กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบ้านน่าอยู่ ชุมชนสะอาด ปราศจากโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านควน ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

รพ.สต.บ้านควน

1.นางนฤมล โต๊ะหลัง ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ เบอร์โทร 081-4796366
2.นางสุกัญญา ลัสมาน ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ เบอร์โทร 086-0810676
3.นางอารีนี หมัดสะแหละ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทร 081-0925942
4.นางเบญจมาภรณ์ หลีเส็น ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทร 086-4813643
5.นางสาวมุณา กฤติยาสกุล ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทร 081-0995792

หมู่ที่ 1,4 ต.บ้านควน อ.เมือง จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรคคือ ยุงลาย ลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลายพบมากตามบ้านที่อยู่อาศัยในสวน ขยายพันธ์ุโดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของจังหวัดสตูล ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 - 2565 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ หมู่ที่ 1,4 ตำบลบ้านควน ทั้งหมด 9 ราย ( ปี 2563 (1 ราย) ปี 2564 (0 ราย) ปี 2565 (8 ราย)) คิดเป็นอัตราป่วย 208.33 ต่อแสนประชากร จากข้อมูลทางระบาดวิทยาพบว่า การระบาดของโรคไข้เลือดออกมีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี เพื่อไม่ให้มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกจึงต้องมีการควบคุมป้องกัน โดยการทำลายยุงลายและแหล่งเพาะพันธ์ุ สิ่งแวดล้อมต้องถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคลต้องสะอาดถูกสุขลักษณะ ไม่มีขยะที่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ุเชื้อโรคจึงจะทำให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย สาเหตุโรคไข้เลือดออกและการปรับปรุงควบคุมหรือรักษาสภาพแวดล้อม ให้สะอาดถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งที่ประชาชนในทุกชุมชนทำได้สามารถปฏิบัติได้ในวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลในแต่ละหลังคาเรือน ซึ่งหมู่บ้านในชุมชนใดมีการปรับปรุงรักษาความสะอาดที่พักให้ได้มาตรฐานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่เจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกซึ่งอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตเนื่องจากโรคไข้เลือดออกยังไม่มียารักษาโดยตรงหรือกำจัดโรคโดยตรงจะใช้การรักษาตามอาการทำให้แต่ละครอบครัวต้องเสียค่าใช้จ่าย เสียเวลาในดูแลการรักษาบุตรหลานและเสียงบประมาณในการรักษาพยาบาลโดยไม่จำเป็นและที่สำคัญคือถ้าไม่ดำเนินการควบคุมป้องกันโรคในระบบที่มีประสิทธิภาพโรคไข้เลือดออกอาจจะระบาดได้ในชุมชนซึ่งทุกๆ คนก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้ดลือออกซึ่งการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกจะได้ผลจะต้องได้รับความร่มมือจากทึกคน ทุกหลังคาเรือน ทุกภาคส่วนจึงจะได้ผลอย่างยั่งยืน ทั้งในระยะก่อนเกิดโรคในขณะที่เกิดโรคและการเฝ้าระวังหลังเกิดโรค
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน จึงได้จัดทำโครงการ "โครงการบ้านน่าอยู่ ชุมชนสะอาด ปราศจากโรคไข้เลือดออก"ขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีจิตสำนึกและตระหนักในการรักษาความสะอาดและร่วมมือกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมในครัวเรือนที่พักอาศัยและชุมชนของตัวเองให้สะอาดถูกสุขลักษณะและรักษาให้เกิดความต่อเนื่องยั่งยืนซึ่งถ้าครัวเรือนและชุมชนมีความสะอาด ไม่มีขยะ ไม่มีแหล่งเพาะพันธ์ุยุง ไม่มีแหล่งน้ำขัง ไม่มีแหล่งสกปรกสะสมแล้ว โรคไข้เลือดออกหรือโรคติดต่อต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชนก็จะลดลงได้เป็นอย่างมากส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ส่งผลให้มีภาวะเศรษฐกิจที่ดีต่อไปได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน มีความตระหนัก และร่วมมือกันรักษาความสะอาดในบ้านเรือน/ชุมชนของตัวเอง

จำนวนประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดในชุมชน ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย

50.00 100.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ในเรื่องของการดูแลบ้านให้น่าอยู่ ชุมชนสะอาดและสามารถป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกได้

ทดสอบความรู้หลังการอบรมต้องมีคะแนนมากกว่า ร้อยละ 70

50.00 70.00
3 เพื่อให้ประชาชนสามารถคัดแยกขยะและมีถังขยะเปียกไว้แยกขยะได้

ประชาชนสามารถมีถังขยะเปียกไว้ใช้ในบ้านได้ ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย

