกนนำด้านสุขภาพ จิตอาสาภายในชุมชนทุ่งออก จึงขอดำเนิน “โครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาวะ ชุมชนทุ่งออก” ขึ้น เพื่อสร้างกระบวนการให้คณะกรรมการมัสยิดกลางทุ่งออก แกนนำด้านสุขภาพ จิตอาสาภายในชุมชนทุ่งออก และประชาชนทุกเพศวัย มีความตระหนักถึงกระบวนการสร้างเสริมสุขภาวะ สามารถรู้เท่าทันและสามารถปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ปัญหาทางสุขภาวะที่จะเกิดขึ้นในชุมชนทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน เพื่อเป็นมัสยิดส่งเสริมสุขภาวะอย่างยั่งยืน และเป็นมัสยิดส่งเสริมสุขภาพ (นำร่อง) ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. มัสยิดส่งเสริมสุขภาวะ ชุมชนทุ่งออก
    รายละเอียด

    ๑. ประชุม คณะกรรมการมัสยิด กลุ่มแกนนำมัสยิด คณะกรรมการชุมชน ครูโรงเรียนตาดีกา แกนนำด้านสุขภาพ  เจ้าหน้าที่ชุมชน และจิตอาสา เพื่อชี้แจงการดำเนินงานและจัดทำโครงการ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 40 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,000 บาท - ค่าป้ายผ้า 400 บาท
    รวมเป็นเงิน 1,400 บาท ๒. อบรมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการมัสยิด กลุ่มแกนนำมัสยิด คณะกรรมการชุมชน ครูโรงเรียนตาดีกา แกนนำด้านสุขภาพ เจ้าหน้าที่ชุมชน และจิตอาสา และประชาชนทั่วไป เช้า : (๑) เรื่อง รู้รับ- ปรับตัว ให้ทันต่อสถานการณ์ปัญหาทางสุขภาวะที่จะเกิดขึ้นในชุมชนทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน (๒) เรื่อง การนำเกณฑ์การประเมิน/ ตัวชี้วัดเรื่องศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ และการนำหลักคำสอนของศาสนามาใช้ให้เกิดสุขภาพแบบองค์รวม บ่าย:  ร่วมกันพัฒนามัสยิด - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
    - ค่าป้ายผ้า/ ไวนิลโครงการอบรมเป็น 400 บาท
    - ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชม.x 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
    - ค่าอาหารกลางวัน 60 คน x 50 บาท x 1 มื้อ = 3,000 บาท
    - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระดาษ ปากกาปากกาเคมี ค่าถ่ายเอกสาร เทปกาว สมุด หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในกิจกรรม เป็นเงิน 2,200 บาท
    รวมเป็นเงิน 10,400 บาท ๓. จัดกิจกรรม “ชาวชุมชนทุ่งออกรู้รับ ปรับตัว” ให้แก่คณะกรรมการมัสยิด แกนนำมัสยิด คณะกรรมการชุมชน แกนนำสุขภาพ เจ้าหน้าที่ชุมชน จิตอาสา ครู/ นักเรียนโรงเรียนตาดีกา และประชาชนที่สนใจ เช้า: จัดกิจกรรม “ชาวชุมชนทุ่งออกรู้รับ ปรับตัว” ให้ทันต่อสถานการณ์ปัญหาทางสุขภาวะ โดยการนำหลักคำสอนของศาสนามาใช้ให้เกิดสุขภาพแบบองค์รวม ให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมิน/ ตัวชี้วัด เรื่องศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ เพื่อเป็นมัสยิดส่งเสริมสุขภาวะอย่างยั่งยืน
    โดยจัดในรูปแบบของสภากาแฟ ซึ่งจะแบ่งจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมออกเป็น ๔ กลุ่ม และจัดฐานการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น ๔ ฐาน ประกอบไปด้วย
    ฐานที่ ๑ ฐานรู้รับปรับตัวการจัดการขยะและปรับปรุงภูมิทัศน์ ฐานที่ ๒ ฐานรู้รับปรับตัว โรคระบาด
    ฐานที่ ๓ ฐานรู้รับปรับตัว ลด ละ เลิก บุหรี่
    ฐานที่ ๔ ฐานรู้รับปรับตัวนำหลักคำสอนของศาสนามาใช้ให้ทำให้เกิดสุขภาพดีแบบองค์รวม (โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง ๔ กลุ่มจะได้ร่วมเข้าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครบทั้ง ๔ ฐานการเรียนรู้) บ่าย : ร่วมกันพัฒนามัสยิด - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท
    - ค่าวิทยาการ 600 บาท X 3 ชม. = 1,800 บาท - ค่าอาหารกลางวัน 100 คน X 50 บาท = 5,000 บาท -เอกสารใบความรู้ 2,000 บาท - ค่าป้าย 400 บาท รวมเป็นเงิน 14,200 บาท
    ๔. จัดกิจกรรมเดินรณรงค์“ชาวชุมชนทุ่งออก รู้รับ ปรับตัว” ให้ทันต่อสถานการณ์ปัญหาทางสุขภาวะ เพื่อเป็นมัสยิดส่งเสริมสุขภาวะอย่างยั่งยืน เช่น การจัดการขยะขยะการปรับปรุงภูมิทัศน์ การดูแลความสะอาดภายในภายนอกบริเวณมัสยิด การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และการส่งเสริมการลด ละ เลิก บุหรี่ เป็นต้น 
    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน X
    25 บาท X 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท - วัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการเดินรณรงค์ 2,000 บาท - ป้ายผ้า 4 ผืน ผืนละ 400 บาท = 1,600 บาท รวมเป็นเงิน 6,100 บาท
    กิจกรรมถอดบทเรียน
    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน X 25 บาท X 1=1,000 บาท - ค่าป้าย  400 บาท รวมเป็นเงิน 1,400 บาท จัดทำเอกสารสรุปผลการดำเนินงาน
    - ค่าจ้างเหมาทำเอกสารสรุปผลเข้าเล่ม  และถ่ายสำเนา
    รวมเป็นเงิน 500 บาท รวมเป็นเงินสุทธิ ทั้งสิ้น 34,000 บาท

    งบประมาณ 34,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565

8.
สถานที่ดำเนินการ

มัสยิดทุ่งออก

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 34,000.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

๑. คณะกรรมการมัสยิด แกนนำมัสยิด คณะกรรมการชุมชน แกนนำด้านสุขภาพ เจ้าหน้าที่ชุมชน จิตอาสา ครู/ นักเรียนโรงเรียนตาดีกา และประชาชนที่สนใจ ในสังกัดมัสยิดกลางทุ่งออก เกิดความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนักสามารถรู้เท่าทันและสามารถปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ปัญหาทางสุขภาวะที่จะเกิดขึ้นในชุมชนทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน เพื่อเป็นมัสยิดส่งเสริมสุขภาวะอย่างยั่งยืน ๒. คณะกรรมการมัสยิด แกนนำมัสยิด คณะกรรมการชุมชน แกนนำด้านสุขภาพ เจ้าหน้าที่ชุมชน จิตอาสา ครู/ นักเรียนโรงเรียนตาดีกา และประชาชนที่สนใจ ในสังกัดมัสยิดกลางทุ่งออก เกิดความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนักในการดำเนินกิจกรรมตามเกณฑ์การประเมิน/ ตัวชี้วัด เรื่องศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ และการนำหลักคำสอนของศาสนานำมาใช้ให้เกิดสุขภาพแบบองค์รวม ๓. มัสยิดกลางทุ่งออกมีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น ตามการประเมิน/ ตัวชี้วัด เรื่องศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ มีภูมิทัศน์ที่ดีมีความสะอาด มีความสะดวก น่าอยู่ น่าใช้ดำเนินกิจกรรม ไม่เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค และปราศจากโรคติดต่อต่างๆ ๔. เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ผลักดันให้มัสยิดกลางทุ่งออก เป็นมัสยิดส่งเสริมสุขภาพ (นำร่อง) ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก รหัส กปท. L7889

อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565
เรียน ประธานกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก รหัส กปท. L7889

อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 34,000.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................