30.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 49
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อสม.หมู่ที่ 1,4 ตำบลบ้านควน 49

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/02/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เตรียมความพร้อมก่อนทำโครงการ

ชื่อกิจกรรม
เตรียมความพร้อมก่อนทำโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมชี้แจงโครงการให้แก่ อบต.เจ้าหน้าที่และ อสม.ได้ทราบเกี่ยวกับกิจกรรมในโครงการ
2.ชี้แจงเกณฑ์ในการประเมินให้กับ อสม. ได้รับทราบ
3.ให้ อสม.ทุกคนคัดเลือกบ้านที่รับผิดชอบของตัวเอง 1 หลัง (ซึ่งเป็นบ้านที่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆได้ดี) เพื่อส่งเข้าตัวแทนในการประกวด
รายละเอียดงบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับ อบต.เจ้าหน้าที่และ อสม. จำนวน 59 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25.- บาท เป็นเงิน 1,475.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทุกคนที่เข้าร่วมประชุมสามารถรับรู้กิจกรรมและรายละเอียดของโครงการได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1475.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้กับ อสม.และกลุ่มเป้าหมาย ในเรื่องการดูแลบ้านให้น่าอยู่ ชุมชนสะอาด เรื่องการคัดแยกขยะการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้กับ อสม.และกลุ่มเป้าหมาย ในเรื่องการดูแลบ้านให้น่าอยู่ ชุมชนสะอาด เรื่องการคัดแยกขยะการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 จัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม.และกลุ่มเป้าหมายในเรื่องการดูแลบ้านให้น่าอยู่ ชุมชนสะอาด เรื่องการคัดแยกขยะการทำถังขยะเปียกไว้ใช้ในบ้าน การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดตามเอกสารแนบ
รายละเอียดงบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับ อสม.และกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 98 คนๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25.- บาท เป็นเงิน 4,900.- บาท
- ค่าอาหารกลางวันสำหรับ อสม.และกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 98 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 75.- บาท เป็นเงิน 7,350.- บาท
- ค่าวิทยากรบุคลากรภาครัฐ/เอกชนจำนวน 1 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600.- บาท เป็นเงิน 3,600.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.และกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ในเรื่องการดูแลบ้านให้น่าอยู่ ชุมชนสะอาด เรื่องการคัดแยกขยะ  การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15850.00

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์ บ้านน่าอยู่ ชุมชนสะอาด ลดแหล่งเพาะพันธ์ุโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ บ้านน่าอยู่ ชุมชนสะอาด ลดแหล่งเพาะพันธ์ุโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 รณรงค์ บ้านน่าอยู่ ชุมชนสะอาด ลดแหล่งเพาะพันธ์ุโรคไข้เลือดออก
3.2 ร่วมกันประเมินถังขยะเปียกของกลุ่มเป้าหมาย รายละเอียดงบประมาณ
- อาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับ อสม.และกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 98 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25.- บาท เป็นเงิน 2,450.- บาท
- ค่าป้ายไวนิล จำนวน 6 แผ่น ๆ ละ 450.- บาท เป็นเงิน 2,700.- บาท
3.2 เจ้าหน้าที่และ อสม. ร่วมกันออกประเมินตามเกณฑ์การประเมิน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.และชุมชนให้ความร่วมมือในการรณรงค์ บ้านน่าอยู่ ชุมชนสะอาด ลดแหล่งเพาะพันธ์ุโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5150.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

4.1 ประชุมชี้แจงสรุปผลการดำเนินงานโครงการบ้านน่าอยู่ ชุมชนสะอาด ปราศจากโรคไข้เลือดออก
4.2 สรุปผลการคัดเลือก ''บ้านน่าอยู''ในแต่ละกลุ่มของ อสม.ทั้งหมด 6 กลุ่ม และจัดลำดับคะแนน 1 - 6 เพื่อมอบเกียรติบัติ
รายละเอียดงบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับ อสม. เจ้าหน้าที่ จำนวน 65 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,625 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 15 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถที่จะมี "บ้านน่าอยู่" เป็นต้นแบบให้กับหมู่บ้านได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1625.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,100.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถั่วเฉลี่ยจ่าย

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อม การคัดแยกขยะ และมีถังขยะเปียกใช้ ได้อย่างถูกต้อง
2. บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ชุมชน หมู่บ้านน่าสะอาด น่าอยู่ ลดแหล่งเพาะพันธ์ุเชื้อโรคต่างๆ
3. โรคติดต่อในหมู่บ้านลดลง ประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรง


>